การพัฒนาคนและองค์การ (ตอนที่ 1)
ในชีวิตการทำงานของคนส่วนใหญ่ จะต้องเป็นผู้ใช้ชีวิต อยู่ในองค์การ ลักษณะใด ลักษณะหนึ่ง อาจจะเป็นองค์การ ที่เป็นทางการ หรือไม่ก็ตาม เพราะคนเรา ต้องดำเนินชีวิต และปฏิบัติงานร่วมกัน ไม่โดยทางตรง ก็โดยทางอ้อม การที่บุคคลรวมกัน เพื่อกระทำกิจกรรมใด และมีความเกี่ยวข้องกัน ระหว่างหน้าที่ ที่บุคคลทำงาน โดยมีการจัดวางระบียบงาน ให้บรรลุวัตถุประสงค์ แสดงให้เห็นว่า มีการจัดตั้งองค์การเกิดขึ้นแล้ว |
มนุษย์โดยปกติธรรมดา จะมีความต้องการ ในทางเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง ซึ่งความต้องการดังกล่าว จะบรรลุได้ด้วยการจัดองค์การ ในลักษณะต่าง ๆ และเมื่อมีองค์การแล้ว ย่อม จะมีแนวปฏิบัติ เกี่ยวกับองค์การ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การบริหารองค์การ สำหรับแนวคิดเกี่ยวกับ การบริหารการเปลี่ยนแปลงภายในองค์การ เป็นสาขาหนึ่ง ของการบริหาร ที่ต้องเรียนรู้ ถ้าพิจารณา ให้ดี ๆ จะเล็งเห็นความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นปัจจัย ที่จำเป็นขององค์การ ประสิทธิภาพขององค์การ จะดีหรือไม่ อยู่ที่บุคคลในองค์การ ตลอดจนการบริหารการเปลี่ยนแปลงในองค์การ ซึ่งจะกล่าวถึงในหัวข้อต่อไป
1. ความหมายขององค์การ
คำว่าองค์การ ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า Organization และจากพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ให้ความหมายไว้ว่า องค์การคือ ศูนย์กลางของกิจการ ที่รวมประกอบ กันขึ้นเป็นหน่วย
ดังนั้นอาจจะกล่าวได้ว่า ในองค์การทั่วไปย่อมประกอบด้วยบุคคล ที่เป็นสมาชิก และสมาชิกทุกคนในองค์การต่างก็แสวงหาความก้าวหน้า ความสำเร็จ ตลอดจนความสุขในชีวิต จึง แสดงพฤติกรรมออกมาแตกต่างกันไป ทั้งนี้เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของตนหรือได้มาในสิ่งที่ตนต้องการ
2. ความสำคัญขององค์การ
มนุษย์มีความสัมพันธ์กับองค์การ ตั้งแต่เกิดจนตาย องค์การทั้งหลาย จึงจัดตั้งขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ ที่ไม่มีที่สิ้นสุด แต่เนื่องด้วยมนุษย์แต่ละคน มีความสามารถ ที่จำกัด จึงทำให้ไม่สามารถบรรลุ ความต้องการทุกอย่าง ได้ด้วยตนเองเพียงลำพัง องค์การจึงทำหน้าที่ทางสังคม ทางวัตถุ เศรษฐกิจ การเมือง ฯลฯ ให้กับมนุษย์ดังกล่าวข้างต้น
3. องค์ประกอบที่สำคัญขององค์การ 3 ประการ
3.1 มีวัตถุประสงค์เป็นจุดร่วม และเข็มมุ่ง (aim)
3.2 มีคณะบุคคลมารวมกัน โดยแบ่งงานและประสานงานกัน
