การจัดทำเส้นทางสายความก้าวหน้าในอาชีพ
ลักษณะทั่วไปของ Career Path
Career Path หรือเส้นทางความก้าวหน้าในสายอาชีพของพนักงาน แสดงถึงการเติบโตในสายอาชีพของพนักงานเมื่อเข้ามาปฏิบัติงานในองค์กร
เป็นการแสดงสายอาชีพของพนักงานในแนวดิ่ง (Vertical) เป็นการเลื่อนขั้นหรือเลื่อนตำแหน่งพนักงาน (Promotion) ซึ่งบทบาทและหน้าที่ความรับผิดชอบจะเปลี่ยนแปลงไปตามตำแหน่งงานที่สูงขึ้น ทั้งนี้ Career Path ในลักษณะนี้จะแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะได้แก่
- การเลื่อนขั้นหรือตำแหน่งจากระดับ “บริหาร” สู่ระดับ “บริหาร” (Executive to Executive Level) : เป็นการเลื่อนตำแหน่งจากตำแหน่งงานบริหารไปสู่ตำแหน่งบริหารที่สูงขึ้น เช่น .
- การเลื่อนขั้นหรือตำแหน่งจากระดับ “พนักงาน” สู่ระดับ “บริหาร” (Non Executive to Executive Level) : เป็นการเลื่อนตำแหน่งจากพนักงานไปสู่ตำแหน่งงานบริหาร เช่น
- การเลื่อนขั้นหรือตำแหน่งจากระดับ “พนักงาน” สู่ระดับ “พนักงานอาวุโส” ( Non Executive to Non Executive Level) : เป็นการเลื่อนตำแหน่งจากพนักงานไปสู่พนักงานที่มีระดับสูงขึ้น การเลื่อนตำแหน่งในลักษณะนี้อาจไม่จำเป็นต้องรับผิดชอบในเชิงของการบริหารในลักษณะของการวางแผน หรือการกำหนดกลยุทธ์ แต่หน้าที่งานจะเปลี่ยนแปลงไปในเชิงของการสอนหรือเสนอแนะวิธีการทำงานให้กับพนักงานที่มีระดับหรือชั้นน้อยกว่า เช่น
แสดงสายอาชีพของพนักงานในแนวนอน (Horizontal) เป็นการโอนย้าย (Transfer) หรือสับเปลี่ยนหมุนเวียนงาน (Job Rotation) ทั้งตำแหน่งงานอาจเปลี่ยนแปลงหรือไม่เปลี่ยนแปลงก็ย่อมได้ แต่หน้าที่และความรับผิดชอบจะเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมที่เคยปฏิบัติ ซึ่ง Career Path ในลักษณะนี้จะแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ ได้แก่
- การโอนย้ายหรือสับเปลี่ยนหมุนเวียนงานภายในหน่วยงานเดียวกัน : พนักงานยังคงปฏิบัติงานอยู่ภายในฝ่ายหรือหน่วยงานเดียวกัน ซึ่งตำแหน่งงานจะเรียกชื่อเหมือนเดิม โดยของเขตหน้าที่งานอาจจะสับเปลี่ยนหรือไม่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมที่เคยปฏิบัติ เช่น
- การโอนย้ายหรือสับเปลี่ยนหมุนเวียนงานต่างหน่วยงานกัน : พนักงานไม่ได้ปฏิบัติงานอยู่ภายในฝ่ายหรือหน่วยงานเดิม ซึ่งตำแหน่งงานอาจเปลี่ยนแปลงหรือไม่เปลี่ยนแปลง แต่ขอบเขตหน้าที่งานจะเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมที่เคยปฏิบัติ เช่น
ข้อมูลอ้างอิง : หนังสือ Career Development in Practice
โดย : คุณอาภรณ์ ภู่วิทยพันธุ์