สปส.แจงนายจ้างต้องปฏิบัติหน้าที่ให้ถูกต้อง เพื่อให้ลูกจ้างรับสิทธิกองทุนเงินทดแทนครบถ้วน


654 ผู้ชม


สปส.แจงนายจ้างต้องปฏิบัติหน้าที่ให้ถูกต้อง เพื่อให้ลูกจ้างรับสิทธิกองทุนเงินทดแทนครบถ้วน




สปส.แจงนายจ้างต้องปฏิบัติหน้าที่ให้ถูกต้อง เพื่อให้ลูกจ้างรับสิทธิกองทุนเงินทดแทนครบถ้วน


เลขที่ :
วันที่ประกาศ : 22/11/2550


สปส.แจงนายจ้างต้องปฏิบัติหน้าที่ให้ถูกต้อง เพื่อให้ลูกจ้างรับสิทธิกองทุนเงินทดแทนครบถ้วน
 
 สำนักงานประกันสังคม แจงแนวปฏิบัตินายจ้าง มีหน้าที่ต้องจ่ายเงินสมทบให้ครบถ้วน และรายงานค่าจ้างประจำปีให้ถูกต้อง เพื่อประโยชน์ของลูกจ้างได้รับสิทธิกองทุนเงินทดแทนอย่างเต็มที่
 นายสุรินทร์  จิรวิศิษฎ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม เปิดเผยว่า กองทุนเงินทดแทน เป็นกองทุนตามพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ.2537 เพื่อเป็นทุนในการจ่ายเงินทดแทนให้แก่ลูกจ้างแทนนายจ้างเมื่อลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ตาย หรือสูญหายเนื่องจากการทำงานให้นายจ้าง โดย สำนักงานประกันสังคมได้จัดเก็บเงินสมทบจากนายจ้างที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไปเพียงฝ่ายเดียว ในอัตราเงินสมทบหลักระหว่างร้อยละ       0.2 – 1.0 ขึ้นอยู่กับความเสี่ยงภัยของประเภทกิจการของนายจ้าง และเมื่อนายจ้างจ่ายเงินสมทบตามอัตราหลัก 4 ปี ติดต่อกันแล้ว ในปีที่ 5 เป็นต้นไป จะเป็นการเรียกเก็บเงินสมทบตามค่าประสบการณ์ ซึ่งหากนายจ้างจัดให้มีความปลอดภัยในการทำงานดี ลูกจ้างประสบอันตรายจากการทำงานน้อยหรือไม่มีเลย ก็จะได้ลด “อัตราค่าประสบการณ์” ได้สูงสุดถึงร้อยละ 80 ของอัตราเงินสมทบหลัก แต่ถ้านายจ้างไม่จัดความปลอดภัย และเกิดอุบัติเหตุหรือการประสบอันตรายต่อลูกจ้างสูง อัตราเงินสมทบตามค่าประสบการณ์จะเพิ่มไปถึงร้อยละ 150
 การเก็บเงินสมทบกองทุนเงินทดแทน ส่วนใหญ่จะเป็นการจ่ายปีละ 1 ครั้ง ภายในเดือนมกราคม            โดยเงินที่เรียกเก็บเป็นอัตราเงินสมทบโดยประมาณ เนื่องจากในระหว่างปี นายจ้างอาจมีการเพิ่มหรือลดจำนวนลูกจ้าง หรือมีการปรับอัตราค่าจ้าง และนายจ้างมีหน้าที่รายงานค่าจ้างที่จ่ายจริงของปีที่ผ่านมาภายในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี หากจำนวนค่าจ้างจริงของปีที่ผ่านมาสูงกว่าค่าจ้างที่ประมาณไว้ นายจ้างจะต้องจ่ายเงินสมทบเพิ่มภายในวันที่ 31 มีนาคม แต่หากแจ้งจำนวนเงินค่าจ้างจริงรวมกันทั้งปีต่ำกว่าที่ประเมินไว้ กองทุนเงินทดแทนจะคืนเงินสมทบส่วนที่เกินให้นายจ้าง ดังนั้นนายจ้างไม่ควรลืมการรายงานค่าจ้างที่เป็นจริงภายในเดือนกุมภาพันธ์     ของทุกปี เพราะหากไม่รายงานและอาจมีเงินสมทบเพิ่มขึ้น นายจ้างจะต้องเสียค่าปรับตามกฎหมายถึงร้อยละ        3 ต่อเดือน
กรณีที่นายจ้างขึ้นทะเบียนและจ่ายเงินสมทบกองทุนเงินทดแทนแล้ว เมื่อลูกจ้างประสบอันตรายเนื่อง   จากการทำงาน ก็จะได้รับสิทธิรับเงินทดแทนตามกฎหมาย คือ ค่ารักษาพยาบาล ค่าทดแทนการหยุดงาน       สูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพ ตายหรือสูญหาย ค่าทำศพ และค่าฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงาน หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่/จังหวัด และสำนักงานกองทุนเงินทดแทน   โทร.0 -2956 – 2726 -7 หรือสายด่วน 1506 ได้ทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการ
                                                    
        
        ศูนย์สารนิเทศ สายด่วน 1506
www.sso.go.th

อัพเดทล่าสุด