ปัญหาที่พบในการสร้างและใช้แบบทดสอบ


623 ผู้ชม


ปัญหาที่พบในการสร้างและใช้แบบทดสอบ




ปัญหาที่พบในการสร้างและใช้แบบทดสอบ

 

  1. ปัญหาจากผู้สร้าง

ผู้สร้างแบบทดสอบต้องมีความรู้ในเนื้อหาที่ออกมาอย่างดี  เช่น คัดเลือก จัดประเภทคน ส่วนมากผู้สร้างแบบทดสอบมักมีคุณสมบัติเพียงหนึ่งในสองข้อง ทำให้ได้ข้อสอบที่เชื่อถือได้น้อย

  1. ปัญหาจากการระบุวัตถุประสงค์ของแบบทดสอบ

ผู้สร้างแบบทดสอบต้องรู้ว่าจะเอาแบบทดสอบไปทำอะไร เช่น คัดเลือก จัดประเภทคน เลื่อนตำแหน่ง วินิจฉัยจุดแข็ง/จุดอ่อน ให้รางวัล ลงโทษ ฯลฯ  หรือนำไปเป็นส่วนหนึ่งของการทำกิจกรรม ซึ่งส่วนมากพบว่า ผู้ที่ต้องการให้สร้างแบบทดสอบมักไม่ชัดเจนว่าตนต้องการนำผลการทดสอบไปทำอะไร

  1. ปัญหาจากการระบุเงื่อนไข

ในการสร้างแบบทดสอบผู้สร้างแบบทดสอบต้องรู้ว่า จะใช้กับใคร เมื่อไร นานเท่าไร (เวลา สอบ) กลุ่มผู้สอบมีขนาดเล็กหรือใหญ่ กลุ่มผู้สอบอ่านออกเขียนได้หรือไม่ ต้องการผลสอบเร็ว หรือช้า สอบเดี่ยวหรือกลุ่ม จับเวลาหรือไม่

  1. ปัญหาจากากรนำแบบทดสอบไปใช้

แบบทดสอบบางชนิดต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้ดำเนินการสอบ แต่บางชนิดผู้คุมสอบอาจไม่ต้องมีความชำนาญพิเศษมากนักก็ได้ ผลจากการคุมสอบที่ไม่ดี และไม่เป็นทำให้ คะแนนสอบต่างกันได้

  1. ปัญหาจากการตรวจให้คะแนน

แบทดสอบทุกชนิด จะต้องระบุคะแนนรายข้อ และวิธีตรวจว่าจะให้ตรวจอย่างไร กรณีข้อสอบอัตนัย แนวการตรวจให้คะแนนจะต้องละเอียดและชัดเจน มิฉะนั้นคะแนนรวมจะคลาดเลื่อนได้

  1. ปัญหาจากการแปลผล

คะแนนจากการแบบทดสอบทางจิตใจ จะแปลผลแตกต่างจากคะแนนแบบทดสอบทางสมอง ดังนั้นการแปลผลจะต้องอาศัยผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ และได้รับการฝึกหัด มาเพื่อใช้แบบทดสอบดังกล่าว

  1. ปัญหาจากการนำแบบทดสอบของคนอื่นมาใช้

แบบทดสอบที่ใช้กันอยู่ต่างมีทีมาที่เรียกว่าพิมพ์เขียว (Test  Blueprint) ซึ่งจะระบุวัตถุประสงค์ของแบบทดสอบ เนื้อหาของแบบทดสอบ น้ำหนักที่เน้น ลักษณะและรูปแบบของข้อสอบ คะแนนรายข้อ ซึ่งถ้าไม่เห็นพิมพ์เขียวดังกล่าว เห็นแต่แบบทดสอบ ผู้ใช้แบบทดสอบจะไม่ทราบเลยว่า แบบทดสอบดังกล่าว สร้างมาเพื่ออะไร ใช้กับใคร ใช้อย่างไร ตรวจให้คะแนนอย่างไร และแปลผลอย่างไร

ข้อมูลอ้างอิง :  ศาสตราจารย์ ดร.อุทุมพร  จามรมาน

หนังสืออ้างอิง : การสร้างและพัฒนาแบบทดสอบเพื่อคัดเลือกบุคคลเข้าทำงาน 


อัพเดทล่าสุด