กฎหมายแรงงาน : กำหนดเวลาจ่ายค่าตอบแทน


923 ผู้ชม


กฎหมายแรงงาน : กำหนดเวลาจ่ายค่าตอบแทน




กฎหมายแรงงาน : กำหนดเวลาจ่ายค่าตอบแทน

 

 

 

 

มาตรา 70  ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุดให้ถูกต้องและตามกำหนดเวลาดังต่อไปนี้

(1)  ในกรณีที่มีการคำนวณค่าจ้างเป็นรายเดือน รายวัน  รายชั่วโมงหรือเป็นระยะเวลาอย่างอื่นที่ไม่เกินหนึ่งเดือน หรือตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย ให้จ่ายเดือนหนึ่งไม่น้อยกว่าหนึ่งครั้ง เว้นแต่จะมีการตกลงกันเป็นอย่างอื่นที่เป็นประโยชน์แก่ลูกจ้าง

(2)  ในกรณีที่มีการคำนวณค่าจ้าง นอกจาก (1) ให้จ่ายตามกำหนดเวลาที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกัน

(3)  ค่าล่วงเวลา คาทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุดให้จ่ายเดือนหนึ่งไม่น้อยกว่าหนึ่งครั้งในกรณีที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้าง ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด ตามที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับ ให้แก่ลูกจ้างภายในสามวันนับแต่วันที่เลิกจ้าง

                บทบัญญัติข้างต้นเป็นเรื่องกำหนดระยะเวลาการจ่ายค่าตอบแทนการทำงาน ซึ่งกรณีปกติจะจ่ายเดือนละ 1 ครั้ง จะเป็นวันใดที่แน่นอนในรอบเดือนก็ได้ (ไม่ควรจ่ายในวันสิ้นเดือน หรือวันใกล้สิ้นเดือนเนื่องจากทางราชการและสถานประกอบการส่วนใหญ่จ่ายค่าตอบแทนในวันดังกล่าว ทำให้เกิดปัญหาเรื่องการถอนเงิน ราคาสินค้า และการจราจร) การที่นายจ้างจะจ่ายค่าตอบแทนในวันใดของเดือนนั้น นายจ้างต้องกำหนดให้ลูกจ้างทราบในข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานตามมาตรา 108(4) เมื่อกำหนดวันใดแล้ว นายจ้างต้องจ่ายให้ตรงตามกำหนดนั้น

ในกรณีที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างและยังมีเงินที่ต้องจ่ายแก่ลูกจ้าง นายจ้างจะต้องจ่ายเงินค่าตอบแทนการทำงาน ภายใน 3 วันนับแต่วันที่เลิกจ้าง จะรอไปจ่ายในวันที่กำหนดจ่ายค่าจ้างตามปกติไม่ได้

การจ่ายค่าตอบแทนการทำงานที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายดังกล่าวข้างต้น นายจ้างมีความผิดและมีโทษทางอาญาตามมาตรา 144 และต้องจ่ายดอกเบี้ยหรือเงินเพิ่มตามาตรา 9 ด้วย

ข้อมูลอ้างอิง : คำอธิบายกฎหมายแรงงาน  พิมพ์ครั้งที่ 6 แก้ไขเพิ่มเติม

โดย : ศาสตราจารย์เกษมสันต์ วิลาวรรณ

อัพเดทล่าสุด