แรงงานต่างด้าว #1


622 ผู้ชม


แรงงานต่างด้าว #1




หนังสือของกองทะเบียนคนต่างด้าวและภาษีอากรที่ มท 0613.01/2792 ลงวันที่ 10 กันยายน 2528 เรื่อง คนญวนอพยพ ที่ถูกถอนสัญชาติตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ยื่นขอรับ ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว กำหนดให้นายทะเบียนคนต่างด้าว ทุกแห่งทราบและถือปฏิบัติดังนี้ 1. ให้เจ้าหน้าที่ทะเบียนคนต่างด้าวรับคำร้องพร้อมรูปถ่าย และหลักฐานประกอบเรื่องไว้ 2. ให้นายทะเบียนคนต่างด้าวท้องที่ที่รับคำร้องรวบรวมเรื่อง ส่งให้กองทะเบียนคนต่างด้าวและภาษีอากรพิจารณา 3. ให้นายทะเบียนคนต่างด้าวท้องที่แจ้งให้ผู้ยื่นคำร้อง ทราบด้วยว่า เมื่อกองทะเบียนคนต่างด้าวและภาษีอากรพิจารณาสิ้นสุด ผลเป็นประการใดจะได้แจ้งให้ผู้ร้องทราบ และตอนท้ายสุดมีข้อความว่า "จึงแจ้งมาเพื่อทราบและถือ ปฏิบัติตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป" นั้น เป็นคำสั่งกำหนดวิธีปฏิบัติ อันเป็นขั้นตอนในการพิจารณาคำร้อง ขอให้ออกใบสำคัญประจำตัว คนต่างด้าว การที่จำเลยที่ 2 ปฏิบัติราชการแทนจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนายทะเบียนคนต่างด้าวในเขตท้องที่อำเภอเมืองหนองคาย ดำเนินการตามขั้นตอนดังกล่าว มิใช่การปฏิเสธไม่ออกใบสำคัญ ประจำตัวคนต่างด้าวให้แก่โจทก์ จำเลยทั้งสองยังมิได้โต้แย้งสิทธิ หรือหน้าที่ของโจทก์ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาฎีกาที่ : 5996-5999/2534

 

 

โจทก์กล่าวในคำฟ้องว่า จำเลยที่ 2 ปฏิบัติราชการแทนจำเลยที่ 1 ได้รับคำร้อง ของ โจทก์ทั้งห้าไว้ ต่อมาจำเลยที่ 2 แจ้งแก่ น. ทนายความผู้ได้รับมอบอำนาจจากโจทก์ทั้งห้าว่า ยังไม่สามารถ ออกใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวให้แก่โจทก์ทั้งห้าได้ เนื่องจาก จะต้องส่งเรื่องไปให้กองทะเบียนคนต่างด้าวและภาษีอากรพิจารณาก่อน ได้ผลประการใดจะแจ้งให้ทราบต่อไป ดังนี้ แสดงว่า จำเลยที่ 2 ได้ปฏิบัติตามหน้าที่โดยถูกต้องแล้ว แต่ยังไม่อาจดำเนินการ ให้เป็นไปตามความประสงค์ของโจทก์ทั้งห้าในทันทีได้ ก็เพราะกำลัง รอการพิจารณาสั่งการจากทางราชการตามสายงานการบังคับบัญชาก่อน ดังนี้ ตามคำฟ้องของโจทก์ทั้งห้าก็ปรากฏแล้วว่า จำเลยทั้งสอง มิได้ปฏิบัติหน้าที่ราชการหรือได้กระทำการอย่างใดอันเป็นการ โต้แย้งสิทธิของโจทก์ทั้งห้า โจทก์ทั้งห้าจึงไม่มีอำนาจฟ้อง.

