"แถลงข่าว"โครงการบ้าน สปส. – ธอส. เพื่อที่อยู่อาศัยของผู้ประกันตน


1,115 ผู้ชม


"แถลงข่าว"โครงการบ้าน สปส. – ธอส. เพื่อที่อยู่อาศัยของผู้ประกันตน




โครงการบ้าน สปส. – ธอส. เพื่อที่อยู่อาศัยของผู้ประกันตน

จากการที่รัฐบาลมีนโยบายในการสนับสนุนให้ผู้ที่มีรายได้น้อยมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง กระทรวง-แรงงานโดยสำนักงานประกันสังคมได้เล็งเห็นความเดือดร้อนเรื่องที่อยู่อาศัยของผู้ประกันตน ซึ่งเป็นผู้ส่ง เงินสมทบเข้ากองทุนจึงได้จัดทำโครงการบ้าน สปส. – ธอส. เพื่อที่อยู่อาศัยของผู้ประกันตน เพื่อเปิดโอกาสให้ ผู้ประกันตนมีแหล่งเงินกู้อัตราดอกเบี้ยต่ำในการซื้อที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง

คำถามที่ 1

วงเงินที่ใช้สนับสนุนโครงการฯ มีจำนวนเท่าใด ผู้ประกันตนแต่ละรายกู้ได้จำนวนเท่าใด ในเบื้องต้นสำนักงานประกันสังคมจะสนับสนุนเงินฝากจำนวน 3,000 ล้านบาท แต่หากผู้ประกันตนให้ความสนใจจำนวนมากสามารถขยายวงเงินได้อีกร้อยละ 50 แต่รวมกันไม่เกิน 4,500 ล้านบาท สำหรับวงเงินที่จะให้กู้แต่ละรายไม่เกิน 5 ล้านบาทต่อราย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเกณฑ์การพิจารณาของธนาคาร

คำถามที่ 2

เงื่อนไขของผู้ประกันตนที่ต้องการขอกู้เงินตามโครงการมีอย่างไรบ้าง 1. ต้องเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 มาแล้วอย่างน้อย 5 ปี

2. นายจ้างของผู้ประกันตนต้องยินยอมเป็นผู้หักเงินเดือนเพื่อส่งชำระหนี้เงินกู้

คำถามที่ 3

สามารถขอกู้เงินไปทำอะไรได้บ้าง สำหรับวัตถุประสงค์ของการขอกู้เงินตามโครงการฯ ประกอบด้วย

  1.  
    1. เพื่อซื้อที่ดินพร้อมอาคาร หรือห้องชุด เป็นกรรมสิทธิ์ของตนเอง ซึ่งสร้างเสร็จพร้อมโอนกรรมสิทธิ์โดยจะเป็นการซื้อจากผู้ประกอบการหรือเป็นบ้านมือสองก็ได้
    2. เพื่อปลูกสร้างอาคารหรือเพื่อซื้อที่ดินพร้อมปลูกสร้างอาคาร เป็นกรรมสิทธิ์ของตนเอง
    3. เพื่อต่อเติม หรือขยาย หรือซ่อมแซมอาคารที่เป็นกรรมสิทธิ์ของตนเอง

คำถามที่ 4

มีหลักเกณฑ์การปล่อยวงเงินกู้อย่างไร เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของธนาคาร โดยพิจารณาจากเกณฑ์รายได้และเกณฑ์หลักประกัน ได้แก่

  1.  
    1. ที่ดินและอาคาร ไม่เกินร้อยละ 90 ของราคาประเมินหรือราคาซื้อขาย
    2. อาคารพาณิชย์ ไม่เกินร้อยละ 80 ของราคาประเมินหรือราคาซื้อขาย
    3. ห้องชุด กรณี ราคาประเมินหลักประกันต่ำกว่า 1 ล้านบาทต่อหน่วย ให้กู้ได้ไม่เกินร้อยละ 70 ของราคาประเมินหรือราคาซื้อขาย และกรณีราคาประเมินหลักประกันตั้งแต่ 1 ล้านบาทต่อหน่วยขึ้นไป ให้ กู้ได้ไม่เกินร้อยละ 80 ของราคาประเมินหรือราคาซื้อขาย
    4. ปลูกสร้าง / ต่อเติม / ขยาย / ซ่อมแซมอาคาร ไม่เกินร้อยละ 90 ของราคาประเมิน

- 2 -

คำถามที่ 5

การกู้ต้องมีผู้ค้ำประกันหรือไม่ ไม่ต้องมีผู้ค้ำประกัน

คำถามที่ 6

สามารถหาผู้กู้ร่วมได้หรือไม่ ได้ โดยผู้กู้ร่วมไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ประกันตน