3.3 มีความสัมพันธ์ระหว่างงานหน้าที่ ที่แบ่งนั้น ให้รวมกัน เป็นความสำเร็จของส่วนทั้งหมด
4. การพัฒนาคนและองค์การภายใต้บริบทสังคมทุนนิยม
ซึ่งจะขอกล่าวเพิ่มเติมเพื่อให้ พิจารณาเป็นพิเศษ ดังนี้ ปัจจัยที่จะส่งผล ต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ย่อมมาจากอิทธิพล และแนวโน้มสำคัญๆ ที่นำมาประกอบพิจารณาไว้ 10 ประการ ด้วยกัน คือ
- ประชาธิปไตยเศรษฐกิจแบบทุนนิยม เป็นไปตามกระแสโลก
- การค้าแบบเสรีนิยมแบบไร้พรมแดน จะเปิดกว้าง และต้อนรับความเป็นโลกาภิวัฒน์
- ด้านอุตสาหกรรม จะมุ่งเน้นการเพิ่มผลผลิต การเพิ่มมูลค่า การสร้างกำไร และ ความสามารถในการแข่งขันโดยเฉพาะการส่งออก
- อุดมการณ์ , ค่านิยม , ปรัชญาของคนจะแสวงหาความสุข สนุกสนาน ความเพลิดเพลิน ความสะดวกสบาย คนมุ่งเน้นธนานิยม วัตถุนิยม บริโภคนิยม เป็นสำคัญ
- จะมีการเร่งรัดพัฒนาในรัฐวิสาหกิจ โดยเอกชนจะเข้ามาร่วมลงทุน และร่วมบริหาร จัดการอย่างกว้างขวาง
- จะมีการฟื้นฟู และส่งเสริมครั้งใหญ่ เพื่อให้ประเทศไทย มีความมั่นคงมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม ทั้งนี้โดยมุ่งเน้น การพัฒนาผู้ประกอบการขนาดเล็ก (SME ) และขนาดกลาง
- จะเป็นยุคของการเรียนรู้ แบบค่อยเป็นค่อยไป เชิงปฏิรูป ในด้านการเมืองราชการ สถาบันการเงินการธนาคาร ภาคการศึกษา และศาสนา
- ความเป็นผู้นำของสตรี จะเป็นปรากฏการณ์ใหม่ ที่เด่นชัด เป็นรูปธรรมขึ้น ทั้งภาคการเมือง และภาคราชการ
- สิทธิเสรีภาพส่วนบุคคล ความเป็นตัวของตัวเอง ศักดิ์ศรีในความเป็นมนุษย์ และความเป็นปัจเจกชน จะพัฒนาอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะคนหนุ่มสาว
- ปัญหาทรัพยากรธรรมชาติ ถูกทำลาย เสื่อมทรุด ปละปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ จะปรากฏให้เห็น และทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น ผู้คนและขบวนการจะเร่งรัดให้ภาครัฐเข้าจัดการและแก้ไข
ดังนั้นเมื่อพิจารณาจากด้านต่าง ๆ ในบริบทโลกได้ข้อสรุปที่เป็นแนวโน้มและทิศทางโดย แบ่งเป็นแต่ละด้านดังนี้
- การเมืองโลกและการปกครอง
- เศรษฐกิจและการเงิน
- วัฒนธรรมและสังคม
- ค่านิยมและความเชื่อ
- อารยะธรรมและโครงสร้างพื้นฐาน
- สิ่งแวดล้อม
- ภาคเทคโนโลยี
- วิทยาศาสตร์
(ที่มา : what s next in business terrain)
ซึ่งประเด็นที่หยิบยกขึ้นมากล่าว ณ ที่นี้ จะไม่ลงลึกในรายละเอียด แต่เป็นการนำเสนอ ที่ทางประกอบการคาดการณ์ของผู้บริหารในองค์การ ที่จำเป็นจะต้องเรียนรู้ให้ทัน สถานการณ์ ที่เปลี่ยน แปลงไปอย่างรวดเร็ว ทั้งในภาวะปัจจุบันและอนาคต
