กฎหมายแรงงาน : การทำงานในวันหยุด


1,093 ผู้ชม


กฎหมายแรงงาน : การทำงานในวันหยุด




มาตรา 25  ห้ามมิให้นายจ้างทำงานในวันหยุด เว้นแต่ในกรณีที่เป็นลักษณะหรือสภาพของงานที่ต้องทำติดต่อกันไป ถ้าหยุดจะเสียหายแก่งาน หรือเป็นงานฉุกเฉินนายจ้างอาจให้ลูกจ้างทำงานในวันหยุดได้เท่าที่ทำเป็น

นายจ้าง อาจให้ลูกจ้างทำงานในวันหยุดได้สำหรับกิจการโรงแรม สถานมหรสพ งานขนส่ง ร้านขายอาหาร ร้านขายเครื่องดื่ม สโมสร สมาคม สถานพยาบาล หรือ กิจการอื่นๆตามที่กำหนดในกฎระทรวง

 เพื่อประโยชน์แก่การผลิต การจำหน่าย และการบริการ นายจ้างอาจให้ลูกจ้างทำงานนอกเหนือจากที่กำหนดตามวรรคหนึ่งและวรรคสองในวันหยุดเท่าที่จำเป็นโดยได้รับความยินยอมจากลูกจ้างก่อนเป็นคราวๆไป

คำว่า “วันหยุด” นั้นได้กำหนดความหมายไว้ในมาตรา 5 ว่า

“ วันหยุด หมายความว่า วันที่กำหนดให้ลูกจ้างหยุดประจำสัปดาห์ หยุดตามประเพณีหรือหยุดพักผ่อนประจำปี”

บทบัญญัติเรื่องการทำงานในวันหยุดมีเพื่อคุ้มครองลูกจ้าง ไม่ให้นายจ้างใช้อำนาจบังคับให้ลูกจ้างมาทำงานในวันหยุดซึ่งวัตถุประสงค์ที่จะให้ลูกจ้างได้พักผ่อนคลายความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าจากการทำงาน หรือไปทำธุรกิจตามประเพณีตามลักษณะของวันหยุดนั้นๆ บทบัญญัติในเรื่องการทำงานในวันหยุดคล้ายกับเรื่องการทำงานล่วงเวลา คือ นายจ้างไม่มีอำนาจบังคับให้ลูกจ้างมาทำงานในวันหยุด ไม่ว่าจะเป็นวันหยุดประจำสัปดาห์ วันหยุดตามประเพณี หรือวันหยุดพักผ่อนประจำปี การให้ลูกจ้างมาทำงานในวันหยุดได้จะต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างก่อนเป็นคราวๆ ไป คงมีกิจการตามมาตรา 25 วรรคหนึ่ง และวรรคสองเท่านั้น ที่นายจ้างอาจสั่งให้ลูกจ้างมาทำงานในวันหยุดได้โดยไม่ต้องได้รับ ความยินยอมจาก ลูกจ้างก่อน และอาจลงโทษลูกจ้างที่ไม่มาทำงานตามที่นายจ้างสั่งได้กิจการอื่นนอกจากนั้นจะต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างก่อนเป็นคราวๆ ไป การมาทำงานในวันหยุดจะต้องอยู่ภายในจำนวนชั่วโมงที่กำหนดตามกฎกระทรวงในมาตรา 26 ซึ่งได้แก่ กฎกระทรวง ฉบับที่ 3 ( พ.ศ. 2541) และงานทีอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพและความปลอดภัยของลูกจ้าง นายจ้างก็ไม่อาจให้ลูกจ้างมาทำงานในวันหยุดได้ตามมาตรา 31

ในกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างมาทำงานในวันหยุด ไม่ว่าจะเป็นการทำงานในวันหยุดที่ถูกต้องตามบทบัญญัติดังกล่าวข้างต้นหรือไม่ก็ตาม นายจ้างจะต้องจ่ายค่าทำงานในวันหยุดให้แก่ลูกจ้างตามมาตรา 62 ส่วนนายจ้างที่ให้ลูกจ้างทำงานในวันหยุดโดยฝ่าฝืนบทบัญญัติของกฎหมายข้างต้นจะมีความผิดและโทษทางอาญา ตามมาตรา 144,148

อัพเดทล่าสุด