วิวัฒนาการการประกันสังคมในประเทศไทย


1,369 ผู้ชม


วิวัฒนาการการประกันสังคมในประเทศไทย




วิวัฒนาการการประกันสังคมในประเทศไทย

แนวคิดการประกันสังคมในประเทศไทยได้เริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2495 ในรัฐบาลของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม  เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีการตราเป็นพระราชบัญญัติประกันสังคม  พ.ศ. 2497  และได้มีการจัดตั้ง "กรมประกันสังคม"  สังกัดกระทรวงการคลัง  แต่มิได้นำมาดำเนินการในทางปฏิบัติ       เพราะไม่มีการตราเป็นพระราชกฤษฎีกาตามที่ได้กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติ  ภายหลังจากเกิดรัฐประหารล้มรัฐบาลของจอมพล ป. พิบูลสงคราม  รัฐบาลที่จัดตั้งขึ้นภายหลังได้มีคำสั่ง     ให้ยุบกรมประกันสังคมที่จัดตั้งขึ้นดังกล่าว  และจัดตั้งกองความมั่นคงทางสังคม  โดยให้โอนไปสังกัดกรมประชาสงเคราะห์  กระทรวงมหาดไทย  มีหน้าที่พิจารณา  ปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติประกันสังคม  พ.ศ. 2497  และเตรียมงานให้พร้อมที่จะดำเนินงานประกันสังคม  ในปลายปี พ.ศ. 2510  กรมประชาสงเคราะห์ได้เสนอให้รัฐบาลทบทวนเรื่องการประกันสังคมขึ้นเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกันสังคมบางมาตรา  ในระหว่างนั้นได้เกิดการปฏิวัติขึ้น และในที่สุดคณะปฏิวัติได้ออกประกาศของคณะปฏิวัติ  ฉบับที่ 103  ลงวันที่  16 มีนาคม พ.ศ. 2515 กำหนดให้มีกองทุนเงินทดแทนเพื่อจ่ายเงินทดแทนแก่ลูกจ้างในกรณีที่ประสบอันตรายหรือ    เจ็บป่วย  เนื่องจากการทำงานซึ่งถือได้ว่าเป็นประเภทหนึ่งของระบบการประกันสังคม  และได้มีการจัดตั้งสำนักงานกองทุนเงินทดแทนขึ้นเป็นองค์กรรับผิดชอบการบริหารดังกล่าว  เริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2517 และให้สังกัดอยู่ในกรมแรงงาน กระทรวงมหาดไทย และเป็นต้นกำเนินของกองทุนเงินทดแทน

            ต่อมา พ.ศ. 2518 รัฐบาลได้นำเรื่องการประกันสังคมขึ้นมาพิจารณาใหม่อีกครั้งตามข้อเสนอของกรมประชาสงเคราะห์    และได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการเตรียมการประกันสังคม  โดยมีอธิบดีกรมประชาสงเคราะห์เป็นประธาน คณะกรรมการชุดนี้ได้ผลักดันให้รัฐบาลเล็งเห็นความสำคัญของระบบประกันสังคม  และขยายขอบเขตออกไปในประเภทอื่น  นอกเหนือจากการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงานด้วย

            จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2533 สภาผู้แทนราษฎรได้มีมติรับรองและยืนยันผ่านร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม  ทำให้มีผลใช้บังคับเป็นกฎหมาย เรียกว่า "พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533"  โดยกำหนดให้มีกองทุนประกันสังคมเพื่อให้ความคุ้มครองลูกจ้าง  กรณีเจ็บป่วย ทุพพลภาพ  และตายที่ไม่เนื่องจากการทำงาน     รวมทั้งกรณีคลอดบุตร สงเคราะห์บุตร ชราภาพ และกรณีว่างงาน และได้จัดตั้งสำนักงานประกันสังคมเพื่อรับผิดชอบการดำเนินงานกองทุนเงินทดแทน และกองทุนประกันสังคมเมื่อวันที่ 3 กันยายน 2533 ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533   ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533      โดยโอนงานของกรมประชาสงเคราะห์ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการประกันสังคม  และงานสำนักงานกองทุนเงินทดแทนของกรมแรงงานมาอยู่ในสำนักงานประกันสังคม  ภายใต้ความรับผิดชอบของกระทรวงมหาดไทย ต่อมาเมื่อวันที่ 23 กันยายน 2536 ได้มีการจัดตั้งกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม  สำนักงานประกันสังคมจึงได้โอนมาอยู่ในสังกัดของกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม

กองทุนประกันสังคม (Social Security Fund)

