เงินที่เกิดจากการทำสัญญาประนีประนอมยอมความในศาล นายจ้างมีสิทธิ หักภาษี ณ. ที่จ่ายหรือไม่


899 ผู้ชม


เงินที่เกิดจากการทำสัญญาประนีประนอมยอมความในศาล นายจ้างมีสิทธิ หักภาษี ณ. ที่จ่ายหรือไม่




   
 
 

คำพิพากษาฎีกาที่ 2323/2544

นายชุมพล หวังวัชรกุล โจทก์
บริษัทปัญญาคอนซัลแตนท์ จำกัด จำเลย
   
 
เรื่อง เงินที่เกิดจากการทำสัญญาประนีประนอมยอมความในศาล นายจ้างมีสิทธิ หักภาษี ณ. ที่จ่ายหรือไม่
 

1. คดีสืบเนื่องมาจากโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลย ฟ้องขอให้จำเลยรับโจทก์
กลับเข้าทำงาน ในตำแหน่ง และอัตราค่าจ้างเท่ากับก่อนที่จะมีการเลิกจ้างระหว่าง
พิจารณาโจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันว่า จำเลยยอมจ่ายเงิน
ช่วยเหลือให้แก่โจทก์ จำนวน 299,304 บาท โดยจำเลยจะนำเงินจำนวนดังกล่าว
มาวางศาล เพื่อให้โจทก์รับไปจากศาลภายในวันที่ 8 มีนาคม 2543 หากผิดนัด
ยอมให้โจทก์บังคับคดีทันที ซึ่งโจทก์ตกลงและไม่ติดใจเรียกร้องอื่นใดอีกซึ่งศาล
แรงงานกลางมีคำพิพากษาตามยอมแล้ว ต่อมาโจทก์ยื่นคำร้องว่าจำเลยชำระเงิน
ให้โจทก์ไม่ครบตามคำพิพากษา โดยหักภาษี ณ ที่จ่ายจากจำนวนเงินตามคำ
พิพากษาเป็นเงิน 13,431 บาท นำส่งกรมสรรพากรแล้ว ซึ่งโจทก์เห็นว่าจำเลยไม่มี
สิทธิหักภาษี ณ ที่จ่ายดังกล่าว เพราะเงินตามคำพิพากษาเป็นเงินค่าชดเชยได้รับ
ยกเว้นรัษฎากรในส่วนที่ไม่เกินค่าจ้าง หรือเงินเดือนค่าจ้างของการทำงาน สามร้อย
วันสุดท้าย แต่ไม่เกินสามแสนบาท ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 217 (พ.ศ.2542)
ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร จำเลยแถลงว่าการหัก
ภาษี ณ ที่จ่ายเป็นไปตามกฎหมายแล้ว นอกจากนี้จำเลยยังได้ประสานงานกับ
เจ้าหน้าที่ของกรมสรรพากรแล้วว่า หากการหักภาษี ณ ที่จ่ายไม่ชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ก็มีสิทธิเรียกภาษีที่หักไว้คืนได้ โดยยื่นคำร้องขอต่อกรมสรรพากรภายหลัง

2. ศาลแรงงานกลางพิจารณาแล้ว เห็นว่า เงินที่จำเลยจ่ายให้โจทก์ในศาลตาม
สัญญาประนีประนอมยอมความเป็นเงินซึ่งจำเลย จ่ายให้โจทก์ในกรณีที่โจทก์และ
จำเลยสมัครใจระงับข้อพิพาทระหว่างกันโดยศาลยังไม่ได้ชี้ขาดว่าฝ่ายใดผิดหรือถูก
มิใช่กรณีที่ศาลมีคำพิพากษาว่าจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ชอบตาม
กฎหมายคุ้มครองแรงงานซึ่งจำเลยมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ ดังนั้นเงิน
ดังกล่าวจึงไม่ใช่ค่าชดเชย จำเลยจึงต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามประมวลรัษฎากร

3. โจทก์อุทธรณ์ต่อศาลฎีกา


4. ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้ว พิพากษายืน

   
เงินที่เกิดจากการทำสัญญาประนีประนอมยอมความในศาล นายจ้างมีสิทธิ หักภาษี ณ. ที่จ่ายหรือไม่ เงินที่เกิดจากการทำสัญญาประนีประนอมยอมความในศาล นายจ้างมีสิทธิ หักภาษี ณ. ที่จ่ายหรือไม่
  (รวบรวมโดยนายไพบูลย์ ธรรมสถิตย์มั่น) บ.1/7

อัพเดทล่าสุด