ฐานคำนวณค่าล่วงเวลานั้นต่ำกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ
คดีแดงที่ 846/2540 | นายสมศักดิ์ แซ่เอียะ โจทก์ |
ป.พ.พ. มาตรา 150
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 3, 11, 29,
31 วรรคหนึ่ง, 34, 42
ตามสัญญาจ้างข้อ 1 ระบุว่า โจทก์ตกลงทำงานให้แก่จำเลยและบริษัทในเครือ โดยจะทำงานนอกหรือเกินเวลาทำงานปกติ และข้อ 2 ระบุให้โจทก์รับค่าจ้างเดือนละ 8,160 บาท เป็นการเหมาจ่ายและเงินพิเศษอื่น ๆ(ค่าครองชีพ ค่าพาหนะ และค่าอาหาร) อีกเดือนละ 440 บาท ครั้งสุดท้ายโจทก์ได้รับการปรับค่าจ้างเป็นเดือนละ 9,350 บาท แม้สัญญาจ้างดังกล่าวจะระบุว่าเป็นการเหมาจ่าย แต่ก็มิได้ระบุให้เหมาจ่ายรวมค่าล่วงเวลาเข้าด้วยกับค่าจ้างหากมีการรวมค่าล่วงเวลาเหมาจ่ายเข้ากับค่าจ้าง ผลจะเป็นว่าไม่อาจทราบได้ว่าค่าจ้างปกติที่จะนำไปเป็นฐานคำนวณค่าล่วงเวลานั้นต่ำกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำหรือไม่และค่าล่วงเวลาที่ตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้างนั้นถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ เพราะการกำหนดค่าล่วงเวลาต้องคำนวณจากค่าจ้างในเวลาทำงานปกติตามที่กำหนดไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 3, 11, 29,34 และ 42 เมื่อสัญญาจ้างมิได้กำหนดอัตราค่าจ้างปกติไว้ย่อมทำให้ไม่อาจคำนวณค่าล่วงเวลาได้ การรวมค่าล่วงเวลาเหมาจ่ายไปกับค่าจ้างจึงเป็นการเอาเปรียบลูกจ้าง สัญญาจ้างดังกล่าวจึงมีวัตถุประสงค์ขัดต่อประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนตกเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 150 นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาวันละ 5 ชั่วโมง นับแต่แรกเข้าทำงานจนถึงวันฟ้อง และนายจ้างประกอบกิจการผลิตสายไฟฟ้า ซึ่งเป็นงานอุตสาหกรรม ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 3วรรคสอง (1) (ข) ลูกจ้างย่อมมีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาจากการทำงานล่วงเวลาดังกล่าวอีกส่วนหนึ่งต่างหากจากค่าจ้าง พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละสิบห้าต่อปีตามข้อ 31 วรรคหนึ่ง แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทยฉบับดังกล่าว …………………..…………………………………………………………….. (ณรงค์ ตันติเตมิท - สมมาตร พรหมานุกูล - ธวัชชัย พิทักษ์พล ) ศาลแรงงานกลาง - นายธีระยุทธ ทรัพย์นภาพร ศาลอุทธรณ์ -