สิทธิ หน้าที่ นายจ้าง ตามกฎหมายแรงงาน
หน้าที่ของนายจ้าง แยกพิจารณาได้ 3 ประการ
1. หน้าที่ตามสัญญาจ้างแรงงาน จ่ายสินจ้างเพื่อตอบแทนการทำงานตลอดเวลาที่ ลูกจ้างทำงานให้ (หากไม่ทำไม่ต้องจ่าย) ยกเว้นมีกฎหมายกำหนดให้จ่าย เช่น วันหยุดประจำสัปดาห์ วันหยุดพักผ่อนประจำปี วันหยุดตามประเพณี ป่วยเท่าที่ป่วย จริงแต่ไม่เกิน30วัน ลาทำหมันโดยมีใบรับรอง ลาคลอดบุตรได้90วันแต่จ่ายไม่เกิน 45 วัน ถูกเรียกพลฝึกวิชาทหารจ่ายไม่เกิน 60 วัน ลูกจ้างเด็กลาฝึกอบรม จ่ายไม่เกิน 30 วัน หากนายจ้างไม่มีงานให้ลูกจ้างทำ เช่นนายจ้างไม่ได้รับอนุญาต ยังต้องจ่าย จนกว่าจะบอกเลิกสัญญา ม พรบ.คุ้มครองแรงงาน หากนายจ้างจำเป็นต้องหยุด กิจการทั้งหมดหรือบางส่วน หรือชั่วคราวโดยมิใช่เหตุสุดวิสัย ต้องจ่ายเงินแก่ลูกจ้าง ไม่น้อยกว่าร้อยละ50ของค่าจ้างในวันทำงาน
2. หน้าที่อื่นๆ ส่งมอบงานให้ลูกจ้าง ดูแลความปลอดภัย ให้สวัสดิการในการทำงาน หน้าที่ตามหลักกฎหมายละเมิด และกฎหมายคุ้มครองแรงงาน ปฏิบัติอย่างเสมอภาค จ่ายเงินสมทบกองทุนเงินทดแทน และกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง กรณีลูกจ้าง 40 คน ขึ้นไป ต้องรับผิดร่วมกับลูกจ้างต่อบุคคลภายนอก สำหรับการทำละเมิดในทางการที่ จ้างของลูกจ้าง ออกใบสำคัญแสดงการทำงานของลูกจ้าง เมื่อสัญญาสิ้นสุด ออกค่า เดินทางขากลับ จ่ายค่าชดเชยเมื่อเลิกจ้าง ค่าชดเชยพิเศษกรณีตามกฎหมาย และมี หน้าที่ตามกฎหมายอื่น เช่น กฎหมายประกันสังคม กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่า ด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทน และวุฒิสภา
3. การบังคับกรณีที่นายจ้างผิดหน้าที่ ถือเป็นการผิดนัดชำระหนี้ ต้องรับผิดดอกเบี้ย และอาจต้องรับผิดในเงินเพิ่มตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน และลูกจ้างสามารถ กำหนดระยะเวลาพอสมควรให้นายจ้างชำระหนี้ หากไม่ชำระ ลูกจ้างบอกเลิกสัญญา ได้ กรณีผิดหน้าที่ถือว่าชำระหนี้ไม่ต้องตามประสงค์เช่น ไม่ให้สวัสดิการตามตกลง เรียกค่าเสียหายได้
สิทธิของนายจ้าง
1. ได้รับแรงงานจากการทำงานของลูกจ้าง อย่างเต็มฝีมือ ตรงตามที่รับรอง
2. ใช้อำนาจบังคับบัญชาตามกฎหมายกำหนด เช่น ไล่ลูกจ้างออก เมื่อลูกจ้างกระทำ ความผิดเข้าลักษณะร้ายแรง ม.583 ป.พ.พ.
3. โอนความเป็นนายจ้างให้บุคคลภายนอกโดยลูกจ้างยินยอม
4. เรียกค่าเสียหายกรณีลูกจ้างออกงานโดยไม่บอกกล่าวล่วงหน้า ตาม ม.582 ลูกจ้าง ทำงานบกพร่องจนเสียหาย ม.215
5. เรียกให้ลูกจ้างใช้คืนค่าเสียหาย กรณีลูกจ้างทำละเมิดในทางการที่จ้างต่อ บุคคลภายนอก
6. สิทธิตามกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ในการจัดตั้งองค์กรทางแรงงาน
7. บอกเลิกสัญญาจ้างแรงงานตาม ม.387 ,389 ,577,578,582,583 ตาม ป.พ.พ.