การพัฒนาคนและองค์การ (ตอนที่ 3)


671 ผู้ชม


การพัฒนาคนและองค์การ (ตอนที่ 3)




แนวคิดหลักในการบริหารจัดการในองค์กรสมัยใหม่

แนวคิดหลักในการบริหารจัดการแบบใหม่จำเป็นต้องมีการวัดผลสิ่งต่าง ๆ ต่อไปนี้

การพัฒนาคนและองค์การ (ตอนที่ 3)

 

ความแตกต่างระหว่างการวัดผล และประเมินผล
การวัดผล (Measurement)

  • เป็นการกระทำที่บอกถึงปริมาณและคุณภาพ การประเมินผล (Evaluation)
  • เป็นการกระทำที่บอกถึงคุณค่า หรือความสำคัญของสิ่งที่วัดได้โดยการนำมาศึกษาวิเคราะห์ เช่น ควรลดต้นทุนลง อีก 10 %

การประเมินผล
1. ก่อนการดำเนินงาน (Pre-Implementation Stage) ควรเน้นการประเมินบริบท & การวางแผน ดำเนินการ

ตัวบ่งชี้
- ความจำเป็นในการจัดทำ
- ความเหมาะสมของวัตถุประสงค์
- ความเป็นไปได้ของการดำเนินงาน
2. ขั้นดำเนินงาน (Implementation Stage)
ตัวบ่งชี้
- ประสิทธิภาพของการบริหาร
- ด้านทรัพยากร
- ด้านบุคคล
- การปรับเปลี่ยนการดำเนินงานเพื่อความเหมาะสม
3. ขั้นสรุปผลหลังการดำเนินงานโครงการ (Post- Implementation Stage)
ตัวบ่งชี้
- ประสิทธิผล
- ประสิทธิภาพของผลผลิต
- ประสิทธิผลของผลลัพธ์ที่ได้จากการดำเนินโครงการ
- ความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้อง

การวัดผลงาน
1. เพื่อตรวจสอบสถานะองค์กร (Check position) ว่า

- เรากำลังไปยังที่ใด
- เราอยู่ตรงไหนในทิศทางมี่จะไป
รายการสิ่งที่ควรวัด
- คุณภาพในการจัดการ
- คุณภาพสินค้า / บริการ
- ความคิดสร้างสรรค์ / นวัตกรรม
- ผลตอบแทนการลงทุน
- ความเข้มแข็งทางการเงิน
- ความสามารถในจูงใจ พัฒนา ปรับปรุงบุคลากร ที่มีความสามารถ
- ความรับผิดชอบขององค์กร
- ผลประโยชน์โดยรวม
- การใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์
ฯลฯ

2. เป็นการสื่อถึงสถานะขององค์กร (Communicate Position)

สื่อให้คนภายนอก ได้รับรู้สถานะขององค์การ เช่น การพิมพ์รายงานความก้าวหน้า , การแสดง รายการทรัพย์สิน หนี้สิน ของบริษัท ฯลฯ

3. เป็นการยืนยันลำดับความสำคัญ (Confirm Priority)
 

- บอกให้ทุกคนรู้ว่าขณะนี้องค์กรอยู่ตรงไหน ยังต้องไปอีกแค่ไหน จึงจะถึงเป้าหมายปลายทาง ตัวอย่าง Ford Motor Croup
- แผนผังแนวโน้ม (forecasting trend)
- แผนผังวิเคราะห์ (Analytical Plan)
- Action Plan
- Implementation Plan เพื่อตรวจสอบว่า Action Plan ที่กำหนดไว้ได้ถูกนำไปปฏิบัติหรือไม่
- ได้ผลดีหรือต่ำกว่าเป้าหมาย

4. การนำไปขยาย (Compel Program)

- วัดเพื่อช่วยสื่อสารว่าอะไรมีความสำคัญมากกว่ากัน
- วัดเพื่อช่วยกระตุ้นการทำงานของบุคลากร
- วัดเพื่อเป็นเกณฑ์การตอบแทนบุคลากร

สาเหตุที่ต้องมีการประเมินผลตลอดเวลา

  1. องค์ประกอบด้วยโครงการต่าง ๆ ที่เกิด สิ้นสุดเหลื่อมล้ำกัน จึงไม่สามารถรอให้ทุกโครงการ พร้อม ๆ กัน
    1___________________
    2__________________ 
                             3___________________
  2. รูปแบบองค์กรเปรียบจากรูปแบบการสั่งงานตามสายบังคับบัญชา (Hierarchy) มาเป็นแบบเครือ ข่าย (Network) และ แบบ Matrix มากขึ้น จึงต้องมีการประเมินแบบยืดหยุ่นมากขึ้น
  3. การประเมินผลสัมฤทธิ์ อาจไม่พอเพียง จึงควรประเมินในมิติสำคัญอื่น ๆ เช่น วิสัยทัศน์, กลยุทธ์, ธรรมาภิบาล จริยธรรม, ความพึงพอใจของประชาชนส่วนใหญ่ ฯลฯ
  4. ผู้เกี่ยวข้องกับองค์กรไม่ใช่ลูกค้าอย่างเดียว จึงต้องประเมินทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง (Stakeholders)

 ที่มา / ผู้เขียน โดย : อาจารย์อรุณ สุชาฎา


อัพเดทล่าสุด