ความสิ้นสุด ของ สัญญาจ้างแรงงาน


1,120 ผู้ชม


ความสิ้นสุด ของ สัญญาจ้างแรงงาน




1 กรณีปกติ

1.1 สัญญาจ้างแรงงานที่มีกำหนดระยะเวลาแน่นอน

- สิ้นสุดตามกำหนดที่ตกลงกันในสัญญา

- สิ้นสุดเมื่อเงื่อนไขสำเร็จ หรือเมื่อถึงกำหนดกรณีสัญญามีเงื่อนไข เงื่อนเวลา

- ตกลงเลิกสัญญา

1.2 สัญญาจ้างแรงงานที่ไม่มีกำหนดระยะเวลาจ้างไว้แน่นอน

- การบอกเลิกสัญญาด้วยการบอกกล่าวล่วงหน้า (ม.582ป.พ.พ.) บอกกล่าวเมื่อถึง หรือ ก่อนถึงกำหนดจ่ายสินจ้างคราวใดคราวหนึ่ง แต่ไม่ต้องบอกเกินกว่า 3 เดือน อาจเป็นหนังสือ หรือด้วยวาจา แต่การบอกกล่าวเป็นหนังสือ ไม่ใช้กับ ม.119 พรบ. คุ้มครองแรงงาน และ ม.583 ป.พ.พ. ซึ่งบอกด้วยวาจาได้ ในการยก ม.119 ต้องแจ้ง เหตุให้ลูกจ้างทราบ ขณะบอกเลิก เพื่อใช้ปฏิเสธการจ่ายค่าชดเชย

- ตกลงเลิกสัญญา

- เมื่องานเสร็จ

2 กรณีพิเศษ

2.1 กรณีมิใช่ความผิดของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง

- ความตายของคู่สัญญา ในส่วนลูกจ้างเป็นการเฉพาะตัว ไม่ตกทอดไปยังทายาท

- การทำงานของลูกจ้างตกเป็นพ้นวิสัย เช่น ป่วยจนไม่สามารถทำงานได้ , เสื่อม สมรรถภาพลงอย่างมาก ,การทำงานกลายเป็นผิดกฎหมาย ,ขาดคุณสมบัติเรื่องอายุ สัญชาติ ,ไม่มีใบอนุญาต นายจ้าง บอกเลิกสัญญาได้ (นำ ม.387 บททั่วไปมาใช้)

- การส่งมอบงานของนายจ้าง เป็นพ้นวิสัย เช่น งานกลายเป็นผิดกฎหมาย ,หมด สัมปทาน ,เศรษฐกิจทั้งประเทศตกต่ำ ,ภัยธรรมชาติ

2.2 กรณีเป็นความผิดของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง

- การทำงานของลูกจ้างเป็นพ้นวิสัยโดยลูกจ้างต้องรับผิด เช่น ขับรถประมาทจน แขนขาด ,สุราเรื้อรัง

- การส่งมอบงานของนายจ้างเป็นพ้นวิสัย โดยนายจ้างต้องรับผิด เช่น บริหารงาน ล้มเหลว ,ถูกฟ้องล้มละลาย

- ลูกจ้างไร้ฝีมือ เมื่อลูกจ้างแสดงออกโดยแจ้งชัดหรือปริยายว่าตนมีฝีมือ แต่ ปรากฏ ว่าไร้ฝีมือ นายจ้างเลิกจ้างได้

- นายจ้างโอนสิทธิ หรือลูกจ้างโอนหน้าที่ให้บุคคลภายนอกโดยอีกฝ่ายไม่ยินยอม

- ลูกจ้าง กระทำความผิดอันเข้าลักษณะร้ายแรง 4 ลักษณะ (ม.583)

- จงใจขัดคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมาย หรือ ละเลยไม่นำพาต่อคำสั่งเช่นว่า เป็นอาจิณ ต้องเตือนก่อนจึงจะเลิกจ้างได้ ,เวลาเตือนไม่นานเกินไป ,ขัด คำสั่งกรณีร้ายแรง เลิกจ้างได้ทันที

- ละทิ้งการงาน ขาดงานหลายวันโดยไม่มีเหตุอันควร (กรณีถูกเจ้า พนักงานจับกุม มี 2 แนวความเห็น)

- กระทำผิดอย่างร้ายแรง ต่อนายจ้าง บุคคลที่อยู่กับ หรือใกล้ชิดนายจ้าง เช่น จงใจให้นายจ้างเสียหาย ,กระทำผิดอาญา ,ประมาท นายจ้างเสียหาย ร้ายแรง ,ฝ่าฝืนระเบียบคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมาย เช่นทะเลาะวิวาท ,ทำ ร้ายลูกจ้างด้วยกันขณะประชุม ,เล่นการพนันในที่ทำงาน ,หัวหน้าชวน ลูกน้องดื่มสุรา ,ล่วงเกินทางเพศ ,กรณีใช้คุณวุฒิปลอม มี 2 แนว คือ กระทำผิดร้ายแรง หรือ สัญญาเกิดจากกลฉ้อฉลตกเป็นโมฆียะ

- ทำประการอื่นอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดย ถูกต้องและสุจริต เช่น ทุจริต ,ยักยอก ,ฉ้อโกง ,กระทำการแข่งขัน ,หา ประโยชน์อันมิชอบ


อัพเดทล่าสุด