ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน เรื่อง วินัยและโทษทางวินัย ....


759 ผู้ชม


ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน เรื่อง วินัยและโทษทางวินัย ....




คดีแดงที่  4554/2540

นางสาวจรรยา ปินทราย โจทก์
๐ บริษัทไทย-เอ-ฟลาย จำกัด จำเลย
ฯลฯ

 

พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47

แม้ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย เรื่อง วินัยและโทษทางวินัย ระบุว่า การทุจริต ฉ้อโกง ยักยอก ปลอมแปลงเอกสารหรือกระทำความผิดโดยเจตนาซึ่งเกี่ยวกับหน้าที่ที่บริษัทมอบหมาย ช่วยเหลือ ซ่อนเร้น ปิดบังอำพราง การกระทำผิดของตนเอง หรือเพื่อนร่วมงานอันอาจทำให้เกิดความเสียหายแก่บริษัท ถือเป็นการกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงก็ตาม ก็หามีผลว่าการกระทำเช่นนั้นจะเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรงทุกกรณีไปไม่ การกระทำใดจะเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรงหรือไม่จักต้องพิจารณาพฤติการณ์ความเป็นจริงเป็นกรณีไป

โจทก์ที่ 1 ดำรงตำแหน่งหัวหน้างานตรวจแมลง โจทก์ที่ 2ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยหัวหน้างานตรวจแมลง โจทก์ทั้งสองมีหน้าที่ตรวจเช็คผลิตภัณฑ์ซึ่งลูกจ้างจำเลยทำขึ้น ดังนั้น แม้โจทก์ทั้งสองจะทราบว่าลูกจ้างจำเลยรับงานซึ่งมีลักษณะ ประเภท และชนิดเดียวกับงานที่จำเลยผลิตจากบุคคลภายนอกไปทำทั้งที่โรงงานและที่บ้าน แต่โจทก์ทั้งสองไม่แจ้งให้จำเลยทราบ ซึ่งเป็นการปิดบังอำพรางการกระทำผิดของเพื่อนร่วมงานอันอาจทำให้เกิดความเสียหายแก่จำเลยตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย การกระทำของโจทก์ทั้งสองเป็นเพียงการฝ่าฝืนข้อบังคับที่ไม่เป็นความผิดอย่างร้ายแรง ทั้งไม่เป็นการทุจริตต่อหน้าที่ หรือจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายแต่อย่างใด เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสองเพราะเหตุดังกล่าวจึงต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ทั้งสอง

 

…………………..……………………………………………………………..

 

 

(วิรัตน์ ลัทธิวงศกร - อัมพร ทองประยูร - สมมาตร พรหมานุกูล )

 

ศาลแรงงานกลาง - นายเกียรติพงศ์ อมาตยกุล

ศาลอุทธรณ์ -


อัพเดทล่าสุด