กฎหมายแรงงาน : การหักค่าตอบแทนในการทำงาน
กฎหมายแรงงาน : การหักค่าตอบแทนในการทำงาน
มาตรา 76 ห้ามมิให้นายจ้างหักค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด เว้นแต่เป็นการหักเพื่อ
(1) ชำระภาษีเงินได้ตามจำนวนที่ลูกจ้างต้องจ่ายหรือชำระเงินอื่นตามที่มีกฎหมายบัญญัติไง้
(2) ชำระค่าบำรุงสหภาพแรงงานตามข้อบังคับของสหภาพแรงาน
(3) ชำระหนี้สินสหกรณ์ออมทรัพย์ หรือสหกรณ์อื่นที่มีลักษณะเดียวกับสหกรณ์ออมทรัพย์ หรือหนี้ที่เป็นไปเพื่อสวัดิการที่เป็นประโยชน์แก่ลูกจ้างฝ่ายเดียวโดยได้รับความยินยอมล่วงหน้าจากลูกจ้าง
(4.) เป็นเงินประกันตามมาตรา 10 หรือชดใช้ค่าเสียหายให้แก่นายจ้าง ซึ่งลูกจ้างได้กระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง โดยได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง
(5) เป็นเงินสะสมตามข้อตกลงเกี่ยวกับกองทุนเงินสะสม
การหักตาม (2) (3) (4) (5) ในแต่ละกรณีห้ามหักเกินร้อยละสิบ และจะหักรวมกันได้ไม่เกินหนึ่งในห้าของเงินที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับตามกำหนดเวลาการจ่ายตามมาตรา 70 เว้นแต่ได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง
บทบัญญัติข้างต้นห้ามนายจ้างหักค่าตอบแทนในการทำงานซึ่งหมายถึงค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด แต่ก็มีข้อยกเว้นไว้ว่าให้หักได้ทั้งหมด 5 ประเภท
ประเภทแรก หักเพื่อชำระภาษีเงินได้ นายจ้างจะหักเท่าใดก็ได้และไม่จำเป็นต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง การหักเพื่อชำระเงินอื่นตามที่มีกฎหมายบัญญัติไว้ เช่น ห้ามหักเพื่อเป็นเงินสบทบเข้ากองทุนประกันสังคม หรือหักเพื่อชำระเป็นเงินสะสม เข้ากองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างตามกฎหมาย นี้ เป็นต้น การหักประเภทแรกนี้ไม่ต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างและกฎหมายไม่ได้ระบุจำนวนเงินที่ได้หักได้ไว้
ประเภทสอง หักเพื่อชำระค่าบำรุงสหภาพแรงงานตามข้อบังคับของสหภาพแรงงานโดยปกติลูกจ้างที่เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานจะต้องชำระค่าบำรุงให้แก่สหภาพแรงงงาน ค่าบำรุงของสหภาพแรงงานนั้น มีวิธีการชำระ 2 วิธีการคือ ลูกจ้างนำค่าบำรุงนั้นไปส่งให้แก่สหภาพงานเอง และขอให้นายจ้างหักจากค่าจ้งของลูกจ้างส่งให้แก่นายจ้าง (ภาษาอังกฤษ เรียกว่า Checkoff) การหักค่าจ้างเพื่อชำระค่าบำรุงสหภาพแรงงานนั้น กฎหมายไม่ได้ระบุว่าต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างหรือไม่ แต่โดยปกติแล้วก็จะต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างซึ่งเป็นสมาชิกสหาภาพแรงงานด้วย จำนวนเงินที่หักก็ต้องไม่เกินร้อยละสิบ
