กฎหมายแรงงาน : การจ่ายเงินเพื่อทดแทนกรณีนายจ้างมิได้จัดวันหยุด


1,288 ผู้ชม


กฎหมายแรงงาน : การจ่ายเงินเพื่อทดแทนกรณีนายจ้างมิได้จัดวันหยุด




กฎหมายแรงงาน : การจ่ายเงินเพื่อทดแทนกรณีนายจ้างมิได้จัดวันหยุด

  

  

  

มาตรา 64  ในกรณีที่นายจ้างมิได้จัดให้ลูกจ้างหยุดงาน หรือจัดให้ลูกจ้างหยุดงานน้อยกว่าที่กำหนดไว้ตามมาตรา 28 มาตรา 29 และมาตรา 30 ให้นายจ้างจ่ายค่าทำงานในวันหยุดและค่าล่วงเวลาในวันหยุดให้แก่ลูกจ้างตามอัตราที่กำหนดไว้มาตรา 62 และมาตรา 63 เสมือนว่านายจ้างให้ลูกจ้างทำงานในวันหยุด

เมื่อกฎหมายกำหนดบังคับให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างหยุดประจำสัปดาห์ หยุดตามประเพณี หรือหยุดพักผ่อนประจำปี ก็คงจะมีนายจ้างเป็นจำนวนมากที่ไม่ได้จัดหรือไม่ได้กำหนดให้ลูกจ้างมี วันหยุดครบตามกฎหมายดังกล่าวข้างต้น มาตรานี้กำหนดทางแก้ไขว่าเมื่อนายจ้างไม่ปฏิบัติตามกฎหมายจะก่อให้เกิดผลอย่างไรบ้าง ถ้านายจ้างไม่ได้จัดให้ลูกจ้างหยุดงานประจำสัปดาห์ หยุดตามประเพณี หรือหยุดพักผ่อนประจำปี นายจ้างก็จะต้องจ่ายค่าทำงานในวันหยุดให้เสมือนหนึ่งว่านายจ้างได้จัดให้หยุดแล้วและสั่งให้ลูกจ้างนั้นมาทำงานในวันหยุดนั้น ซึ่งถ้าให้ลูกจ้างทำงานในช่วงเวลานั้นเกินเวลาทำงานปกติด้วยก็ต้องจ่ายค่าล่วงเวลา ในวันหยุดด้วยตามอัตราในมาตรา 62 และมาตรา 63 ให้แก่ลูกจ้างนั้นด้วย


---------------

ประโยชน์ทดแทนกรณีบำเหน็จชราภาพ

  1. กรณีที่มีการจ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 12 เดือนขึ้นไป ให้จ่ายเงินบำเหน็จชราภาพ มีจำนวนเท่ากับจำนวนเงินสมทบที่ผู้ประกันตนและนายจ้างจ่ายเงินสมทบ เพื่อการจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ พร้อมผลประโยชน์ตอบแทน ตามที่สำนักงานประกันสังคมประกาศกำหนด
  2. กรณีผู้รับเงินบำนาญชราภาพถึงแก่ความตายภายใน 60 เดือน นับแต่เดือนที่มีสิทธิได้รับเงินบำนาญชราภาพให้จ่ายเงินบำเหน็จชราภาพจำนวน 10 เท่าของเงินบำนาญชราภาพรายเดือนที่ได้รับคราวสุดท้ายก่อนถึงแก่ความตาย

เงื่อนไขการเกิดสิทธิกรณีบำนาญชราภาพ

  1. จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า180 เดือนไม่ว่าระยะเวลา 180 เดือนจะติดต่อกันหรือไม่ก็ตาม
  2. มีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์
  3. ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง

เงื่อนไขการเกิดสิทธิกรณีบำเหน็จชราภาพ 

  1. จ่ายเงินสมทบไม่ครบ 180 เดือน
  2. ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง
  3. มีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ หรือเป็นผู้ทุพพลภาพ หรือถึงแก่ความตาย

ประโยชน์ทดแทนกรณีบำนาญชราภาพ

  1. กรณีจ่ายเงินสมทบมาแล้ว ไม่น้อยกว่า 180 เดือน มีสิทธิได้รับเงินบำนาญชราภาพเป็นรายเดือนใน อัตราร้อยละ 20    ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้ายที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบก่อนความเป็นผู้ประกันตนสิ้น สุดลง  
  2. กรณีที่มีการจ่ายเงินสมทบเกิน 180 เดือน ให้ปรับเพิ่มอัตราบำนาญชราภาพตามข้อ 1 ขึ้นอีกในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อ  ระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบทุก 12 เดือน สำหรับระยะเวลาที่จ่ายเงินสมทบเกินกว่า 180 เดือน