การบริหารการเปลี่ยนแปลงในองค์การ
การบริหารการเปลี่ยนแปลงในองค์การ เป็นสาขาหนึ่ง ของการบริหาร ซึ่งถ้าหากพิจารณาให้ดีแล้ว จะทำให้ตระหนักถึงความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ต่อการคงอยู่ขององค์การ ในการศึกษาพฤติกรรม การปฏิบัติงานของบุคคล ที่อยู่ในองค์การ ประสิทธิภาพขององค์การ จะดีหรือไม่ อยู่ที่บุคคลในองค์การ ตลอดจนการบริหาร การเปลี่ยนแปลงในองค์การ
ปัจจัยสำคัญที่เกี่ยวข้อง กับการบริหารการเปลี่ยนแปลง ที่ควรกำหนดเป็นหัวข้อ เพื่อใช้ศึกษาตามสถาบันต่าง ๆ และหน่วยงานที่จัดฝึกอบรม สามารถใช้เป็นแนวทาง จัดกระบวนการเรียนรู้ ได้แก่
|
บทบาทของผู้บริหาร / ผู้นำในระหว่างการเปลี่ยนแปลง
ในระหว่างการเปลี่ยนแปลงผู้บริหาร หัวหน้างาน และผู้นำทีม จะถูกเรียกให้เข้ามา นำการเปลี่ยนแปลง ในกลุ่มของตัวเอง และถูกคาดหวัง ในการบริหาร แต่ผู้บริหารระดับกลาง จำนวน ไม่น้อย ที่ยังขาดความชัดเจน ในลักษณะปฏิบัติ จึงคอยให้ผู้บริหารระดับสูง สั่งให้เขาทำในหลาย ๆ กรณี การสื่อความหมาย เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลง ระหว่างผู้อำนวยการระดับสูง กับผู้บริหาร ระดับกลาง มักจะไม่ดี และไม่มีกลยุทธ์ที่แจ่มชัด ว่าควรนำการเปลี่ยนแปลง มาใช้อย่างไร จึงจะได้ผล เมื่อไม่มีคำตอบที่พร้อม มักจะตำหนิผู้บริหารระดับสูง ที่ปล่อยให้เป็นไปตามยถากรรม คำ แนะนำสำหรับผู้บริหารระดับกลาง ที่ดีที่สุด คือ หยุดคอยอย่างหวังพึ่งต่อเบื้องบน แล้วลุกขึ้นยืนหยัด เป็นตัวของตัวเอง เพราะผู้บริหารระดับกลางเอง เป็นผู้ที่มีความสำคัญ ในการบริหารอย่างมาก เนื่องจาก ไม่เพียงเป็นเสมือนตัวกลาง ที่ต้องรับนโยบาย จากผู้บริหารระดับสูง ไปปฏิบัติ โดยให้เป็นไปตามเป้าหมาย ที่กำหนดเท่านั้น ยิ่งไปกว่านั้น การสั่งสมประสบการณ์จากภารกิจ และความรับผิดชอบที่สำคัญ ๆ ทำให้นักบริหารระดับกลาง เป็นผู้รอบรู้ ทั้งด้านบริหารงาน และบริหารคน เป็นผู้มีวุฒิภาวะในชีวิตการทำงาน จึงสามารถกำหนดกลยุทธ์ และวิธีปฏิบัติที่เหมาสม และมีประสิทธิภาพในระดับหนึ่ง
เงื่อนไขแห่งความสำเร็จ อันเป็นปัจจัยภายในองค์กร ที่มีการเปลี่ยนแปลง จะขอกล่าวเฉพาะด้าน ที่เห็นว่าเป็นสิ่งสำคัญ คือ สมรรถนะของผู้บริหาร ที่ต้องมีคุณธรรม และจริยธรรม ที่เป็น แบบอย่างที่ดี ในองค์กร และพัฒนาจรรยาบรรณ ในบุคลากร ย่อมส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลง ทั้งในระดับปัจเจกบุคคล และองค์กร
(ที่มา : การบริหารการเปลี่ยนแปลงในองค์การ,ชาญชัย อาจินสมาจาร,2540)
โดย : อาจารย์อรุณ สุชาฎา