ประเภทที่สาม การหักเพื่อชำระหนี้สินสหกรณ์ออมทรัพย์หรือสหกรณ์ที่มีลักษณะเดียวกับสหกรณ์ออมทรัพย์ ในกรณีที่ลูกจ้างมีหนี้สิน ไม่ว่าจะเป็นเงินที่ส่งให้แก่สหกรณ์ออมทรัพย์หรือกู้หนี้ยืมสินกับสหกรณ์ออมทรัพย์ ถ้าลูกจ้างยินยอมให้หักก็หักได้ แต่หักได้ไม่เกินร้อยละสิบของค่าจ้าง ส่วนการหักเพื่อการชำระหนี้ที่เป็นไปเพื่อสวัสดิการที่เป็นประโยชน์แก่ลูกจ้างฝ่ายเดียว หมายถึง สวัสดิการใดๆ ก็ตามที่นายจ้างให้แก่ลูกจ้างโดยนายจ้างไม่ได้รับประโยชน์ตอบแทนเลย เช่น นายจ้างให้ลูกจ้าง กู้ยืมเงินและให้ลูกจ้างผ่อนส่งโดยนายจ้างมิได้คิดดอกเบี้ยแม้สตางค์เดียว ถ้านายจ้างได้ให้ลูกจ้างกู้ยืมเงิน แต่ได้คิดดอกเบี้ยในอัตราที่ต่ำกว่าท้องตลาดไม่ว่าจะต่ำมากน้อยเพียงใดก็ต้องถือว่าไม่ใช่หนี้ที่เป็นไปเพื่อสวัสดิการที่เป็นประโยชน์แกลูกจ้างฝ่ายเดียว การหักหนี้เช่นว่านี้จะต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างก่อนจึงจะหักได้และหักได้ไม่เกินร้อยละสิบ
ประเภทที่สี่ การหักเพื่อเป็นเงินประกันการทำงานตามมาตรา 10 ซึ่งจะหักได้ก็ต่อเมื่อเป็นลูกจ้างที่ทำงานเกี่ยวกับการเงินหรือทรัพย์สินของนายจ้างตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมประกาศกำหนดว่าลูกจ้างประเภทนั้นนายจ้างเรียกเงินประกันได้ส่วนการหักเพื่อชำระค่าเสียหายให้แก่นายจ้างนั้น ลูกจ้างต้องได้กระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงก่อให้เกิดความเสียหายแก่นายจ้าง ไม่ว่าการหักเพื่อเป็นเงินประกันก็ดี หรือหักเงินเพื่อชดใช้ความเสียหายให้แก่นายจ้างก็ดี จะต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างและหักได้ไม่เกินร้อยละ 10 ของค่าจ้าง
ประเภทที่ห้า การหักเพื่อเป็นเงินสะสมตามข้อตกลงเกี่ยวกับกองทุนและสะสมซึ่งปกติแล้วลูกจ้างก็ต้องให้ความยินยอมในการหักอยู่แล้วและหักได้ไม่เกินร้อยละ 10 ของจำนวนค่าตอบแทนดังกล่าวข้างต้น
กฎหมายบัญญัติไว้ในวรรคสองด้วยว่า การหักเงินทั้งหมดนั้นหักได้แต่ละข้อไม่เกินร้อยละ 10 แต่รวมแล้วไม่เกินร้อยละ 20 อย่างไรก็ตาม ประโยคสุดท้ายในมาตรานี้ก็ทำให้ลูกจ้างหรือนายจ้างสบายใจก็คือ “เว้นแต่ได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง” นั้นแสดงว่าถ้าลูกจ้างยินยอมแล้วจะหักเกินร้อยละ 10 ก็ได้ หักเกินร้อยละ 20 ก็ได้ ต้องจัดทำเป็นหนังสือให้ลูกจ้างลงลายมือชื่อในการให้ความยินยอมหรือมีข้อตกลงไว้ให้ชัดเจนเป็นการเฉพาะ
ข้อมูลอ้างอิง : คำอธิบายกฎหมายแรงงาน พิมพ์ครั้งที่ 6 แก้ไขเพิ่มเติม
โดย : ศาสตราจารย์เกษมสันต์ วิลาวรรณ