นายจ้าง ตามสัญญาจ้างแรงงาน จะมีสิทธิ ดังนี้


875 ผู้ชม


นายจ้าง ตามสัญญาจ้างแรงงาน จะมีสิทธิ ดังนี้




สิทธิของนายจ้าง

นายจ้าง ตามสัญญาจ้างแรงงาน จะมีสิทธิ ดังนี้  ได้รับแรงงานหรือผลงานจากลูกจ้างที่ต้องทำงานอย่างเต็มที่และถูกต้องตรงตามที่ตกลงกันไว้ในสัญญา (มาตรา 215 และมาตรา 575 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์) หรืออย่างเต็มฝีมือตรงตามที่รับรองโดยแสดงออกชัดหรือโดยปริยายก็ตาม (มาตรา 578)

นายจ้าง ตามสัญญาจ้างแรงงาน จะมีสิทธิ ดังนี้  ใช้อำนาจบังคับบัญชา โดยการออกคำสั่งหรือ ระเบียบข้อบังคับหรือกำหนดวินัยในการทำงานของลูกจ้าง และลงโทษได้เมื่อมีการฝ่าฝืนคำสั่ง ระเบียบ ข้อบังคับ หรือวินัยในการทำงาน (มาตรา 583) แต่คำสั่งหรือระเบียบข้อบังคับนั้นจะต้องเกี่ยวกับการทำงาน หรือไม่ขัดต่อสัญญาจ้างแรงงาน หรือต่อข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ถ้าไม่เกี่ยวกับการทำงาน ลูกจ้างไม่ต้องปฏิบัติตาม นอกจากนั้นคำสั่งหรือระเบียบดังกล่าว ต้องเป็นคำสั่งหรือระเบียบอันชอบด้วยกฎหมาย ในทางกลับกันนายจ้างก็มีสิทธิพิจารณาให้ความดีความชอบแก่ลูกจ้างได้

นายจ้าง ตามสัญญาจ้างแรงงาน จะมีสิทธิ ดังนี้  โอนความเป็นนายจ้างไปยังบุคคลภายสนอกได้ด้วยความยินยอมของลูกจ้าง (มาตรา 577)

นายจ้าง ตามสัญญาจ้างแรงงาน จะมีสิทธิ ดังนี้  เรียกค่าเสียหายจากลูกจ้าง เมื่อลูกจ้างนั้นทำงานไม่ถูกต้องหรือบกพร่อง หรือไม่ยอมทำงาน (มาตรา 215 หรือ 213 แล้วแต่กรณี, โดยอายุความฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากการผิดสัญญาคือ 10 ปี (มาตรา 193/30 และฏีกา 109/2532) หรือเมื่อลูกจ้างจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำให้เกิดความเสียหายแก่นายจ้าง (มาตรา 420 และฎีกาที่ 3140/2530) หรือจากการที่ลูกจ้างลาออกโดยไม่ได้บอกกล่าวล่วงหน้า (มาตรา 582) หรือ จากการที่ลูกจ้างกระทำการเป็นตัวแทนโดยประมาทเลินเล่อ หรือไม่ทำการเป็นตัวแทน หรือทำการโดยปราศจากอำนาจหรือนอกเหนืออำนาจ แล้วทำให้เกิดความเสียหายขึ้น (มาตรา 812)

นายจ้าง ตามสัญญาจ้างแรงงาน จะมีสิทธิ ดังนี้  ไล่เบี้ยโดยเรียกให้ชดใช้คืนค่าเสียหายเอาจากลูกจ้างที่ไปกระทำละเมิดในทางการที่จ้างต่อบุคคลภายนอก (มาตรา 426) ซึ่งนายจ้างได้จ่ายค่าเสียหายแทนลูกจ้างให้แก่บุคคลดังกล่าวไป (มาตรา 425)

นายจ้าง ตามสัญญาจ้างแรงงาน จะมีสิทธิ ดังนี้  บอกเลิกสัญญาหรือเลิกจ้างตามกฎหมายลักษณะแพ่งทั่วไปและตามกฎหมายแพ่งลักษณะจ้างแรงงาน (มาตรา 387, 389, 577, 578, 582, 583)

นายจ้าง ตามสัญญาจ้างแรงงาน จะมีสิทธิ ดังนี้  สิทธิอื่นๆ ตามกฎหมายแรงงาน ได้แก่สิทธิ รวมตัวกันเป็นองค์กรฝ่ายนายจ้าง (มาตรา 54, 112 และ 119 แห่ง พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 )สิทธิแจ้งข้อเรียกร้องเกี่ยวกับสภาพการจ้าง เจรจาต่อรอง เพื่อทำหรือเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง (มาตรา 13-19) และสิทธิปิดงาน (มาตรา 22 วรรคท้าย

เนื้อหา  : รศ.ดร.วิจิตรา  วิเชียรชม


อัพเดทล่าสุด