การเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชย : กรณีลูกจ้างฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน หรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมาย และเป็นธรรม( ส่วนที่2 )
- กรณีที่ร้ายแรง นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างได้ในการกระทำครั้งแรกของลูกจ้าง โดยนายจ้าง ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้กับลูกจ้าง
- กรณีไม่ร้ายแรง นายจ้างจะต้องตักเตือนลูกจ้างเป็นหนังสือก่อน ถ้าลูกจ้างได้กระทำความผิดในเรื่องเดียวกันนั้นซ้ำอีกภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ลูกจ้างได้กระทำผิดครั้งแรก9 นายจ้างจึงสามารถเลิกจ้างลูกจ้างนั้นได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
กรณีไม่ร้ายแรง
- การเล่นแชร์ซึ่งเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับการทำงาน ไม่ถือเป็นกรณีที่ร้ายแรง11
- ลูกจ้างมาทำงานสาย และกระทำการอันไม่สมควรต่อผู้บังคับบัญชาถือว่าเป็นการฝ่าฝืน ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานในกรณีที่ไม่ร้ายแรง12
- ลูกจ้างดื่มสุรานอกเวลาทำงาน แล้วชกต่อยเพื่อร่วมงาน ด้วยเหตุเมาสุรา 1 ครั้ง ได้รับบาดเจ็บขอบตาช้ำ ไม่ถือว่าเป็นกรณีร้ายแรง13
กรณีร้ายแรง
- การเล่นการพนันในบริเวณบริษัท ไม่ว่าจะเป็นเวลาในขณะปฏิบัติหน้าที่หรือนอกเวลา ก็ตาม นอกจากจะเป็นการกระทำผิดกฎหมายอาญาแล้ว ยังเป็นบ่อเกิดอาชญากรรม เป็นชนวนให้เกิดการวิวาทบาดหมางในหมู่คนงานด้วยกัน ทำลายความสามัคคีของหมู่คณะ ทำให้ผลงานของลูกจ้างลดน้อยลง และอาจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายทางชื่อเสียง การฝ่าฝืนข้อบังคับในเรื่องการเล่นการพนันจึงเป็นกรณีที่ ร้ายแรง14
- การที่ลูกจ้างทั้งสองซึ่งเป็นยามดื่มสุราในระหว่างปฏิบัติหน้าที่ อาจทำให้การปฏิบัติหน้าที่ผิดพลาด หรือบกพร่องได้โดยง่ายเพราะขาดสติสัมปชัญญะ ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสียหายอย่างมากแก่ ทั้งบริษัทผู้เป็นนายจ้าง และได้รับความเสียหายทางชื่อเสียง การที่ลูกจ้างดื่มสุราถือว่าเป็นกรณีที่ร้ายแรง15
- การตอกบัตรลงเวลาทำงานแทนพนักงานอื่นโดยไม่ตรงกับความจริงอันอาจทำให้นายจ้างจ่ายค่าจ้าง และอาจต้องจ่ายรางวัลการทำงานแก่พนักงานผู้นั้นมากกว่าความเป็นจริง แม้การกระทำดังกล่าว ผู้กระทำไม่ได้รับประโยชน์ก็ตาม ถือเป็นการฝ่าฝืนต่อระเบียบเกี่ยวกับการทำงานกรณีที่ร้ายแรง16
โดย จุฬาวุฒิ คณารักษ์
สำนักงานที่ปรึกษากฎหมาย