แนวคิดพื้นฐาน ของการเกิด กฎหมายแรงงานไทย
แนวคิดรวมยอดพื้นฐานรวบยอด มีด้วยกัน 3 ประการ ที่สำคัญ ดังนี้
- เพื่อให้ลูกจ้างได้รับการปฏิบัติอย่างมีมนุษยธรรมและอย่างเป็นธรรม เมื่อมีการฝ่าฝืนเจตนารมณ์ดังกล่าว ก็ต้องมีมาตรการลงโทษหรือบังคับโดยรัฐ เพื่อให้การกดขี่ทางแรงงานหรือสภาพการใช้แรงงานที่เลวร้าย มีลดน้อยลงหรือหมดสิ้นไปในที่สุด
- เพื่อรองรับต่อปัญหาการขยายตัวในความเจริญก้าวหน้าทางอุตสาหกรรม พยายามให้หลักประกันแก่ลูกจ้างในทางเศรษฐกิจเพื่อให้สามารถเป็นได้ทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค โดยสามารถนำเงินค่าจ้างแรงงานซึ่งควรจะได้รับอย่างเหมาะสมและเป็นธรรมนั้นไปซื้อปัจจัยในการดำรงชีพได้และเมื่อลูกจ้างมีกำลังซื้อ ก็จะส่งผลให้มีการขยายตัวในการลงทุนผลิตสินค้าหรือผลผลิตมากขึ้น ทำให้มีการจ้างแรงงานมากขึ้น เศรษฐกิจของประเทศ ก็จะดีขึ้น อันจะเป็นผลให้สภาพความเป็นอยู่ของประชาชนในสังคมดีขึ้นตามไปด้วย
- เพื่อให้เกิดความสงบในทางอุตสาหกรรมหรือธุรกิจพาณิชย์ และคุ้มครองป้องกันรักษาผลประโยชน์ส่วนรวมในทางสังคมโดยกำหนดมาตรการในการทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างด้วยการเจรจาต่อรองเพื่อให้เป็นที่ตกลงกันหรือมาตรการอื่นๆ เพื่อระงับข้อพิพาทแรงงานระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง มิให้กระทบกระเทือนต่อเศรษฐกิจของประเทศหรือต่อประชาชน โดยส่วนรวมมากเกินไปจากข้อขัดแย้งทางแรงงานที่เกิดขึ้นระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง
บทความ : รศ.ดร.วิจิตรา วิเชียรชม a