เงินเพิ่มพิเศษตามมาตรา 9 พระราชบัญญัติ 41


679 ผู้ชม


เงินเพิ่มพิเศษตามมาตรา 9 พระราชบัญญัติ 41




 
 

คำพิพากษาฎีกาที่ 3111/2544

พันเอกสุพพัต ศิริจันทร์ โจทก์
บริษัทภูเก็ตบอทานิคส์ จำกัด จำเลย
   
 
เรื่อง เงินเพิ่มพิเศษตามมาตรา 9 พระราชบัญญัติ 41
 

1. โจทก์ฟ้องว่า ขอให้บังคับจำเลยชำระสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าค่าชดเชย
ค่าจ้างในวันหยุดพักผ่อนประจำปี และค่าจ้างค้างจ่ายตามจำนวนดังกล่าวพร้อมดอก
เบี้ย และเสียเงินเพิ่มตามกฎหมาย ชำระค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
พร้อมดอกเบี้ย และค่าเสียหายเนื่องจากเลิกจ้างไม่เป็นธรรม พร้อมดอกเบี้ยกับขอให้
จำเลยออกหนังสือรับรองการทำงานและหนังสือสำคัญการหักเงินเดือน ณ ที่จ่ายให้
แก่โจทก์

2. จำเลยให้การว่า ตั้งแต่จดทะเบียนตั้งบริษัทมาจำเลยยังไม่ได้ประกอบกิจการอันใด
คงมีเพียงโครงการที่จะดำเนินการเท่านั้น เมื่อภาวะเศรษฐกิจไม่อำนวย จำเลยไม่มี
รายได้ จึงต้องล้มเลิกโครงการและเลิกจ้างโจทก์ เป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุจำเป็นจึง
ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จำเลยไม่ต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มทุกระยะเวลาเจ็ดวัน
ตามฟ้อง ขอให้ยกฟ้อง

3. ศาลแรงงานกลางพิจารณา พิพากษาให้จำเลยชำระค่าจ้างค้างจ่ายเดือนธันวาคม
2542 พร้อมดอกเบี้ย ค่าจ้างในวันหยุดพักผ่อนประจำปี ค่าชดเชย ให้จำเลยเสียเงิน
เพิ่มร้อยละสิบห้าของเงินค่าจ้างค้างจ่าย ทุกระยะเวลาเจ็ดวัน จ่ายเงินเพิ่มร้อยละ
สิบห้าของค่าจ้างในวันหยุดพักผ่อนประจำปี และค่าชดเชย ทุกระยะเวลาเจ็ดวันจน
กว่าจำเลยจะชำระค่าจ้างค้างจ่าย ค่าจ้างในวันหยุดพักผ่อนประจำปีและค่าชดเชย
เสร็จ กับให้จำเลยจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า พร้อมดอกเบี้ยเป็นต้นไป
จนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยกเสีย

4. จำเลยอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา

5. ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้ว เห็นว่า การที่บริษัท
จำเลยไม่จ่ายค่าจ้างค้างจ่าย ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี และค่าชดเชย
ให้แก่โจทก์ เนื่องจากบริษัทจำเลยไม่มีเงินจ่ายนั้น จึงยังถือไม่ได้ว่าเป็นการจงใจ
ไม่จ่ายเงินดังกล่าวให้แก่โจทก์โดยปราศจากเหตุอันสมควร ตามพระราชบัญญัติคุ้ม
ครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 9 วรรคสอง ที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลย
เสียเงินเพิ่มร้อยละสิบห้าทุกระยะเวลาเจ็ดวันในเงินดังกล่าวให้แก่โจทก์นั้น ศาลฎีกา
ไม่เห็นพ้องด้วย อุทธรณ์ของจำเลยฟังขึ้น

6. พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยไม่ต้องเสียเงินเพิ่มร้อยละสิบห้าทุกระยะเวลาเจ็ดวันใน
เงินค่าจ้าง ค้างจ่าย เงินค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี และค่าชดเชยให้แก่
โจทก์ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาของศาลแรงงานกลาง

   
เงินเพิ่มพิเศษตามมาตรา 9 พระราชบัญญัติ 41 เงินเพิ่มพิเศษตามมาตรา 9 พระราชบัญญัติ 41
  รวบรวมโดยนายไพบูลย์ ธรรมสถิตย์มั่น บ.1/น


อัพเดทล่าสุด