Dual Career Path : การจัดทำ Career Path แบบกึ่งปิด


676 ผู้ชม


Dual Career Path : การจัดทำ Career Path แบบกึ่งปิด




Dual  Career Path : การจัดทำ Career Path  แบบกึ่งปิด

เป็นการแสดงสายอาชีพของพนักงานในแนวดิ่ง (Vertical) ในลักษณะของการเลื่อนขั้นหรือเลื่อนตำแหน่งตามสายงานที่รับผิดชอบทั้งสายงานด้านบริหาร หรือสายงานด้านเทคนิคที่เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน โดยจะให้พนักงานมีโอกาสที่จะเลือกสายอาชีพของตนเองตามความถนัดทั้งนี้พนักงานมีสิทธิที่จะเลือกความก้าวหน้าของอาชีพในสายบริหารหรือสายเทคนิคได้ โดยส่วนใหญ่การจัดทำ Career Path  ในลักษณะนี้จะเหมาะกับตำแหน่งที่ต้องอาศัยทักษะและความชำนาญพิเศษหรือเป็นตำแหน่งที่มีการลาออกสูงซึ่งองค์กรต้องการรักษาตำแหน่งงานนั้นไว้ วิศวกร นักวิชาการ ช่างเทคนิค นักเคราะห์ระบบ ที่ปรึกษา อาจารย์ นักวิจัย เป็นต้น โดยส่วนใหญ่ Career Path ของตำแหน่งงานที่อยู่ในสายเทคนิคนั้นจะปฏิบัติงานด้วยตนเอง ไม่มีผู้ใต้บังคับบัญชา ซึ่งเป็นกลุ่มงานที่มีความรู้ ความสามารถ และทักษะทางเทคนิคเฉพาะด้านที่สำคัญ

ข้อดี : กำหนดทางเลือกให้กับพนักงานเพื่อจูงใจให้พนักงานที่ไม่ต้องการเลื่อนขั้นหรือตำแหน่งในสายงานด้านบริหารแต่สามารถมี Career Path ในสายงานทางเทคนิคได้

ข้อเสีย :  ใช้เวลาในการกำหนด Career Path ทั้งสายบริหารและสายเทคนิคเฉพาะด้าน โดยจะต้องกำหนดตำแหน่งงานที่สามารถจัดทำ Career Path ในลักษณะ Dual Career Path ซึ่งมักจะเป็นตำแหน่งงานที่อยู่ในกลุ่มธุรกิจหลัก (Key Business) ขององค์กร ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญโดยเฉพาะที่มีความรู้และความสามารถในการจัดกลุ่มงานสำหรับการจัดทำ Dual Career Path

ตัวอย่าง : Dual Career Path ของนักวิเคราะห์ระบบ

Dual Career Path : การจัดทำ Career Path แบบกึ่งปิด

หมายเหตุ : Career Path ของนักวิเคราะห์ระบบสามารถเป็นได้ทั้งสายงานเทคนิค ซึ่งได้แก่ นักวิเคราะห์ระบบอาวุโส ผู้เชี่ยวชาญ และผู้เชี่ยวชาญพิเศษ หรือสายงานบริหาร ซึ่งได้แก่ ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่าย ผู้จัดการฝ่าย และผู้อำนวยการฝ่าย


อัพเดทล่าสุด