รวมหลักปฏิบัติ เกี่ยวกับประกันสังคมที่ HR ควรรู้
รวมหลักปฏิบัติ
1. แจ้งทะเบียนผู้ประกันตน
กรณีลูกจ้างชั่วคราวและพนักงานมหาวิทยาลัยเข้าปฏิบัติงานใหม่และยังไม่เคยขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน หรือมีบัตรประกันสังคมมาก่อนกรอกแบบขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน (สปส. 1-03) และกรอกข้อมูลเลือกสถานพยาบาลในเครือข่ายประกันสังคมพร้อมแนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
2. แจ้งการรับผู้ประกันตนเข้าทำงาน
กรณีลูกจ้างชั่วคราวและพนักงานมหาวิทยาลัยเข้าปฏิบัติงานใหม่และเคยขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนหรือมีบัตรประกันสังคมมาก่อนแล้ว กรอกแบบแจ้งการรับผู้ประกันตน (สปส. 6-08)
3. แจ้งการลาออกผู้ประกันตน
กรณีลูกจ้างชั่วคราวและพนักงานของมหาวิทยาลัยลาออกกรอกแบบแจ้งการลาออกของผู้ประกันตน (สปส. 6-09)
4. แจ้งการขอรับบัตรรับรองสิทธิการรักษาพยาบาล
กรณีเลือกโรงพยาบาลในเครือข่าย ประกันสังคม กรอกแบบการขอรับบัตรรับรองสิทธิฯ (สปส. 9-02)
5. แจ้งการเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงผู้ประกันตน
กรณีลูกจ้างชั่วคราวและพนักงานเปลี่ยนแปลงข้อมูลต่าง ๆ เช่น คำนำหน้านาม ชื่อ ชื่อสกุล กรอกแบบ แจ้งการเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงผู้ประกันตน (สปส. 6-10) พร้อมแนบบัตรฯ ตัวจริงของเดิม
6. ขอรับใบแทนบัตรประกันสังคม
กรณีบัตรประกันสังคมชำรุดในสาระสำคัญหรือสูญหาย กรอกแบบคำขอรับใบแทนบัตรประกันสังคม (สปส. 6-17) พร้อมชำระค่าธรรมเนียมใบแทนบัตรประกันสังคมฉบับละ 10 บาท และแนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
7. ขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีคลอดบุตร
หลักเกณฑ์ที่จะทำให้ท่านมีสิทธิ จ่ายเงินสมทบในส่วนของกรณีคลอดบุตรมาแล้วไม่น้อยกว่า 7 เดือนภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนวันคลอดบุตร
สิทธิที่ท่านจะได้รับ
1. ค่าคลอดบุตรเหมาจ่าย
2. เงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตร เหมาจ่ายในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ยเป็นระยะเวลา 90 วัน
3. มีสิทธิได้รับคนละ 2 ครั้ง
ผู้ประกันตนหญิง
1. เงินค่าคลอดบุตรเหมาจ่าย ........ บาท/ครั้ง (ตามกฎหมายปัจจุบัน)
2. เงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตร เหมาจ่ายในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ยเป็นระยะเวลา 90 วัน
ผู้ประกันตนชาย
เงินค่าคลอดบุตรเหมาจ่าย ....... บาท/ครั้ง (ตามกฎหมายปัจจุบัน) สำหรับภรรยาที่จดทะเบียนสมรสตามกฎหมายหรือ
หญิงที่อยู่กินฉันท์สามีภรรยาแต่มิได้จดทะเบียนสมรส
หมายเหตุ : ถ้าสามีภรรยาเป็นผู้ประกันตนทั้งคู่ให้ใช้สิทธิในการเบิกค่าคลอดบุตรรวมกันไม่เกิน 4 ครั้ง
หลักฐานที่ต้องใช้ในการยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีคลอดบุตร
- แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีคลอดบุตร (สปส. 2-01/2)
- สูติบัตรของบุตรพร้อมสำเนา
- ทะเบียนสมรสพร้อมสำเนา (กรณีภรรยาผู้ประกันตนคลอดบุตร) หากไม่มีทะเบียนสมรสให้แนบหนังสือรับรองของผู้
ประกันตนกรณีไม่มีทะเบียนสมรส
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
- สำเนาบัตรประกันสังคม
- หนังสือรับรองของนายจ้าง
8. ขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีสงเคราะห์บุตร
หลักเกณฑ์ที่จะทำให้ท่านมีสิทธิ จ่ายเงินสมทบในส่วนของกรณีสงเคราะห์บุตรมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือนภายในระยะเวลา 36 เดือน ก่อนเดือนที่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน และเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 หรือมาตรา 39
สิทธิที่ท่านจะได้รับ
เงินสงเคราะห์บุตรเหมาจ่าย เดือนละ ...... บาทต่อบุตรหนึ่งคน (ตามกฎหมายปัจจุบัน)
เงื่อนไขบุตรที่ได้รับการสงเคราะห์
1. เงินสงเคราะห์บุตรสำหรับบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งมีอายุไม่เกิน 6 ปีบริบูรณ์จำนวนคราวละไม่เกิน 2 คน (บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายดังกล่าวไม่รวมถึงบุตรบุญธรรม หรือบุตรซึ่งได้ยกให้เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่น)
2. ผู้ประกันตนมีสิทธิ์ได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีสงเคราะห์บุตรสำหรับบุตรซึ่งมีอายุไม่เกิน 6 ปีบริบูรณ์
หลักเกณฑ์การใช้สิทธิขอรับประโยชน์ทดแทน
1. ในกรณีที่บิดาและมารดาเป็นผู้ประกันตนให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นผู้มีสิทธิรับประโยชน์ทดแทนเพียงฝ่ายเดียว
2. ผู้ประกันตนมีสิทธิขอรับประโยชน์ทดแทนสำหรับบุตรคราวละไม่เกิน 2 คน โดยนับเรียงลำดับการเกิดก่อนหลัง
3. เมื่อผู้ประกันตนมีการจดทะเบียนหย่าหรือแยกกันอยู่และบุตรอยู่ในการอุปการะของผู้ประกันตนฝ่ายใดให้ฝ่ายนั้นมีสิทธิรับประโยชน์ทดแทน
หลักฐานที่ต้องใช้ในการยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีสงเคราะห์บุตร
- แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีสงเคราะห์บุตร (สปส. 2-01/5)
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ประกันตนและคู่สมรส
- สำเนาบัตรประกันสังคม
- สำเนาบัตรทะเบียนสมรสหรือทะเบียนหย่าของผู้ประกันตน (กรณีจดทะเบียนหย่า)
- สูติบัตรของบุตรพร้อมสำเนา
- หนังสือรับรองของนายจ้าง
กรณีที่ต้องใช้หนังสือรับรองของนายจ้าง เนื่องจากในเดือนที่เกิดสิทธินายจ้างยังไม่ได้นำส่งเงินสมทบ (กฎหมายกำหนดให้ส่งเงินสมทบภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป)
9. ขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีตาย
หลักเกณฑ์ที่จะทำให้ท่านมีสิทธิ จ่ายเงินสมทบในส่วนของกรณีตายมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 เดือน ภายในระยะเวลา 6 เดือน ก่อนวันถึงแก่ความตาย
สิทธิที่ท่านจะได้รับ
1. ผู้จัดการศพมิสิทธิได้รับค่าทำศพ 30,000 บาท
2. ผู้มีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์กรณีตาย ดังนี้
- ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบมาแล้วตั้งแต่ 36 เดือนขึ้นไปให้ได้รับเท่ากับร้อยละ 50 ของค่าจ้างรายเดือนคูณด้วย 3
- ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบมาแล้วตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไปให้ได้รับเท่ากับร้อยละ 50 ของค่าจ้างรายเดือนคูณด้วย 10
ใครคือผู้จัดการศพ
- บุคคลซึ่งผู้ประกันตนทำหนังสือระบุให้เป็นผู้จัดการศพ และได้เป็นผู้จัดการศพผู้ประกันตน
- คู่สมรส บิดา มารดา หรือบุตรของผู้ประกันตนที่มีหลักฐานแสดงว่าเป็นผู้จัดการศพผู้ประกันตน
- บุคคลอื่นที่มีหลักฐานแสดงว่าเป็นผู้จัดการศพผู้ประกันตน
หลักฐานที่ต้องใช้ในการยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีตาย
กรณีขอรับค่าทำศพ
- แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีตาย (สปส. 2-01/4)
- สำเนาทะเบียนบ้านผู้ประกันตน
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้จัดการศพ
- หลักฐานจากฌาปนสถานหรือมัสยิดที่แสดงว่าเป็นผู้จัดการศพ
- มรณบัตรต้นฉบับพร้อมสำเนา