รวมคำพิพากษาฎีกา น่ารู้ (กฎหมายแรงงาน) สำหรับผู้ที่สนใจ
ร้องศาลฎีกาที่ ท.๑๑๙๖–๑๒๐๖/๒๕๔๘ |
|
จำเลยอุทธรณ์ว่า ศาลแรงงานกลางตีความบันทึกข้อตกลงว่า โจทก์และจำเลยได้ตกลงกันแล้วที่จะ ไม่นำเหตุการณ์ผละงานมาเป็นเหตุเลิกจ้าง เป็นการวินิจฉัยไม่ตรงตามเจตนารมณ์ และวัตถุประสงค์ของ คู่สัญญา และอุทธรณ์ว่า โจทก์ผละงานหรือนัดหยุดงานถือเป็นการจงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย ทั้งเป็นการกระทำผิดระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย โดยฝ่าฝืนต่อกฎหมาย หาเป็นการละทิ้ง หน้าที่ไปเกินสามวันทำงานดังที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยไม่เป็นการอุทธรณ์ว่าศาลแรงงานกลาง มิได้วินิจฉัย ในประเด็นดังกล่าวตามข้อต่อสู้ของจำเลย กับอุทธรณ์ว่า การกระทำของโจทก์เป็นการจงใจขัดคำสั่งของจำเลย ซึ่งเป็นนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมาย เป็นการกระทำอันไม่สมควรแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดย ถูกต้องและสุจริตนั้น เป็นข้อเท็จจริงที่ปรากฏตามคำให้การต่อสู้คดีของจำเลยและศาลแรงงานกลาง ตั้งเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ แต่ศาลแรงงานกลางมิได้วินิจฉัยให้ครบถ้วนตามประเด็น จึงเป็นอุทธรณ์ใน ข้อกฎหมาย |
คำร้องศาลฎีกาที่ ท.๒๗๐/๒๕๔๘ |
|
คดีนี้ จำเลยยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการบังคับคดีและเพิกถอนการขายทอดตลาดโดยอ้างเหตุว่าการ ยึดทรัพย์ เป็นไปโดยมิชอบด้วยกฎหมาย เพราะเจ้าพนักงานบังคับคดีมิได้แจ้งการยึดทรัพย์ของจำเลย ให้ จำเลยทราบ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๓๐๔ เมื่อจำเลยอุทธรณ์ว่า ศาลแรงงานกลาง มีคำสั่งยกคำร้องของจำเลยโดยที่มิได้กล่าวหรือแสดงข้อเท็จจริง และคำวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีที่ว่า เจ้าพนักงานบังคับคดีได้แจ้งการยึดทรัพย์ให้จำเลยทราบโดยชอบด้วยกฎหมายแล้วหรือไม่ ตามพระราชบัญญัติ ิจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๕๑ จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อกฎหมาย |
คำร้องศาลฎีกาที่ ท.๑๖๕/๒๕๔๘ |
|
ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่า จำเลยอ้างว่าโจทก์ยักยอกเงินของเพื่อนร่วมงาน คู่มือพนักงานระบ |
คำร้องศาลฎีกาที่ ท.๗๕๙/๒๕๔๘ |
|
คดีนี้อยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ ผู้มรณะ ชอบที่ศาลแรงงานกลางจะต้องส่งสำเนาคำร้องให้อีกฝ่ายและทำการไต่สวนก่อนว่าข้อเท็จจริง เป็นไปตามคำร้องหรือไม่ ที่ศาลแรงงานกลางด่วนมีคำสั่งอนุญาตนั้น จึงไม่ชอบ |
คำร้องศาลฎีกาที่ ท.๑๑๖๗/๒๕๔๘ |
|
จำเลยอุทธรณ์ว่า ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยและพิพากษาโดยฟังข้อเท็จจริงผิดพลาด ผิดหลง เป็นเหตุให้ |
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๕๒๖๙/๒๕๔๘ |
|
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๓๗ วรรคสอง บัญญัติว่า “จำเลยจะยื่นคำให้การเป็นหนังสือก่อนวันเวลาที่ศาลแรงงานนัดให้มาศาลก็ได้” มาตรา ๓๙ บัญญัติ ว่า “ในกรณีมีประเด็นที่ยังไม่อาจตกลงกันหรือไม่อาจประนีประนอมยอมความกันให้ศาลแรงงานจดประเด็น ข้อพิพาท และบันทึกคำแถลงของโจทก์กับคำให้การของจำเลย อ่านให้คู่ความฟังและให้ลงลายมือชื่อไว้ โดยจะ ระบุให้คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งนำพยานมาสืบก่อนหรือหลังก็ได้ แล้วให้ศาลแรงงานกำหนดวันสืบพยานไปทันที ถ้าจำเลยไม่ยอมให้การ ให้ศาลแรงงานบันทึกไว้ และดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป” บทบัญญัติดังกล่าว หมายความว่าการพิจารณาคดีแรงงานนั้น จำเลยจะให้การต่อสู้คดีเป็นหนังสือหรือแถลงให้การด้วยวาจาต่อหน้า ศาลแรงงานก็ได้ และจะให้การก่อนวันนัดพิจารณาคดีหรือในวันนัดพิจารณาคดีก็ได้ แต่การให้การก่อนวัน นัดพิจารณาคดีนั้นต้องให้การเป็นหนังสือ หากจำเลยไม่ให้การ ศาลก็จะบันทึกไว้และดำเนินกระบวนพิจารณา ต่อไป เมื่อคำให้การของจำเลยไม่ได้ให้การว่า โจทก์ลาออกก่อนจะไม่ได้รับค่าคอมมิชชั่น (ค่านายหน้า) แม้จำเลย จะแนบสำเนาสัญญาจ้างมาท้ายคำให้การ ซึ่งมีข้อความว่า “ลูกจ้าง (โจทก์) ทำยอดขายไม่ได้ตามที่บริษัทกำหนด ถ้าลาออกจะไม่ได้รับค่าคอมมิชชั่น (ค่านายหน้า)” ก็มิใช่ประเด็นที่จำเลยยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การ จึงไม่ก่อให้เกิด ประเด็นข้อพิพาทที่จำเลยจะนำพยานเข้าสืบได้ |
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๔๘๓๙–๔๘๔๐/๒๕๔๘ |
|
ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๘ มาตรา ๕๒ นายจ้างจะต้องมีเหตุจำเป็น หรือเหตุ ุอันสมควรที่จะเลิกจ้าง ลดค่าจ้าง หรือลงโทษซึ่งรวมถึงการย้ายงานลูกจ้างผู้เป็นกรรมการลูกจ้างด้วย โดยเหตุนั้น อาจเกิดจาก กรรมการลูกจ้างหรือเป็นเหตุจากทางฝ่ายนายจ้างหรือบุคคลภายนอกก็ได้ผู้คัดค้านเป็นพนักงานขับรถ มีหน้าที่ส่ง สินค้าให้ลูกค้าของผู้ร้องซึ่งโดยสภาพของงานเห็นได้ว่าเป็นงานที่เกี่ยวกับการหารายได้เข้าสู่กิจการ ของผู้ร้อง การส่งสินค้าตามคำสั่งของลูกค้าให้ตรงเวลาเป็นส่วนสำคัญของงาน ผู้ร้องยื่นคำร้องขอย้ายงาน ผู้คัดค้านจาก ตำแหน่งพนักงานขับรถไปทำงานในแผนกตัดและซอยเทปโดยอ้างว่าในปี ๒๕๔๔ ผู้คัดค้านลาป่วย ๗ วัน ลากิจ ๑๕ วันและขาดงาน ๑๐ วัน ผู้คัดค้านแถลงต่อศาลแรงงานกลางด้วยวาจาคัดค้านคำร้องของผู้ร้อง โดยไม่กล่าวถึงการลาและการขาดงาน เท่ากับผู้คัดค้านรับตามคำร้องว่าผู้คัดค้านลากิจ ลาป่วย และขาดงานจริง ตามคำร้อง ตามระเบียบข้อบังคับว่าด้วยการทำงานให้ความหมายการขาดงานว่าหมายถึงพนักงานไม่มาทำงาน หรือหยุดงานในวันทำงานปกติหรือในวันหยุดที่ผู้ร้องสั่งให้มาทำงานโดยพนักงานลงชื่อรับว่าจะมาทำงาน โดย พนักงานไม่รายงานหรือส่งใบลาเป็นลายลักษณ์อักษรหรือวิธีหนึ่งวิธีใดที่ผู้บังคับบัญชาสามารถทราบได้ ดังนั้น การที่ผู้คัดค้านขาดงานจึงหมายถึงผู้คัดค้านขาดงานไปโดยไม่ลาและไม่แจ้งให้ผู้บังคับบัญชาทราบอันเป็นการ ละทิ้งการงานไปผู้คัดค้านมีสถานะเป็นลูกจ้างของผู้ร้องมีหน้าที่ต้องทำงานให้แก่ผู้ร้องซึ่งเป็นนายจ้างโดย สม่ำเสมอและไม่ละทิ้งการงานไปอันจะทำให้ผู้ร้องได้รับความยุ่งยากในการดำเนินกิจการ แต่ในปี ๒๕๔๔ ผู้คัดค้านขาดงานถึง ๑๐ วัน ย่อมทำให้ผู้ร้องได้รับความยุ่งยากในการหาคนมาทำงานแทนโดยกะทันหัน พฤติการณ์ของผู้คัดค้านส่อชี้ถึงความไม่รับผิดชอบต่องานในหน้าที่พนักงานขับรถซึ่งเป็นงานที่เกี่ยวกับการ หารายได้เข้าสู่กิจการของผู้ร้อง ประกอบกับผู้คัดค้านถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมดำเนินคดีอาญาในข้อหายักยอก ทรัพย์ที่จังหวัดจันทบุรี จึงมีเหตุอันสมควรที่ผู้ร้องจะไม่ไว้วางใจให้ผู้คัดค้านยึดถือรถยนต์ น้ำมันรถ และสินค้า ของผู้ร้องเพื่อไปส่งให้แก่ลูกค้าต่อไป ซึ่งเป็นเหตุอันเกิดแต่ตัวผู้คัดค้านที่เป็นกรรมการลูกจ้างเอง มีเหตุสมควร ที่ผู้ร้องจะย้ายงานผู้คัดค้านจากพนักงานขับรถไปทำงานในแผนกตัดและซอยเทป แต่ทั้งนี้โดยให้ผู้คัดค้าน ได้รับค่าจ้างและสวัสดิการเท่าเดิม |