ขอเลิกจ้างเฉพาะกรณีผิดร้ายแรง
การที่ศาลจะอนุญาตให้นายจ้างเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างนั้น จะต้องปรากฏว่ามีเหตุถึงขั้นให้เลิกจ้างกรรมการลูกจ้างได้ นั่นคือต้องกระทำผิดร้ายแรงถึงขั้นเลิกจ้างได้ ศาลจึงจะอนุญาตให้เลิกจ้างกรรมการลูกจ้างได้
เมื่อนายจ้างอ้างเหตุเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างว่าลักน้ำมัน เป็นการทุจริตต่อหน้าที่อันเป็นความผิดตามระเบียบข้อบังคับการทำงาน ที่ให้เลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย และเป็นความผิดต่อประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(1) เห็นได้ว่านายจ้างขออนุญาตเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างเฉพาะกรณีกระทำผิดร้ายแรง ซึ่งเลิกจ้างแล้วไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยเท่านั้น เมื่อศาลแรงงานกลางพิจารณาแล้วฟังไม่ได้ว่า กรรมการลูกจ้างทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้างซึ่งเป็นความผิดกรณีร้ายแรง จึงไม่มีเหตุเพียงพอที่จะเลิกจ้างกรรมการลูกจ้าง
(คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2336/2538)