กฎหมายแรงงาน : การจ่ายค่าล่วงเวลา


961 ผู้ชม


กฎหมายแรงงาน : การจ่ายค่าล่วงเวลา




กฎหมายแรงงาน : การจ่ายค่าล่วงเวลา

 

มาตรา 61  ในกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาในวันทำงานให้นายจ้างจ่ายค่าล่วงเวลาให้แก่ลูกจ้างในอัตราไม่น้อยกว่าหนึ่งเท่าครึ่งของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำ หรือไม่น้อยกว่าหนึ่งเท่าครึ่งของอัตราค่าจ้างต่อหน่วยในวันทำงานตามจำนวนผลงานที่ทำได้สำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย

เมื่อใดก็ตามที่นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาในวันทำงานปกติ นายจ้างจะต้องจ่ายค่าล่วงเวลาให้ลูกจ้างในอัตราไม่น้อยกว่าหนึ่งเท่าครั้งของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำ ดังนั้น ค่าล่วงเวลาก็ต้องจ่ายโดยถือชั่วโมงทำงานของลูกจ้างเป็นหลักสำหรับลูกจ้างที่ได้รับค่าจ้างตามระยะเวลา เมื่อเป็นเช่นนี้ลูกจ้างที่ได้รับเป็นรายระยะเวลาอย่างอื่นลงมาเป็นค่าจ้างต่อชั่วโมง แล้วนำจำนวนค่าจ้างต่อหนึ่งชั่วโมงนั้นคูณด้วย 1.5 หรือหนึ่งเท่าครึ่ง ก็จะเป็นค่าล่วงเวลาต่อ 1 ชั่วโมง สำหรับลูกจ้างที่ได้รับค่าจ้างเป็นรายระยะเวลาเช่นว่านั้น

ส่วนลูกจ้างที่ได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย กรณีนี้จะไม่คำนึงถึงระยะเวลาที่ลูกจ้างทำงานล่วงเวลา แต่จะคำนึงถึงผลงานที่ลูกจ้างทำได้ในช่วงการทำงานล่วงเวลานั้น ถ้าลูกจ้างทำงานได้ผลงานเท่าใดในช่วงการทำงานล่วงเวลานั้นได้เอาอัตราค่าจ้างต่อหน่วยในเวลาทำงานปกติที่นายจ้างกำหนดไว้คูณด้วย 1.5 และคูณด้วยจำนวนผลงานต่อหน่วยที่ลูกจ้างทำได้ในช่วงการทำงานล่วงเวลานั้น

การคิดค่าล่วงเวลาสำหรับลูกจ้างที่ได้ค่าจ้างตามรายระยะเวลาที่เป็นรายชั่วโมง รายวัน รายสัปดาห์หรือรายเดือนจึงแตกต่างจากลูกจ้างที่ได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย

ค่าล่วงเวลาตามมาตรานี้เป็นอัตราขั้นต่ำ ถ้านายจ้างตกลงจ่ายในอัตราที่สูงกว่าก็ต้องจ่ายตามอัตรานั้นต่อไป (มาตรา 74)

นายจ้างที่ฝ่าฝืนมาตรานี้มีความผิดและมีโทษทางอาญาตามมาตรา 144


อัพเดทล่าสุด