คำพิพากษาฎีกาที่ : 2808-2812/2535

 

แม้ผู้เสียไปซึ่งสัญชาติไทยยื่นคำร้องขอให้ออกใบสำคัญ ประจำตัวคนต่างด้าวเกินเวลา 30 วัน อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติการทะเบียนคนต่างด้าว พ.ศ. 2493 ก็ตาม แต่ก็หา หมดสิทธิหรือเสียสิทธิที่จะยื่นคำร้องขอใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว ไม่ เพราะมาตราดังกล่าวเป็นเรื่องกำหนดหน้าที่ของผู้เสียไปซึ่ง สัญชาติไทยโดยมีเวลาบังคับให้ปฏิบัติตาม ถ้าหากฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติ หรือปฏิบัติล่าช้าเกินกว่าเวลาที่กำหนดไว้ ก็จะมีความผิดและต้องถูก ลงโทษ ตามมาตรา 21 แห่ง พระราชบัญญัติ เดียวกัน หาใช่เป็นการ กำหนดเรื่องอายุความเสียสิทธิหรือหมดสิทธิไม่ จำเลยมีฐานะเป็นนายทะเบียนตามความหมายของมาตรา 4 แห่ง พระราชบัญญัติ การทะเบียนคนต่างด้าว พ.ศ. 2493 ประกอบกับประกาศ กระทรวงมหาดไทยเรื่องแต่งตั้งนายทะเบียนตาม พระราชบัญญัติ ทะเบียนคนต่างด้าว พ.ศ.2493 ข้อ 3 จึงมีอำนาจหน้าที่โดยตรงที่จะต้อง ออกใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวให้โจทก์ผู้ยื่นคำร้องขอ การที่จำเลย ยังไม่ออกใบสำคัญดังกล่าวให้โจทก์ และเป็นเวลานานเกินสมควร แก่เหตุ ถือว่าจำเลยปฏิเสธไม่ยอมออกใบสำคัญดังกล่าวให้โจทก์ อันเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์มีอำนาจฟ้อง จำเลยจะอ้าง ว่าได้ส่งเรื่องให้ผู้อื่นดำเนินการโดยอ้างว่าเป็นระเบียบของ กรมตำรวจหาได้ไม่ เพราะเป็นเรื่องการดำเนินการภายในของจำเลย ซึ่งมิใช่กฎหมาย

 

คำพิพากษาฎีกาที่ : 2162/2536

 

โจทก์ทั้งสี่ยื่นคำร้องขอรับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวต่อจำเลย จำเลยรับเรื่องแล้วได้ส่งไปให้กองกำกับการกองทะเบียนคนต่างด้าว และภาษีอากรพิจารณา ต่อมากรมตำรวจได้พิจารณาเสร็จสิ้นแล้ว มีความเห็นว่า หลักฐานไม่เพียงพอให้เชื่อได้ว่าโจทก์ทั้งสี่ เกิดในราชอาณาจักรไทย และเคยมีสัญชาติไทยมาก่อนแล้วถูกถอนสัญชาติไทย จึงให้ระงับเรื่องไว้ก่อนและได้แจ้งให้จำเลยทราบเพื่อแจ้งให้ โจทก์ทั้งสี่หาหลักฐานเพิ่มเติมเพื่อพิจารณาใหม่อีกครั้งหนึ่ง จำเลย ได้มีหนังสือแจ้งให้โจทก์ทั้งสี่ทราบ และโจทก์ทั้งสี่ได้เซ็นชื่อ รับทราบแล้ว แต่โจทก์ทั้งสี่ก็ไม่ส่งเอกสารหลักฐานเพิ่มเติม เพื่อให้กรมตำรวจพิจารณาต่อไป ดังนี้กรณียังถือไม่ได้ว่าจำเลยได้ ปฏิเสธไม่ออกใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวให้โจทก์ทั้งสี่อันเป็น การโต้แย้งสิทธิของโจทก์ทั้งสี่ ที่จำเลยไม่อาจออกใบสำคัญประจำตัว คนต่างด้าวให้แก่โจทก์ทั้งสี่ได้นั้น เกิดจากความบกพร่องของโจทก์ ทั้งสี่ไม่ส่งเอกสารหลักฐานเพิ่มเติมเพื่อให้กรมตำรวจตรวจสอบ พิจารณาใหม่ โจทก์ทั้งสี่จึงยังไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย

คำพิพากษาฎีกาที่ : 3455-3458/2536

 

อัพเดทล่าสุด