เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้างนอกเหนือจากเงินประเภทอื่นซึ่งนายจ้างตกลงจ่ายให้แก่นายจ้าง


478 ผู้ชม


เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้างนอกเหนือจากเงินประเภทอื่นซึ่งนายจ้างตกลงจ่ายให้แก่นายจ้าง




คดีแดงที่  1442/2519

บริษัทไซมิสทินซินดิเกต จำกัด โดยนายประมวล ทองภู กรรมการ จ.
นายสุภร ทับเที่ยง นายอำเภอเมืองระนอง ในฐานะเจ้าพนักงานแรงงานตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 103 ล.

 

ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม 2519 ข้อ 2(5)
ประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ข้อ 2,46,77
ป.วิ.พ.มาตรา 55,142(5)

ประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ 2 ได้ให้คำจำกัดความของ"ค่าชดเชย" ไว้ว่า หมายถึงเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้างนอกเหนือจากเงินประเภทอื่นซึ่งนายจ้างตกลงจ่ายให้แก่นายจ้าง เมื่อข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของบริษัทโจทก์มีว่า บริษัทโจทก์จะจ่ายเงินผลประโยชน์ในการปลดลูกจ้างเป็นจำนวนเงินไม่น้อยกว่าค่าชดเชยซึ่งลูกจ้างจะพึงได้รับตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ทั้งตามข้อบังคับดังกล่าวแสดงเจตนาไว้ว่า บริษัทโจทก์ประกาศข้อบังคับนี้ก็เพราะมีประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อความตามข้อบังคับนี้จึงแสดงถึงความเอื้อเฟื้อของบริษัทโจทก์ที่สัญญาว่าจะจ่ายเงินค่าชดเชยในการปลดลูกจ้างออกจากงานให้เป็นจำนวนมากกว่าที่ทางราชการกำหนดไว้ ดังนั้น เงินผลประโยชน์ในการปลดที่บริษัทโจทก์จ่ายให้แก่ลูกจ้างตามข้อบังคับดังกล่าว จึงเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง อันเป็นค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงาน ไม่อาจแปลได้ว่าเป็นเงินประเภทอื่นที่นายจ้างตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้าง

นับเกี่ยวกับฎีกา 1444/2519 (ประชุมครั้งที่ 17/2519)

 

…………………..……………………………………………………………..

 

โจทก์ฟ้องว่า บริษัทโจทก์ปลดลูกจ้างออกจากงาน ๑๒ คน โดยโจทก์จ่ายเงินผลประโยชน์ตามกฎหมายข้อบังคับของโจทก์ซึ่งถือว่าเป็นเงินสดชดเชยตามประกาศ กระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน(ฉบับที่ ๒ ) ลงวันที่ ๑๓ มิถุนายน ๒๕๑๗ แล้ว แต่จำเลยเห็นว่าไม่ใช่เงินชดเชยตามกฎหมายแรงงาน และได้มีคำเตือนให้โจทก์ปฏิบัติตามประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าวโดยนำเงินไปจ่ายให้ลูกจ้าง ณ ที่ว่าการอำเภอภายใน ๑๕ วัน ซึ่งไม่เป็นธรรมแก่โจทก์ จึงขอให้ศาลสั่งเพิกถอนคำเตือนของเจ้าพนักงานดังกล่าว

จำเลยให้การว่า เงินที่โจทก์จ่ายให้แก่ลูกจ้างตามข้อบังคับของบริษัทโจทก์ไม่ใช่เงิน "ค่าชดเชย" ตามความหมายของประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ ๑๖ เมษายน ๒๕๑๕

ศาลชั้นต้นเห็นว่า เงินผลประโยชน์ในการปลดที่โจทก์จ่ายให้แก่ลูกจ้างมีลักษณะเป็นเงินชดเชย"ตามกฎหมายแรงงาน พิพากษาให้เพิกถอนคำเตือนตามฟ้อง

จำเลยอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน

จำเลยฎีกา

ศาลฎีกาเห็นว่า คดีนี้ไม่มีประเด็นเรื่องการโต้แย้งสิทธิตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๕๕ จึงใช้ดุลพินิจไม่ยกปัญหาข้อนี้ขึ้นวินิจฉัยส่วนประเด็นเรื่อง "ค่าชดเชย" นั้น ศาลฎีกาวินิจฉัยต่อไปว่าตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานซึ่งออกประกาศตามความในข้อ ๒ และข้อ ๑๔ แห่งประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ ๑๐๒ ข้อ ๒ ได้ให้คำจำกัดความของ"ค่าชดเชย" ไว้ว่า หมายถึงเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้างนอกเหนือจากเงินประเภทอื่นซึ่งนายจ้างตกลงจ่ายให้แก่นายลูกจ้าง ข้อเท็จจริงปรากฏตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของบริษัทโจทก์ข้อ ๒๓ ว่า บริษัทโจทก์จะจ่ายเงินผลประโยชน์ในการปลดลูกจ้างเป็นจำนวนเงินไม่น้อยกว่าค่าชดเชยซึ่งลูกจ้างจะพึงได้รับตามประกาศกระทรวงหมาดไทย ประกอบทั้งในวรรคแรกของข้อบังคับของบริษัทโจทก์นี้เองก็ได้แสดงเจตนาไว้เป็นใจความว่า บริษัทโจทก์ประกาศข้อบังคับนี้ก็เพราะมีประกาศกระทรงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงาน ศาลฎีกาจึงเห็นว่า เงินที่โจทก์จ่ายให้แก่บุคคลทั้งสิบสองตามหนังสือที่ ๑/๒๕๑๗ ของจำเลย ดังปรากฏรายการการจ่ายในเอกสารหมาย จ.๑ ว่าเป็นเงินผลประโยชน์ในการปลดออกนั้น เป็นเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้างโดยตรง ไม่อาจแปลได้ว่าเป็นเงินประเภทอื่นที่นายจ้างตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้าง ข้อความตามข้อบังคับของบริษัทโจทก์ข้อ ๒๓ นั้น เห็นได้ว่าเป็นการแสดงถือความเอื้อเฟื้อของบริษัทโจทก์ที่สัญญาว่าอาจจะจ่ายเงินค่าชดเชยใการปลดลูกจ้างออกจากงานให้เป็นจำนวนมากกว่าที่ทางราชการได้กำหนดไว้เท่านั้นเองที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า โจทก์ได้ปฏิบัติตามกฎหมายแรงงานโดยถูกต้องแล้วนั้น ฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยฟังไม่ขึ้น

พิพากษายืน

 

(ชลอ จามรมาน - สมคิด มงคลชาติ - อุดม ทันด่วน )

 

ศาลจังหวัดระนอง - นายสวิน อักขรายุธ

ศาลอุทธรณ์ - นายสุทธิ บัวแก้ว


อัพเดทล่าสุด