ลักษณะการวินิจฉัย สัญญาจ้างมีกำหนดระยะเวลา หรือไม่ ?


747 ผู้ชม


ลักษณะการวินิจฉัย สัญญาจ้างมีกำหนดระยะเวลา หรือไม่ ?





จำเลยทั้งสองตกลงจ้างโจทก์มีกำหนดระยะเวลา๑๕ เดือนแล้ว ยังมีข้อความต่อไปอีกว่า"...และสามารถต่ออายุสัญญาได้โดยการตกลงร่วมกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการของโครงการ"ดังนี้ เมื่อครบกำหนดระยะเวลา ๑๕ เดือนแล้ว หากงานตามโครงการของจำเลยทั้งสองยังมีความต้องการจ้างโจทก์ต่อไปอีก จำเลยทั้งสองและโจทก์สามารถตกลงต่ออายุสัญญาคือขยายระยะเวลาการจ้างต่อไปอีกได้ งานตามโครงการของจำเลยทั้งสองจะหมดความจำเป็นที่จะจ้างโจทก์เมื่อใดไม่อาจกำหนดระยะเวลาให้แน่นอนลงไปได้การจ้างจะมีกำหนดระยะเวลานานเท่าใดจึงขึ้นอยู่กับความต้องการของโครงการซึ่งอาจมีต่อไปได้เรื่อย ๆ จนกว่าจะหมดความจำเป็นการที่สัญญาดังกล่าวจะได้กำหนดระยะเวลาการจ้างช่วงแรกไว้เป็นเวลา ๑๕ เดือน ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นสัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ ๔๖ วรรคสาม อันจะทำให้จำเลยทั้งสองได้รับการยกเว้นไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์เมื่อเลิกจ้าง

คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๘๐๔/๒๕๔๐


จำเลยประกอบกิจการรับเหมาก่อสร้าง เคยทำการก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่หลายแห่งได้แก่โครงการต่อท่อน้ำมันที่จังหวัดสระบุรีโครงการก่อสร้างท่าเรือและติดตั้งท่อน้ำมันที่เกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี และโครงการติดตั้งเครื่องมือผลิตเม็ดพลาสติกของบริษัท ม.ที่จังหวัดระยองซึ่งเป็นงานที่จำเลยจ้างโจทก์ให้ทำงานอยู่ด้วย การที่จำเลยประกอบธุรกิจในการรับเหมาก่อสร้างเคยรับเหมาก่อสร้างท่าเรือและโรงงานต่าง ๆ มาแล้วหลายแห่ง รวมทั้งรับเหมาติดตั้งเครื่องจักรผลิตเม็ดพลาสติกให้แก่บริษัท ม.อันเป็นงานพิพาทในคดีนี้ด้วย งานติดตั้งเครื่องจักรผลิตเม็ดพลาสติกถือได้ว่าเป็นงานก่อสร้างอย่างหนึ่ง เมื่อจำเลยเป็นผู้ประกอบกิจการรับเหมาก่อสร้างเป็นปกติธุระ การที่จำเลยรับจ้างทำงานดังกล่าวให้แก่บริษัท ม.จึงเป็นการรับจ้างทำงานในกิจการอันเป็นปกติธุรกิจของจำเลย และไม่ว่าจำเลยจะรับจ้างทำงานนั้นมากน้อยเพียงใดและเป็นระยะเวลาเท่าใด งานนั้นก็ย่อมไม่เป็นงานโครงการเฉพาะซึ่งต้องมีระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดของงานที่แน่นอนตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ ๔๖วรรคสี่จำเลยจ้างโจทก์ให้ทำงานดังกล่าวไม่ว่าจำเลยจะทำสัญญาจ้างมีกำหนดระยะเวลาเท่าใดเมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยโจทก์ไม่มีความผิดจำเลยก็ต้องจ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ ๔๖ วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาฎีกาที่ ๔๕๑/๒๕๔๐


คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๑๔/๒๕๔๐
จำเลยรับเหมางานก่อสร้างทั่วไปตามที่จะประมูลได้ ต้องหมายความว่า การรับเหมางานก่อสร้างทุกชนิดเป็นงานปกติของธุรกิจหรือการค้าของจำเลย โครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกเกาะสีชังที่จำเลยประมูลได้เป็นงานก่อสร้าง จึงเป็นงานปกติของธุรกิจหรือการค้าของจำเลยตามสัญญาจ้างเอกสารหมาย จล.๑ ถึง จล.๙ จำเลยว่าจ้างโจทก์ให้ทำงานในโครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกเกาะสีชัง ระยะที่ ๑ ซึ่งแม้ตามสัญญาจ้างจะกำหนดวันสิ้นสุดสัญญาจ้างไว้แต่ตามสัญญาจ้างข้อ ๑๕ การต่อสัญญาจ้างมีข้อความว่า ในกรณีที่สัญญาสิ้นสุดตามกำหนดแต่โครงการยังไม่แล้วเสร็จ จำเลยอาจพิจารณาต่อสัญญากับลูกจ้างตามความจำเป็นของงาน ทั้งนี้จะได้ทำการตกลงกับลูกจ้างที่ได้รับการต่อสัญญาเป็นราย ๆ ไป สัญญาจ้างที่จำเลยว่าจ้างโจทก์ซึ่งเป็นการว่าจ้างให้ทำงานในโครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกเกาะสีชัง ระยะที่ ๑ทั้งโครงการ และเมื่อครบกำหนดเวลาตามสัญญาจ้างหากโครงการยังไม่เสร็จก็มีการต่อสัญญากันได้อีก เช่นนี้ จึงไม่ใช่เป็นการจ้างให้ทำงานในลักษณะที่เป็นครั้งคราวตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ ๔๖

คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๑๔/๒๕๔๐


สัญญาจ้างแรงงานระหว่างโจทก์กับจำเลยได้กำหนดวันที่เริ่มมีผลใช้บังคับและวันที่สิ้นสุดไว้แน่นอนแล้ว แม้จะกำหนดเงื่อนไขไว้ว่า หากโจทก์ผิดสัญญาไม่ว่าจะเป็นข้อหนึ่งข้อใดก็ดีโจทก์ยินยอมให้จำเลยเลิกจ้างหรือไล่ออกได้ทันทีก่อนที่จะครบกำหนดเลิกจ้างตามสัญญาและโจทก์ไม่ขอเรียกร้องสิทธิและผลประโยชน์ตอบแทน หรือค่าเสียหายหรือค่าชดเชยจากจำเลยแต่อย่างใดทั้งสิ้นก็มีความหมายเพียงว่า ถ้าโจทก์ทำผิดสัญญาไม่ว่าข้อหนึ่งข้อใดโจทก์ยอมให้จำเลยเลิกจ้างหรือไล่โจทก์ออกจากงานได้ทันทีก่อนที่จะครบกำหนดเลิกจ้างตามสัญญาได้เท่านั้น มิใช่ข้อกำหนดหรือเงื่อนไขที่ทำให้ระยะเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญาเปลี่ยนแปลงไปแต่อย่างใด สัญญาดังกล่าวจึงเป็นสัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ ๔๖ วรรคท้าย

คำพิพากษาฎีกาที่ ๓๓๔๘/๒๕๓๒



สัญญาจ้างแรงงานระหว่างโจทก์กับจำเลยได้กำหนดวันที่เริ่มมีผลใช้บังคับและวันที่สิ้นสุดไว้แน่นอนแล้ว แม้จะกำหนดเงื่อนไขไว้ว่า หากโจทก์ผิดสัญญาไม่ว่าจะเป็นข้อหนึ่งข้อใดก็ดีโจทก์ยินยอมให้จำเลยเลิกจ้างหรือไล่ออกได้ทันทีก่อนที่จะครบกำหนดเลิกจ้างตามสัญญาและโจทก์ไม่ขอเรียกร้องสิทธิและผลประโยชน์ตอบแทน หรือค่าเสียหายหรือค่าชดเชยจากจำเลยแต่อย่างใดทั้งสิ้นก็มีความหมายเพียงว่า ถ้าโจทก์ทำผิดสัญญาไม่ว่าข้อหนึ่งข้อใดโจทก์ยอมให้จำเลยเลิกจ้างหรือไล่โจทก์ออกจากงานได้ทันทีก่อนที่จะครบกำหนดเลิกจ้างตามสัญญาได้เท่านั้น มิใช่ข้อกำหนดหรือเงื่อนไขที่ทำให้ระยะเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญาเปลี่ยนแปลงไปแต่อย่างใด สัญญาดังกล่าวจึงเป็นสัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ ๔๖ วรรคท้าย

คำพิพากษาฎีกาที่ ๓๓๔๘/๒๕๓๒



จำเลยทำสัญญาจ้างโจทก์ติดต่อกันรวม ๙ ครั้ง ครั้งละ๓ เดือนบ้าง๖ เดือนบ้าง ครั้งสุดท้ายมีกำหนด ๑ เดือน ทั้งนี้เพราะมีความจำเป็นตามฤดูกาลทางเกษตรกรรม ซึ่งไม่แน่นอนว่าจะหมดเมื่อใด จึงเป็นการจ้างที่มิได้ ถือเอาระยะเวลาเป็นสำคัญ หากแต่ถือเอาความจำเป็นของจำเลยเป็นเหตุในการเลิกจ้าง ฉะนั้น กำหนดระยะเวลาการจ้างย่อมไม่มีผลบังคับอย่างแท้จริง เพราะจำเลยจะเลิกจ้างโจทก์เมื่อใดก็ได้หากความจำเป็นหมดไป จึงถือไม่ได้ว่า เป็นการจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาแน่นอนอันจำเลยได้รับยกเว้นไม่จ่ายค่าชดเชยเมื่อเลิกจ้างตามกำหนดนั้นการจ่ายค่าชดเชยเป็นหน้าที่ของนายจ้างตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานหากฝ่าฝืนเป็นความผิดทางอาญาถือว่าเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนดังนั้น การที่ลูกจ้างทำหนังสือสละสิทธิไม่เรียกร้องค่าชดเชยจึงหาทำให้สิทธิของลูกจ้างที่จะได้รับค่าชดเชยระงับไปไม่


คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๔๐๙/๒๕๒๗

อัพเดทล่าสุด