การเกิด สัญญาจ้างแรงงาน
การเกิดของสัญญาจ้างแรงงาน
1.1 การแสดงเจตนา เสนอสนองต้องตรงกัน (วาจา,หนังสือ) ต้องเป็นการแสดงเจตนาต่อนายจ้างผู้มี อำนาจ
1.2 สาระสำคัญของการแสดงเจตนา ม.575 ป.พ.พ. กำหนด 2 ประการ
- ลูกจ้างตกลงทำงานให้แก่นายจ้าง
- นายจ้างตกลงจ่ายสินจ้างแก่ลูกจ้างตลอดระยะเวลาที่ลูกจ้างทำงาน
- ถ้าไม่มีสินจ้า ไม่เป็นสัญญาจ้างแรงงาน แต่อาจเป็นสัญญาอย่างอื่น เช่น ตัวแทน
1.3 ขอบเขตของการแสดงเจตนา
1.3.1 ไม่ขัดหลักสุจริต (ม.5 ป.พ.พ.)
1.3.2 ไม่ยกเว้นการนำบทกฎหมายว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมมาใช้ ทั้งหมดหรือบางส่วน
1.3.3 ไม่มี วัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย ไม่พ้นวิสัย ขัดต่อความสงบ เรียบร้อย
หรือศีลธรรมอันดี (ม.150)
1.3.4 ไม่เกิดจาการสำคัญผิดในสาระสำคัญ (ม.156)
1.3.5 อยู่ในขอบเขตกฎหมายคุ้มครองแรงงาน ซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของ
ประชาชน
1.3.6 ไม่กำหนดเงื่อนไขการแสดงเจตนา ให้ขัดต่อ ม.20 พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ คือ ห้ามทำ สัญญา
ขัดแย้งกับข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง เว้นเป็นคุณยิ่งกว่า
1.4 ความบกพร่องของการแสดงเจตนา
1.4.1 กรณีทำให้สัญญาเป็นโมฆะ – ขัดหลักสุจริต (ม.5) ขัดความสงบเรียบร้อย (ม.150) สำคัญผิดในสาระสำคัญ (ม.156) ฝ่าฝืน กฎหมายคุ้มครองแรงงาน ซึ่งทั้งหมด ถือว่า ไม่เคยมี
สัญญาจ้างแรงงานมาก่อน ให้นำหลัก ลาภมิควรได้มาใช้
1.4.2 กรณีที่ทำให้สัญญาเป็นโมฆียะ – สำคัญผิดในคุณสมบัติของบุคคล ทรัพย์ (ม.151)
ฉ้อฉล ข่มขู่ (ม.159.164) ความสามารถของบุคคล (ม.153) หากมีการเพิกถอน ก็เป็นโมฆะมา
แต่ ต้น