จุดกำเนิดการประกันสังคม
จุดกำเนิดการประกันสังคม
ระบบประกันสังคม เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศเยอรมัน ภายใต้การปกครองของ Chancellor Bismarck ในช่วงระหว่างปี ค.ศ. 1883-1889
โดยเริ่มจากการจัดตั้งกองทุนช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
เจ็บป่วยเนื่องจากการทำงานซึ่งดำเนินการโดยสมาคมนายจ้างก็ได้ถือกำเนิดขึ้นสำหรับการประกันกรณีทุพพลภาพและการประกันกรณีชราภาพ ซึ่งบริหารจัดการโดยส่วนภูมิภาคเป็นลำดับในปี
1889 ทั้งนี้ ลักษณะของการมีส่วนร่วมในโครงการดังกล่าวจะมาจาก 3 ฝ่าย คือ ลูกจ้าง นายจ้าง และรัฐบาล มีการบริหารเงินโดยใช้วิธีการจัดเก็บเงินสมทบ และเป็นระบบบังคับสำหรับผู้ที่มีรายได้ ซึ่งจะมีการการันตีประโยชน์ทดแทนให้แก่ผู้ที่อยู่ในโครงการ หลังจากนั้นประเทศในแถบยุโรป ลาตินอเมริกา สหรัฐอเมริกา ได้นำรูปแบบของเยอรมันไปใช้ และได้แพร่หลายต่อไปยังทวีปอาฟริกา เอเชีย และกลุ่มประเทศในแถบคาริบเบียนในเวลาต่อมาหลักการประกันสังคม
การประกันสังคม ( Social Insurance) เป็นการให้หลักประกันทางสังคมในระยะยาวอีกระบบหนึ่งที่รัฐเป็นผู้ดำเนินการโดยการให้ประชาชนผู้มีรายได้แต่ละคน ได้มีส่วนช่วยตนเอง หรือครอบครัว โดยร่วมกันเสี่ยงภัยหรือช่วยเหลือบำบัดทุกข์ยาก เดือดร้อนซึ่งกันและกัน ระหว่างผู้มีรายได้สังคม ด้วยการออกเงินสมทบ
เข้ากองทุนประกันสังคม โดยมีนายจ้าง ลูกจ้างและในบางประเทศมีรัฐบาลร่วมออกเงินสมทบเข้ากองทุนนี้ด้วย กองทุนนี้จะจ่ายประโยชน์ทดแทนให้แก่ผู้ส่งเงินสมทบเมื่อเกิดเคราะห์กรรม หรือความเดือดร้อน เช่น เจ็บป่วย คลอดบุตร ว่างงาน ชราภาพ เป็นต้น ทั้งนี้รัฐเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการ ดังนั้น การประกันสังคมจึงเป็นวิธีการหนึ่งที่ยึดหลักการพึ่งตนเองและช่วยเหลือซึ่งกันและกันของประชาชน โดยมีความมุ่งหมายที่จะเป็นหลักประกันและคุ้มครองความเป็นอยู่ของประชาชน
ให้มีความมั่นคงในการดำเนินชีวิต แม้มีเหตุการณ์ที่ทำให้ต้องขาดแคลนรายได้ก็สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างปกติสุข
การประกันสังคมตามหลักการขององค์การแรงงานระหว่างประเทศหรือ ILO (1989) จึงมีหลักการดังต่อไปนี้
(1) การประกันสังคม จะเป็นวิธีการออกเงินสมทบโดยฝ่ายนายจ้าง และลูกจ้าง และในบางครั้งรัฐบาลอาจเข้าไปมีส่วนร่วมในลักษณะช่วยเหลือ หรืออุดหนุนโดยใช้เงินของรัฐ |
(2) การเข้ามามีส่วนร่วมในการประกันสังคมนั้น ถือเป็นลักษณะของการบังคับ โดยมีข้อยกเว้นไว้น้อยมาก |
(3) เงินสมทบที่จ่ายมานั้น จะจัดตั้งเป็นกองทุนพิเศษนำไปช่วยเป็นประโยชน์ทดแทนตามที่ได้กำหนด |
(4) ส่วนเกินของเงินสมทบจะนำไปลงทุนเพื่อให้กองทุนมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้น |
(5) สิทธิในการรับประโยชน์ทดแทนเกิดจากการได้จ่ายเงินสมทบที่เป็นไปตามเงื่อนไข |
(6) อัตราการจ่ายเงินสมทบและอัตราประโยชน์ทดแทนมักจะสัมพันธ์กับรายได้ของบุคคล |
(7) การประกันสังคมประเภทการเจ็บป่วยในงาน ปกตินายจ้างจะเป็นผู้รับผิดชอบแต่ฝ่ายเดียว หรือบางกรณีรัฐให้ความช่วยเหลือเงินอุดหนุน |
ขอบข่ายความคุ้มครอง
การประกันสังคมในระยะเริ่มต้นโครงการ มักจะให้ความคุ้มครองกลุ่มเป้าหมายที่จำกัด เช่น ครอบคลุมเฉพาะผู้ใช้แรงงานบางประเภท หรือผู้ใช้แรงงาน ที่อยู่ในสถานประกอบการที่มีจำนวนลูกจ้างมากกว่า 20 คน หลังจากนั้นจึงจะค่อย ๆ ขยายความคุ้มครองออกไปให้กว้างขวางยิ่งขึ้น เพื่อให้ประชาชนได้รับความ คุ้มครองจากการประกันสังคมมากขึ้นโดยลำดับ ทั้งนี้โดยหลักการแล้วการประกันสังคมมีวัตถุประสงค์ที่จะให้ประชาชนทุกคนที่อยู่ในวัยทำงานให้ได้รับความคุ้มครองโดยทั่วถึง และคุ้มครองไปถึงครอบครัว ตลอดจนเมื่อไม่สามารถทำงานได้หรือต้องออกจากงานเมื่อพ้นวัยดังกล่าวไปแล้ว
ประเภทของการประกันสังคม
ในระบบประกันสังคมที่นานาประเทศถือเป็นหลักปฏิบัติกันอยู่ในปัจจุบัน จะมีประเภทของการประกันรวม 8 ประเภท คือ
(1) การประกันอุบัติเหตุและโรคเกิดจากการทำงาน |
(2) การประกันการเจ็บป่วย |
(3) การประกันการคลอดบุตร |
(4) การประกันการทุพพลภาพ |
(5) การประกันการเสียชีวิต |
(6) การประกันชราภาพ |
(7) การประกันการสงเคราะห์ครอบครัว |
(8) การประกันการว่างงาน |
ที่มา : สำนักงานประกันสังคม