กฎหมายแรงงาน : การจ่ายค่าจ้างในวันหยุด


1,041 ผู้ชม


กฎหมายแรงงาน : การจ่ายค่าจ้างในวันหยุด




กฎหมายแรงงาน : การจ่ายค่าจ้างในวันหยุด

 

 

มาตรา 56   ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างแก่ลูกจ้างเท่ากับค่าจ้างในวันทำงานสำหรับวันหยุดดังต่อไปนี้

1)     วันหยุดประจำสัปดาห์ เว้นแต่ลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างรายวัน รายชั่วโมง หรือตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย

2)     วันหยุดตามประเพณี

3)     วันหยุดพักผ่อนประจำปี

บทบัญญัติเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองให้ลูกจ้างได้หยุดงานตามกฎหมายไม่ต้องสูญเสียรายได้ในวันหยุดนั้นไป อย่างไรก็ตาม ก็มีข้อยกเว้นอยู่ ซึ่งเมื่อพิจารณาโดยรวมแล้วจะเห็นได้ว่าในวันหยุดตามประเพณีซึ่งกฎหมายกำหนดไว้ปีละไม่น้อยกว่า 13 วัน และในวันหยุดพักผ่อนประจำปีกฎหมายกำหนดไว้ไม่น้อยกว่าปีละ 6 วันทำงานนั้น ไม่ว่าลูกจ้างนั้นจะเป็นลูกจ้างที่ได้รับค่าจ้างประเภทใดก็ตาม จะต้องได้รับค่าจ้างในวันหยุดังกล่าวด้วยส่วนวันหยุดประจำสัปดาห์ซึ่งกฎหมายกำหนดให้ลูกจ้างหยุดสัปดาห์ละ 1 วันนั้น เฉพาะลูกจ้างรายวัน ลูกจ้างรายชั่วโมง หรือลูกจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วยเท่านั้นที่จะไม่ได้รับค่าจ้าง  ส่วนลูกจ้างระยะเวลาอื่น (ลูกจ้างรายสัปดาห์และลูกจ้างรายเดือน)จะได้รับค่าจ้างในวันหยุดประจำสัปดาห์ด้วย ดังนั้น ลูกจ้างที่ได้รับค่าจ้างเป็นรายเดือนหรือได้รับเงินเดือนถือว่าลูกจ้างนั้นได้รับค่าจ้างในวันหยุดประจำสัปดาห์ด้วย หรือเท่ากับลูกจ้างรายเดือนได้ค่าจ้างทุกวัน เมื่อเป็นเช่นนี้การคำนวณค่าจ้างรายเดือนมาเป็นรายวันจึงต้องหารด้วยจำนวนวันใน 1 เดือน (30 วัน)

คำพิพากษาฎีกาที่ 7646//2542  ลูกจ้างได้รับค่าจ้างเป็นรายเดือนซึ่งตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานมิได้กำหนดให้นับเป็นอย่างอื่น จึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/6 วรรคท้าย ถือว่าเดือนหนึ่งมี 30 วัน เมื่อลูกจ้างได้รับค่าจ้างอัตราสุดท้ายเดือนละ 37,500 บาท หารด้วย 30 จึงเป็นค่าจ้างวันละ 1,250 บาท


อัพเดทล่าสุด