คำถามที่ 7

ดอกเบี้ยกู้และระยะเวลาการกู้เป็นอย่างไร ผู้ได้รับสิทธ์จะเสียอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ร้อยละ 2.5 คงที่ 5 ปี หลังจากนั้นใช้อัตราดอกเบี้ยลอยตัวดังนี้

วงเงินกู้ไม่เกิน 500,000 บาท ใช้อัตราดอกเบี้ย MRR – 1.75

วงเงินกู้ไม่เกิน 3,000,000 บาท ใช้อัตราดอกเบี้ย MRR – 1.25

วงเงินกู้เกิน 3,000,000 บาท ใช้อัตราดอกเบี้ย MRR – 1.00

คำถามที่ 8

การชำระหนี้เงินกู้ดำเนินการอย่างไร นายจ้างหักเงินลูกจ้างส่งเงินธนาคารทุกเดือน และในช่วงที่ใช้อัตราดอกเบี้ยคงที่ ผู้กู้สามารถผ่อนชำระเกินเงินงวดที่ระบุไว้ในสัญญากู้เงินได้

คำถามที่ 9

การหมดสิทธิได้รับดอกเบี้ยพิเศษของผู้กู้ จะเกิดขึ้นกรณีที่ผู้กู้ขาดส่งเงินงวดตั้งแต่ 3 งวดขึ้นไป ซึ่งผู้ประกันตนที่ค้างชำระเงินงวดตั้งแต่ 1.5 งวด ธนาคารจะมีหนังสือแจ้งให้ผู้ประกันตนทราบการค้างชำระหนี้ เพื่อให้ผู้ประกันตนไปชำระค่างวดเพื่อรักษาสิทธิตามโครงการต่อไป

คำถามที่ 10

ตอบ

ไม่ได้

คำถามที่ 11

มีขั้นตอนอย่างไรบ้างในการขอกู้เงิน สำหรับขั้นตอนการดำเนินการในการขอกู้เงินตามโครงการฯ ประกอบด้วย

  1. ผู้ประกันตนไปติดต่อสำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่ / จังหวัด ที่อยู่ในเขตพื้นที่ของนายจ้างเพื่อขอใช้สิทธิกู้เงิน
  2. เจ้าหน้าที่สำนักงานประกันสังคม ตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ขอกู้ซึ่งต้องเป็นผู้ประกันตนมาแล้ว อย่างน้อย 5 ปี (ส่งเงินสมทบเข้ากองทุนรวมกันไม่น้อยกว่า 5 ปี)
  3. กรณีมีคุณสมบัติครบ ให้กรอกรายละเอียดในใบผ่านสิทธิและให้เจ้าหน้าที่เซ็นต์รับรองการเป็น ผู้ประกันตนและเก็บต้นฉบับไว้ โดย สำนักงานประกันสังคมเก็บสำเนา และขอรับแบบหนังสือรับรองการหักเงินเดือนจากนายจ้างเพื่อให้นายจ้างยินยอมเป็นผู้หักเงินเดือนชำระเงินกู้

    - 3 -

  4. รอฟังผลประกาศรายชื่อผู้ได้รับสิทธิ์การกู้เงิน โดยสำนักงานประกันสังคมจะทำการจับฉลากและเรียงลำดับผู้ได้รับสิทธิ์ก่อนหลังตามลำดับ
  5. กรณีเป็นผู้ที่ได้รับสิทธิ์การกู้ให้ไปติดต่อขอกู้เงินที่ธนาคารอาคารสงเคราะห์ในเขตพื้นที่ พร้อม หลักฐาน ดังนี้
  1.  
    1. ใบผ่านสิทธิและหนังสือแจ้งการได้รับสิทธิ์จากสำนักงานประกันสังคม
    2. หนังสือแสดงความยินยอมให้หักเงินเดือนส่งชำระหนี้เงินกู้
    3. เอกสารและหลักฐานการขอกู้เงิน

คำถามที่ 12

ตอบ

สำนักงานประกันสังคมจะจัดสรรวงเงินออกเป็น 3 กลุ่ม โดยให้สัดส่วนมากที่สุดแก่ผู้ประกันตนที่ขอกู้วงเงินน้อย

กลุ่ม A วงเงินกู้ไม่เกิน 1,000,000 บาท จะได้รับจัดสรร 60% ของวงเงินตามโครงการคิดเป็น 1,800 ล้านบาท

กลุ่ม B วงเงินกู้ไม่เกิน 3,000,000 บาท จะได้รับจัดสรร 30% ของวงเงินตามโครงการคิดเป็น 900 ล้านบาท