 

การประกันสังคม  มีวัตถุประสงค์เพื่อให้หลักประกันในการดำรงชีวิตแก่ผู้ประกันตนให้เกิดความมั่นคง  ตั้งแต่เกิดจนวาระสุดท้ายของชีวิต และเสริมสร้างสังคมและประเทศชาติให้มีเสถียรภาพเป็นปึกแผ่น  โดยให้ความช่วยเหลือแก่สมาชิกผู้อยู่ในความคุ้มครอง  7 กรณี คือ กรณีประสบอันตราย หรือเจ็บป่วย  ทุพพลภาพ ตาย      ที่ไม่เนื่องจากการทำงาน ชราภาพ สงเคราะห์บุตร และกรณีว่างงาน ผู้ประกันตนจะได้รับการคุ้มครองเมื่อได้รับอันตรายหรือประสบเหตุกรณีใดกรณีหนึ่งที่ทำให้      เดือดร้อน การช่วยเหลือจะให้ในรูปตัวเงิน (in cash)  และบริการทางการแพทย์ (in kind)

ขอบข่ายความคุ้มครอง

 

พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.. 2533  บังคับใช้กับสถานประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป  ยกเว้น

1.       ข้าราชการ  ลูกจ้างประจำ  ลูกจ้างชั่วคราวรายวัน  และลูกจ้างชั่วคราวรายชั่วโมงของราชการส่วนกลาง ราชการส่วน  ภูมิภาค และ    ราชการส่วนท้องถิ่น  ยกเว้น ลูกจ้างชั่วคราวรายเดือน

2.        ลูกจ้างของรัฐบาลต่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ
3.        ลูกจ้างของนายจ้างที่มีสำนักงานในประเทศและไปประจำทำงานในต่างประเทศ
4.        ครู หรือ ครูใหญ่ของโรงเรียนเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน นักเรียน นักเรียนพยาบาล นิสิตหรือนักศึกษาหรือแพทย์ฝึกหัด ซึ่งเป็นลูกจ้างของโรงเรียน มหาวิทยาลัย หรือโรงพยาบาล
5.        ลูกจ้างของเนติบัณฑิตยสภา
6.        ลูกจ้างของสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์
7.        ลูกจ้างของสภากาชาดไทย
8.        ลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจตามพระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์
9.        ลูกจ้างของกิจการเพาะปลูก ประมง ป่าไม้ และเลี้ยงสัตว์ ซึ่งมิได้ใช้ลูกจ้างตลอดปี และไม่มีงานลักษณะอื่นรวมอยู่ด้วย
10.      ลูกจ้างของนายจ้างที่จ้างไว้เพื่อทำงาน อันมีลักษณะเป็นครั้งคราว เป็นการจรหรือเป็นไปตามฤดูกาล
11.      ลูกจ้างของนายจ้างที่เป็นบุคคลธรรมดา ซึ่งงานที่ลูกจ้างทำนั้น มิได้มีการประกอบธุรกิจรวมอยู่ด้วย
12.      ลูกจ้างของนายจ้างซึ่งประกอบการค้าเร่ หรือการค้าแผงลอย

เงินสมทบกองทุนประกันสังคม

1.   รัฐบาล นายจ้าง และลูกจ้าง ออกเงินสมทบเข้ากองทุน  3 ฝ่าย

 ตารางแสดงอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคม ประจำปี 2545 – 2546


ปี 2545
ผู้มีหน้าที่จ่ายเงินสมทบ
อัตราเงินสมทบรวม
อัตราเงินสมทบเพื่อกรณีเจ็บป่วย คลอดบุตร  ทุพพลภาพ และตาย
อัตราเงินสมทบเพื่อกรณีสงเคราะห์บุตร และชราภาพ
นายจ้าง / ผู้ประกอบการ
3
1
2
ลูกจ้าง
3
1
2
รัฐบาล
2
1
1

ปี 2546
นายจ้าง / ผู้ประกอบการ
4.5
1.5
3
ลูกจ้าง
4.5
1.5
3
รัฐบาล
2.5
1.5
1

 หมายเหตุ : จำนวนเงินสมทบคิดจากฐานค่าจ้างขั้นต่ำ 1,650 บาท ไม่เกิน 15,000 บาทต่อเดือน โดยนายจ้าง / ผู้ประกอบการ มีหน้าที่หักเงินสมทบของลูกจ้าง  และนำส่งพร้อมส่วนของนายจ้าง เป็นรายเดือนภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป

ที่มา : สำนักงานประกันสังคม

อัพเดทล่าสุด