https://cbt20.fk.uns.ac.id/terbaru/https://djpen.kemendag.go.id/papamama/demo/http://ct.if.unsoed.ac.id/menang/https://ilmupolitik.uinsgd.ac.id/-/demo/
การฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานโดยมาทำงานสายหลายครั้ง MUSLIMTHAIPOST

 

การฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานโดยมาทำงานสายหลายครั้ง


693 ผู้ชม


การฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานโดยมาทำงานสายหลายครั้ง




คำตักเตือนเป็นหนังสือตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ๔๗ (๔) ไม่ได้กำหนดแบบไว้ว่าจะต้องมีรูปแบบและข้อความเป็นอย่างไร แต่หนังสือตักเตือนนั้นจะต้องเป็นกรณีที่นายจ้างตักเตือนลูกจ้างที่ได้กระทำผิดฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานหรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้างมิให้กระทำผิดเช่นว่านั้นซ้ำอีก หากกระทำจะต้องถูกลงโทษ แต่ตามใบเตือนของจำเลยคงระบุแต่เพียงว่าโจทก์กระทำผิดมาทำงานสายเป็นการกระทำที่ผิดระเบียบข้อบังคับของจำเลยเท่านั้น มิได้มีข้อความที่เป็นคำตักเตือนของนายจ้างไม่ให้ลูกจ้างกระทำผิดเช่นนั้นซ้ำอีกและหากกระทำผิดอีกต้องถูกลงโทษไว้ ใบเตือนของจำเลยจึงถือไม่ได้ว่าเป็นหนังสือตักเตือนตามกฎหมาย กรณีจึงไม่เข้าข้อยกเว้นที่จำเลยจะไม่จ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีและค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การ

คุ้มครองแรงงานข้อ ๔๕, ๔๗ (๔) เพราะเหตุที่โจทก์กระทำผิดซ้ำแต่การที่โจทก์กระทำการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานโดยมาทำงานสายหลายครั้งและหลังจากโจทก์ก็ยังคงมาสายอยู่เป็นประจำอีก ทั้งยังกระทำการฝ่าฝืนคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลยเรื่องอื่น ๆเช่นนี้ การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงเป็นการเลิกจ้างโดยมีเหตุอันสมควร ถือไม่ได้ว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมโจทก์จึงไม่สิทธิเรียกค่าเสียหายในส่วนนี้ได้ และไม่มีสิทธิได้รับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตาม ป.พ.พ.มาตรา ๕๘๓ ในวันพิจารณาโจทก์ได้แถลงรับข้อเท็จจริงต่อศาลแรงงานว่า ในการทำงานกับจำเลยโจทก์มาทำงานสายเป็นประจำและจำเลยได้มีหนังสือเตือนตามเอกสารท้ายคำให้การจริงอันเป็นการยอมรับว่าใบเตือนดังกล่าวได้ออกโดยจำเลยซึ่งศาลแรงงานก็ได้วินิจฉัยว่าโจทก์มาทำงานสายเป็นประจำอันเป็นการกระทำผิดซ้ำคำเตือนเป็นหนังสือ ส.จึงบอกกล่าวเลิกจ้างโจทก์จริง ฉะนั้นที่โจทก์อุทธรณ์โต้เถียงว่า ใบเตือนดังกล่าวออกโดยผู้มีอำนาจหรือไม่ไม่ปรากฏจึงเป็นการออกใบเตือนโดยไม่ชอบนั้น ย่อมเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงต้องห้ามอุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.๒๕๒๒มาตรา ๕๔ วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๓๕๒/๒๕๔๒


อัพเดทล่าสุด