กลุ่ม C วงเงินกู้ไม่เกิน 5,000,000 บาท จะได้รับจัดสรร 10% ของวงเงินตามโครงการคิดเป็น 300 ล้านบาท

คำถามที่ 13

ทำอย่างไรให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ขอใช้สิทธิที่จะมีจำนวนมากกว่าวงเงินตามโครงการ หากมีผู้ขอใช้สิทธิมากเกินกว่าวงเงิน จะใช้วิธีการจับฉลากเรียงลำดับผู้ขอใช้สิทธิ ดังนี้

11.1 สำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่และจังหวัด ส่งรายชื่อผู้ขอยื่นกู้และมีคุณสมบัติตามโครงการมาที่สำนักงานประกันสังคมส่วนกลาง โดยแยกกลุ่มตามวงเงิน A : B : C

  1.  
    1. สำนักงานประกันสังคมส่วนกลางจะนำรายชื่อผู้มีสิทธิทั่วประเทศมาทำการจับฉลากโดยระบบคอมพิวเตอร์เรียงลำดับที่ผู้ขอยื่นกู้ทุกรายโดยแยกตามกลุ่มวงเงินขอกู้เป็นกลุ่ม A B และ C
    2. สำนักงานจะพิจารณาผู้ได้รับสิทธิตามหลักเกณฑ์สัดส่วนวงเงินแต่ละกลุ่ม A : B : C 60 : 30 : 10 ของวงเงินตามโครงการ
    3. สำนักงานประกันสังคมจะแจ้งรายชื่อผู้ได้รับสิทธิตามเกณฑ์และแจ้งให้ผู้ประกันตนและ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ทราบเพื่อไปติดต่อขอใช้สิทธิต่อไป ทั้งนี้ จะขึ้นบัญชีของผู้รอสิทธิไว้เป็นระยะเวลา 2 ปี หลังจากนี้จะเปิดให้มีการยื่นขอกู้เพื่อจับฉลากใหม่

- 4 -

คำถามที่ 14

ผู้ประกันตนที่ไม่ได้รับการจับฉลากจะมีโอกาสได้ใช้สิทธิหรือไม่

ตอบ

คาดว่าโครงการที่จะเป็นโครงการต่อเนื่องโดยสำนักงานประกันสังคมจะไม่ถอนเงินฝากจากธนาคารอาคารสงเคราะห์และให้ธนาคารอาคารสงเคราะห์นำเงินต้นที่ผู้กู้ที่รับสิทธิครั้งนี้ซึ่งเป็นรายเดิม ส่งเป็นค่างวดกับธนาคารฯ นำมาปล่อยกู้ให้กับรายต่อไปที่ขึ้นบัญชีเรียงตามลำดับไว้ ซึ่งเป็นลักษณะกองทุนเงินกู้เพื่อสวัสดิการของผู้ประกันตนที่หมุนเวียนให้ผู้ประกันตนกู้ได้ทั่วถึง

คำถามที่ 15

ผู้ประกันตนจะขอกู้เงินเพื่อไปไถ่ถอนหรือจำนองหนี้เดิมได้หรือไม่

ตอบ

ตามโครงการนี้เป็นโครงการนำร่อง ดังนั้นในเบื้องต้นจึงให้เฉพาะผู้ที่ขอกู้ ซึ่งเป็นผู้กู้รายใหม่ไปก่อนและจะทำการประเมินโครงการ ซึ่งอาจจะมีการจัดทำโครงการเพื่อการขอกู้เงินในเรื่องการขอไถ่ถอนจำนอง โดยเฉพาะ

คำถามที่ 16

ตอบ

สามารถไถ่ถอนก่อนกำหนดได้ โดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมใดๆ

คำถามที่ 17

เมื่อผู้ประกันตนจับฉลากได้แล้วจะต้องทำอย่างไรบ้างให้นำหลักฐานในการผ่านสิทธิต้นฉบับ หนังสือแจ้งการได้รับสิทธิจากสำนักงานประกันสังคม หนังสือแสดงความยินยอมให้หักเงินชำระหนี้เงินกู้จากนายจ้างและเอกสารหลักฐานการขอกู้เงินไปติดต่อกับ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ในเขตพื้นที่เสมือนเป็นลูกค้าโดยทั่วไป โดยได้รับสิทธิพิเศษในเรื่องอัตราดอกเบี้ยต่ำ ทั้งนี้ การพิจารณาอนุมัติเป็นอำนาจของธนาคารเพราะธนาคารเป็นผู้รับความเสี่ยง

คำถามที่ 18

กระทรวงแรงงานได้คาดการณ์ไว้อย่างไรกับโครงการบ้าน สปส. – ธอส. เพื่อที่อยู่อาศัยของ ผู้ประกันตน ที่จะสามารถบรรเทาความเดือดร้อนเรื่องที่อยู่อาศัยของผู้ประกันตน

