กฏกระทรวงแก้ไขเพิ่มเติมกองทุนเงินทดแทนปี 48
กฏกระทรวง
กำหนดอัตราค่ารักษาพยาบาลที่ให้นายจ้างจ่ายตามพระราชบัญญัติเงินทดแทน ปี 2537
ปี 2548
อาศัยอำนาจตามมาตรา 6 มาตรา 13 วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติเงินทดแทนปี2537 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการ เกี่ยวกับการจำกัดสิทธิเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบมาตรา 35 และมาตรา 48 ของกฏหมายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฏหมาย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ออกกฏกระทรวง ไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้เลิกกฏกระทรวงฉบับที่2 (พ.ศ.2539) ออกตามความในบทบัญญัติเงินทดแทนปี 2537
ข้อ 2 เมื่อลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ให้นายจ้างจ่ายค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น แต่ไม่เกินสามหมื่นห้าพันบาท
ข้อ 3 ในกรณีค่ารักษาพยาบาลที่จ่ายตามข้อ 2 ไม่เพียงพอให้นายจ้างจ่ายค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นเพิ่มอีกไม่เกินห้าหมื่นบาท สำหรับการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยของลูกจ้างที่มีลักษณะดังต่อไปนี้
(1) บาดเจ็บอย่างรุนแรงของอวัยวะภายในหลายส่วนและต้องได้รับการผ่าตัดแก้ไข
(2) บาดเจ็บอย่างรุนแรงของกระดูกหลายแห่งและต้องได้รับการผ่าตัดแก้ไข
(3) บาดเจ็บอย่างรุนแรงของศรีษะแลต้องได้รับการผ่าตัดเปิดกระโหลกศรีษะ
(4) บาดเจ็บอย่างรุนแรงของ กระดูกสันหลัง ไขสันหลัง หรือรากประสาท
(5) ประสบภาวะที่ต้องผ่าตัดต่ออวัยวะที่ยุ่งยากที่ต้องใช้วิธีจุลศัลยกรรม
(6) ประสบอันตรายจากไฟไหม้ น้ำร้อนรวก สารเคมี หรือไฟฟ้า จนสูญเสียผิวหนังลึกถึงหนังแท้ลึกเกินร้อยละสามสิบของร่างกาย
(7) ประสบอันตรายหรือเจ้บป่วยอย่างอื่นซึ่งรุนแรงและเรื้อรังตามที่กระทรวงแรงงานประกาศกำหนด
ข้อ 4 ในกรณีที่ค่าใช้จ่ายในข้อ 3 ไม่เพียงพอ ให้นายจ้างจ่ายค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นเพิ่มขึ้นอีก ทั้งนี้เมื่อรวมค่ารักษาพยาบาลตามข้อ 2 และข้อ 3 แล้วต้องไม่เกินสองแสนบาทสำหรับการประสบอัตราหรือเจ็บป่วยของลูกจ้างที่มีลักษณะ ดังต่อไปนี้
(1) ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยตามข้อ 3 (1)ถึง (6) ตั้งแต่สองรายการขึ้นไป
(2) ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยตามข้อ 3 (1)ถึง (6) ที่จำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยหายใจหรือพักรักษาตัวอยู่ในหอผู้ป่วยหนัก หอผู้ป่วยวิกฤต หอผู้ป่วยไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ตั้งแต่ยี่สิบวันขึ้นไป
(3) บาดเจ็บอย่างรุนแรงของระบบสมองและไขสันหลังที่จำเป็นต้องรักษาตั้งแต่สามสิบวันติดต่อกัน
(4) ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยอย่างอื่นที่รุ่นแรงและเรื้อรังจนเป้นผลให้อวัยวะสำคัญล้มเหลว
ข้อ 5 การจ่ายค่ารักษาพยาบาลตามข้อ 2 ข้อ 3 หรือข้อ 4 กรณีลูกจ้างเป็นผู้ป่วยในให้จ่ายค่าบุคลากรทางการแพทย์และพยาบาลหรือค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่าห้องและค่าอาหารตามหลักเกณฑ์และอัตราดังต่อไปนี้
(1) ค่าบุคลากรทางการแพทย์และพยาบาล ไม่เกินร้อยละสามสิบของอัตราสูงสุดที่จ่ายได้ตามข้อ 2 ข้อ 3 หรือข้อ 4 แล้วแต่กรณี
(2) ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่าห้องและค่าอาหารไม่เกินวันละ เจ็ดร้อยบาทและไม่เกินร้อยละยี่สิบของอัตราสูงสุดจ่ายได้ตามข้อ 2 ข้อ 3 หรือข้อ 4 แล้วแต่กรณี
ข้อ 6 กฏกระทรวงนี้ให้ใช้แก่กรณีที่ลูกจ้างประสบอันตรายที่เกิดขึ้นหรือกรณีที่ลูกจ้างเจ็บป่วยซึ่งเริ่มต้นเข้ารับการรักษาพยาบาลตั้งแต่วันที่กฏกระทรวงนี้มีผลบังคับเป็นต้นไป
ให้ไว้ ณ วันที่ 31 มกราคม 2548
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน