การระบุเหตุผลในหนังสือบอกเลิกจ้าง


898 ผู้ชม


การระบุเหตุผลในหนังสือบอกเลิกจ้าง




คำพิพากษาฎีกาที่ 829/830-2547   (มาตรา 17 วรรคสาม , 119(3)

          หนังสือบอกเลิกสัญญาจ้าง ระบุข้อความว่า เนื่องจากโจทก์ที่ 1 กระทำการ 1. ยักยอกทรัพย์สินของบริษัทฯ  2. จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรงกล่าวคือ ได้รับครอบครองเก็บรักษาเงินของบริษัทฯ  ตามหน้าที่แล้วทำให้เงิน จำนวน 446,639 บาท หายไปจากการเก็บรักษาของตนซึ่งพนักงานมีหน้าที่ เก็บเงินสดของบริษัทฯไว้เพื่อสำรองจ่ายในกรณีที่ต้องจ่ายเงินฉุกเฉิน บริษัทฯพิจารณาแล้วว่าโจทก์ที่ 1 มีความผิดตามระเบียบข้อบังคับหมวดที่ 9 ข้อ 7.1 ทุจริตต่อหน้าที่ ข้อ7.3 จงใจให้บริษัทได้รับความเสียหาย บริษัทฯจึงเลิกจ้างโจทก์ที่ 1 หนังสือเลิกจ้างดังกล่าวเป็นการแจ้งให้โจทก์ที่ 1 ได้รับทราบถึงสาเหตุการเลิกจ้างว่ามาจากการที่โจทก์ที่ 1 กระทำความผิดไม่ว่าโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ในเรื่องการเก็บรักษาเงินของจำเลยที่ 2 แล้วทำให้เงินนั้นสูญหายไป อันเป็นการระบุให้เหตุผลไว้ในหนังสือบอกเลิกจ้าง ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 17 วรรคสาม ไว้แล้ว ส่วนข้อความที่ว่าโจทก์ที่ 1 ยักยอกทรัพย์สินนายจ้างและจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย เป็นการผิดระเบียบข้อบังคับของบริษัทฯ เป็นเพียงการอ้างข้อกฎหมายปรับบทแก่ความผิดของโจทก์ที่ 1 เท่านั้นมิใช่เหตุผลของการเลิกจ้าง และหากปรับบทกฎหมายคลาดเคลื่อนไปจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นพนักงานตรวจแรงงานหรือศาลย่อมมิอาจปรับบทให้ถูกต้องได้ จำเลยที่ 2 จึงมีสิทธิยกเหตุกรณีที่โจทก์ที่ 1 ประมาทเลินเล่อ เป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง ตามมาตรา 19(3) ขึ้นเป็นข้อต่อสู้ได้ การที่ศาลแรงงานกลางไม่วินิจฉัยในประเด็นดังกล่าวข้างต้นอันเป็นประเด็นแห่งคดี จึงเป็นการไม่ชอบ

ที่มา : สมบัติ ลีกัล

อัพเดทล่าสุด