ตอบ

การที่กระทรวงแรงงานโดยสำนักงานประกันสังคมได้จัดทำโครงการนี้ ก็เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ประกันตนมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง และเพิ่มความมั่นคงและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น แต่การจัดทำโครงการฯ ครั้งนี้ ไม่สามารถช่วยเหลือผู้ประกันตนที่เดือดร้อนด้านที่อยู่อาศัยได้ทั้งหมด เนื่องจากตามกรอบการลงทุนสามารถนำเงินกองทุนไปลงทุนเพื่อประโยชน์ทางอ้อมแก่ผู้ประกันตนได้เพียงไม่เกินร้อยละ 10 ของกองทุน ซึ่งเป็นการลงทุนที่ได้ผลตอบแทนต่ำกว่าตลาดและหากกองทุนประกันสังคมมีการลงทุนประเภทนี้จำนวนมากอาจส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพของกองทุนซึ่งมีภารกิจหลักในการจ่ายประโยชน์ทดแทนให้กับ ผู้ประกันตนได้.

- 5 -

คำถามที่ 19

ผู้ประกันตน มาตรา 39 ขอกู้เงินตามโครงการนี้ได้หรือไม่ โครงการนี้กู้ได้เฉพาะผู้ประกันตน มาตรา 33 เนื่องจากธนาคารอาคารสงเคราะห์ซึ่งเป็นคู่สัญญาได้กำหนดไว้ว่าผู้กู้ต้องเป็นผู้ที่มีงานประจำ มีรายได้แน่นอน และทำงานอยู่ในสถานประกอบการที่ขึ้นทะเบียนประกันสังคม โดยนายจ้างต้องเป็นผู้หักเงินเดือนผู้กู้เพื่อนำส่งชำระหนี้ให้แก่ ธนาคาร ดังนั้น ผู้ประกันตนมาตรา 39 จึงไม่เข้าหลักเกณฑ์ขอกู้ตามโครงการนี้ได้ ธนาคารได้ให้เหตุผลการกำหนดหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ไว้ดังนี้

  1.  
    1. โครงการนี้ ธนาคารคิดอัตราดอกเบี้ยต่ำมาก คือ ร้อยละ 2.5 คงที่ 5 ปี ในขณะที่ธนาคารต้องเป็นผู้รับความเสี่ยงจากการปล่อยกู้ทั้งหมด
    2. เนื่องจากธนาคารได้รับอัตราดอกเบี้ยต่ำจึงกำหนดหลักเกณฑ์ที่จะทำให้ธนาคารมีความเสี่ยงจากโครงการน้อยที่สุด
    3. ผู้ประกันตนมาตรา 33 มีรายได้แน่นอนมีนายจ้างทำหน้าที่หักเงินเดือนส่งชำระหนี้ ทำให้ธนาคารมีความเสี่ยงลดลง
    4. ผู้ประกันตนมาตรา 39 ธนาคารไม่มีความมั่นใจในเรื่องของรายได้ และไม่มีผู้รับผิดชอบที่จะหักเงินชำระหนี้เงินกู้ ซึ่งถ้าหากให้ผู้ประกันตนเป็นผู้นำส่งเอง ธนาคารจะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น ซึ่งเข้าหลักเกณฑ์ลูกค้าปกติของธนาคารโดยอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จะต้องใช้อัตราที่สูงกว่า

ทั้งนี้ สำนักงานได้เคยเจรจากับธนาคารอาคารสงเคราะห์สำหรับประเด็นผู้ประกันตนมาตรา 39 แล้ว ธนาคารแจ้งว่าธนาคารไม่สามารถเซ็นต์สัญญาทำโครงการนี้ด้วยอัตราดอกเบี้ยต่ำกับสำนักงานประกันสังคมได้ หากไม่กำหนดหลักเกณฑ์เฉพาะให้ผู้ประกันตนมาตรา 33 ใช้สิทธิ เนื่องจากธนาคารมีความเสี่ยง

-----------------------------------------

แหล่งข้อมูล :https://www.sso.go.th

เมื่อได้รับเงินกู้แล้ว สามารถไถ่ถอนเงินกู้ก่อนกำหนดได้หรือไม่

สำนักงานประกันสังคมมีวิธีการอย่างไรที่จะให้ผู้ประกันตนระดับล่างที่มีรายได้น้อยได้รับสิทธิมากที่สุด

ผู้ประกันตนที่ได้รับสิทธิสามารถโอนสิทธิให้ผู้อื่นหรือไม่


อัพเดทล่าสุด