ประโยชน์ทดแทนกรณีบำเหน็จชราภาพ

  1. กรณีที่มีการจ่ายเงินสมทบต่ำกว่า 12 เดือน ให้จ่ายเงินบำเหน็จชราภาพ มีจำนวนเท่ากับจำนวนเงินสมทบที่ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบ เพื่อการจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ กรณีที่มีการจ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 12 เดือนขึ้นไป ให้จ่ายเงินบำเหน็จชราภาพ มีจำนวนเท่ากับจำนวนเงินสมทบที่ผู้ประกันตนและนายจ้างจ่ายเงินสมทบ เพื่อการจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ พร้อมผลประโยชน์ตอบแทน ตามที่สำนักงานประกันสังคมประกาศกำหนด

  2. กรณีผู้รับเงินบำนาญชราภาพถึงแก่ความตายภายใน 60 เดือน นับแต่เดือนที่มีสิทธิได้รับเงินบำนาญชราภาพให้จ่ายเงินบำเหน็จชราภาพจำนวน 10 เท่าของเงินบำนาญชราภาพรายเดือนที่ได้รับคราวสุดท้ายก่อนถึงแก่ความตาย

หลักฐานที่ต้องใช้เพื่อขอรับประโยชน์ทดแทน 

แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพ (สปส. 2-01)

  1.  
    • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
    • สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ประกันตนและของทายาทผู้มีสิทธิ (กรณีผู้รับประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพถึงแก่ความตาย)
    • ใบมรณะบัตรพร้อมสำเนา (กรณีผู้รับประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพถึงแก่ความตาย)
    • สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารหน้าแรก ซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชี (กรณีขอรับเงินทางธนาคาร) ผ่านทางบัญชีธนาคารของผู้ประกันตน 9 ธนาคาร ได้แก่ ธนาคารกรุงไทย จำกัด(มหาชน) ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด(มหาชน) ธนาคารกรุงเทพ จำกัด(มหาชน) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ธนาคารกสิกรไทย จำกัด(มหาชน) ธนาคารทหารไทย จำกัด(มหาชน) ธนาคารธนชาต  จำกัด (มหาชน)   ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย  ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด(มหาชน)

ขั้นตอนการขอรับประโยชน์ทดแทน

หลักเกณฑ์ที่จะทำให้ท่านมีสิทธิ คือ 

  1. ผู้ประกันตน / ทายาทผู้มีสิทธิ ต้องกรอกแบบ สปส. 2-01 พร้อม ลงลายมือชื่อ และนำมายื่นที่สำนักงานประกันสังคมจังหวัด / สำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่ หรือยื่นขอรับทางไปรษณีย์โดยมีหลักฐานครบถ้วน
  2. เจ้าหน้าที่ตรวจหลักฐานและพิจารณา
  3. สำนักงานประกันสังคมมีหนังสือแจ้งผลการพิจารณา
  4. พิจารณาสั่งจ่าย
    • เงินสด / เช็ค (ผู้ประกันตน / ผู้มีสิทธิมารับด้วยตนเองหรือมอบอำนาจให้บุคคลอื่นมารับแทน)
    • ส่งธนาณัติให้ผู้ประกันตน
    • โอนเข้าบัญชีธนาคารตามบัญชีของผู้ขอรับประโยชน์ทดแทนหมายเหตุ : เงินบำนาญชราภาพ จ่ายเป็นรายเดือน เงินบำเหน็จชราภาพ จ่ายครั้งเดียว
      1. ประโยช์ทดแทนกรณีบำเหน็จชราภาพ (สำหรับผู้ประกันตนที่จ่ายเงินสมทบกรณีชราภาพไม่ถึง 180 เดือน)

 กรณีที่จ่ายเงินสมทบกรณี ชราภาพ ไม่ถึง 12 เดือน จะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพมีจำนวนเท่ากับจำนวนเงินสมทบ ที่ผู้ประกันตนจ่ายสมทบ
               ประกันตนอายุ 55 ปี และสิ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง ขณะส่งเงินสมทบได้ 10 เดือน ประโยชน์ทดแทน
กรณีบำเหน็จชราภาพจะได้รับ 300 x 10 = 3,000 บาท2.2 กรณีที่จ่ายเงินสมทบกรณีชราภาพ ตั้งแต่ 12 เดือนขึ้นไป จะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพมีจำนวนเท่ากับจำนวนเงินสมทบ ที่ผู้ประกันตนและนายจ้างนำส่งพร้อมผลประโยชน์ตอบแทน ตามที่สำนักงานประกันสังคมประกาศกำหนด
ตัวอย่าง    ผู้ประกันตนอายุ 55 ปี สิ้นสุดสภาพการเป็นลูกจ้างวันที่ 28 พฤศจิกายน 2547 ยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทน ในวันที่ 10 ธันวาคม 2547 เจ้าหน้าที่วินิจฉัยในวันเดียวกัน โดยมีรายการนำส่งเงินสมทบ กรณีชราภาพของผู้ประกันตน ดังนี้

ข้อมูลเพิ่มเติม https://www.sso.go.th/wpr/category.jsp?webId=0&cat=606

อัพเดทล่าสุด