การเกิดของ สัญญาจ้างแรงงาน


915 ผู้ชม


การเกิดของ สัญญาจ้างแรงงาน




โดยทั่วไป การเกิดของสัญญาจ้างแรงงานอาจเกิดขึ้นโดยชัดเจน หรือชัดแจ้ง หรือเกิดขึ้นโดยปริยายก็ได้ การเกิดสัญญาจ้างแรงงานโดยชัดแจ้งอาศัยหลักทั่วไปแห่งกฎหมายเกี่ยวกับนิติกรรมและสัญญา คือ มีคำเสนอและคำสนองที่ต้องตรงกัน มุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ต่อกัน ตาม มาตรา 149 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ทั้งนี้เพราะกฎหมายแพ่งมิได้ใช้บังคับในเรื่องแบบของสัญญาจ้างแรงงาน สัญญาจ้างแรงงานอาจเกิดขึ้นโดยปริยายได้ โดยการทำงานให้นายจ้าง ซึ่งพฤติการณ์นั้นไม่อาจคาดหมายได้ว่างานนั้นเป็นงานที่ทำให้เปล่า ต้องถือว่านายจ้างมีคำมั่นจะให้สินจ้าง (มาตรา 576 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์) อันถือได้ว่า เป็นการเกิดสัญญาจ้างแรงงานโดยปริยาย

นอกจากนั้น สัญญาจ้างแรงงานอาจเกิดขึ้นโดยผลของกฎหมาย ถ้าได้ทำสัญญากันโดยกำหนดระยะเวลาการจ้างแน่นอน เมื่อระยะเวลาสิ้นสุดลงโดยลูกจ้างยังคงทำงานอยู่ต่อไปและนายจ้างก็รู้แต่ไม่ทักท้วง กฎหมายให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าคู่สัญญาได้ทำสัญญากันใหม่โดยความอย่างเดียวกับสัญญาเดิม (มาตรา 581) อย่างไรก็ตาม สัญญาจ้างแรงงานที่เกิดขึ้น ก็จะต้องมีสาระสำคัญที่แสดงให้เห็นว่า เป็นสัญญาจ้างแรงงานด้วย  นั่นก็คือ การกำหนดตำแหน่งหรือ หน้าที่การงาน โดยลูกจ้างตกลงที่จะทำงานให้แก่นายจ้าง และการกำหนดค่าจ้างเงินเดือนของลูกจ้าง โดยนายจ้างตกลงให้สินจ้างหรือค่าจ้างตลอดเวลาที่ลูกจ้างทำงานให้  หรือโดยกฎหมายให้ถือเอาโดยปริยายว่า นายจ้างมีคำสั่งจะให้สินจ้างหรือค่าจ้าง (มาตรา 576) ถ้าหากมีการทำงานให้โดยไม่มีสินจ้างหรือค่าจ้าง ก็ไม่ใช่สัญญาจ้างแรงงาน  แต่คู่สัญญา อาจมีความสัมพันธ์กันในฐานะอื่น เช่น ตัวการตัวแทน  หรือ หุ้นส่วน เป็นต้น

เนื้อหา  : รศ.ดร.วิจิตรา  วิเชียรชม


อัพเดทล่าสุด