กฎหมายแรงงาน : การปฏิบัติตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์


588 ผู้ชม


กฎหมายแรงงาน : การปฏิบัติตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์




มาตรา 15  ให้นายจ้างปฏิบัติต่อลูกจ้างชายและหญิงโดยเท่าเทียมกันในการจ้างงาน เว้นแต่ลักษณะหรือสภาพของงานไม่อาจปฏิบัติเช่นนั้นได้

มาตรา 53  ในกรณีที่งานมีลักษณะและคุณภาพอย่างเดียวกันและปริมาณเท่ากัน ให้นายจ้างกำหนดค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุดให้แก่ลูกจ้างเท่าเทียมกัน ไม่ว่าลูกจ้างนั้นจะเป็นชายหรือหญิง

        บทบัญญัติทั้งสองมาตราข้างต้นมีวัตถุประสงค์เพื่อรักษาความเท่าเทียมกันในการปฏิบัติของนายจ้างที่กระทำต่อลูกจ้างโดยไม่ให้มีข้อแตกต่างกันในเรื่องเพศ (บทบัญญัติสองมาตราดังกล่าวมีลักษณะซ้ำซ้อนกัน) เมื่อเป็นเช่นนี้นายจ้างทุกรายจะต้องพิจารณาว่า ในข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ระเบียบ คำสั่ง หรือการปฏิบัติงานใดๆ ที่กระทำต่อลูกจ้างชายและหญิง หากมีข้อแตกต่างกันก็จะต้องแก้ไขปรับปรุงข้อบังคับ ระเบียบ คำสั่ง หรือการปฏิบัตินั้น ทั้งนี้ เพื่อมิให้ขัดต่อบทบัญญัติดังกล่าวข้างต้น

        ข้อน่าสังเกตคือ บทบัญญัติทั้งสองมาตราดังกล่าวน่าจะซ้ำซ้อนกับรัฐธรรมนูนแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 30 ซึ่งบัญญัติว่า

         “บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมายและได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกันชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลเพราะความแตกต่างในเรื่องเพศ ฯลฯ จะกระทำมิได้”

        อย่างไรก็ตาม การนำเรื่องนี้เข้ามาบัญญัติไว้ในกฎหมายคุ้มครองแรงงานจะทำให้ลงโทษทางอาญาแก่นายจ้างได้ ดังนั้น นายจ้างผู้ใดที่ปฏิบัติต่อลูกจ้างชายและหญิงไม่เท่าเทียมกันตามมาตรา 15 และมาตรา 53 ดังกล่าวข้างต้น จะมีความผิดและมีโทษทางอาญาดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 146 ของพระราชบัญญัตินี้


อัพเดทล่าสุด