ข้อพิจารณาในการวางแผนการวิเคราะห์งาน
ข้อพิจารณาในการวางแผนการวิเคราะห์งาน
1. ต้องพิจารณาเพื่อให้ทราบถึงจุดมุ่งหมายอันแท้จริงของวัตถุประสงค์ในการวิเคราะห์งาน
2. ต้องกำหนดขอบเขตของการสำรวจวิเคราะห์ว่ามีขอบเขตกว้าง แคบเพียงไร เช่น จะศึกษาเพียงหน่วยงานเดียว หรือศึกษาทั้งหมดในองค์การ เป็นต้น
3. ต้องเลือกและกำหนดวิธีการศึกษาข้อมูล ตลอดจนเทคนิคการเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิเคราะห์งานนั้นๆ
4. ต้องกำหนดระยะเวลาสำหรับปฏิบัติงานเอาไว้ว่าจะเริ่มดำเนินงานเมื่อใด และจะสำเร็จหรือสิ้นสุดเมื่อใด
5. ต้องประมาณการเครื่องมือ เครื่องใช้ และงบประมาณที่ใช้ในการสำรวจในกรณีที่จำเป็นต้องเชิญบุคคลที่ทรงคุณวุฒิมาร่วมสนทนาหรือต้องใช้เครื่องมือพิเศษอันจำเป็นสำหรับการสำรวจจะได้เตรียมการไว้ด้วย
6. นักวิเคราะห์งานต้องเตรียมงานดังต่อไปนี้
6.1. ศึกษาถึงประเภทและขอบเขตของข้อมูล ซึ่งเกี่ยวกับการปฏิบัติงานที่จะต้องวิเคราะห์ โดยศึกษาพิจารณาจาก
6.1.1. เอกสารต่างๆ และรายงานการวิเคราะห์งานในตำแหน่งที่เกี่ยวข้อง
6.1.2. รายงานการปฏิบัติงานโดยการเปรียบเทียบระหว่างองค์การต่างๆที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน
6.1.3. เอกสารและเรื่องราวที่จัดพิมพ์โดยองค์การตามสายงานที่เกี่ยวข้องรวมทั้งสมาคมที่อยู่ในสาขาวิชาชีพนั้นๆ
6.1.4. การสัมภาษณ์จากบุคคลในองค์การหรือหน่วยงานนั้นๆ
6.2. ศึกษาส่วนประกอบต่างๆของการจัดองค์การ เช่น
6.2.1. วัตถุประสงค์
6.2.2. นโยบายปัจจุบันทุกด้าน
6.3. ศึกษาถึงหลักการกฎเกณฑ์ขององค์การ ระเบียบข้อบังคับและวิธีการจัดการ โดยพิจารณาจากประมวลระเบียบข้อบังคับที่ใช้และสิ่งอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์
6.4. การตรวจสอบโดยละเอียดถี่ถ้วนในแง่กฎหมาย เช่น
6.4.1. ศึกษาทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับงาน
6.4.2. หากจำเป็นควรรับฟังและปรึกษานักกฎหมาย
6.5. ศึกษาจากแผนภูมิขององค์การ
7. ศึกษาวิเคราะห์และปรับปรุงแผนการปฏิบัติสำหรับการวิเคราะห์รายละเอียดโดยพิจารณา
7.1. ศึกษาและประเมินผลในแผนการปฏิบัติที่ได้ปฏิบัติมาแล้วว่ามีผลดีต่อการวิเคราะห์อย่างไร
7.2. ไม่ควรกำหนดตำแหน่งที่ไม่รู้จัก เพราะจะทำให้เกิดปัญหาในด้านการเก็บรวบรวมข้อมูล
8. หากจำเป็นควรจัดตั้งหน่วยงานเฉพาะขึ้นปฏิบัติการวิเคราะห์งาน เพื่อให้สัมพันธ์สอดคล้องกับงานขององค์การ
ที่มาจาก : การวิเคราะห์งาน โดย สุภาพร พิศาลบุตร