สอบสวนแล้วไม่ผิด
เมื่อข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างมิได้กำหนดไว้ในเรื่องการสอบสวนว่าจะต้องปฏิบัติอย่างไร การที่เจ้าหน้าที่ของนายจ้างเรียกลูกจ้างทั้งสองมาสอบถามและให้เขียนรายงานกล่าวถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ถือได้ว่ามีการสอบสวนข้อเท็จจริงแล้วเมื่อได้ความว่าเหตุที่เกิดขึ้นเป็นเพราะความประมาทเลินเล่อของลูกจ้างคนที่ 1 ทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายร้ายแรง การที่นายจ้างให้ลูกจ้างคนที่ 1 ออกจากงานจึงถือไม่ได้ว่าเป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม
ศาลฎีกาสั่งให้รับฟ้องโจทก์ (ลูกจ้าง) ข้อที่กล่าวหาว่าจำเลย(นายจ้าง)เลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมเพราะจำเลยมิได้สอบสวนตามระเบียบ เมื่อได้ความว่าจำเลยได้สอบสวนตามระเบียบแล้วแต่ไม่ปรากฏว่าโจทก์ที่ 2 ประมาทเลินเล่อทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย จึงเป็นกรณีจำเลยเลิกจ้างโจทก์ที่ 2 โดยไม่มีความผิดและเป็นการเลิกจ้าง โดยไม่ได้รับความเป็นธรรม (คำพิพากษาฎีกาที่ 682/2525)