การประเมินผลงานฝึกอบรม : หลักทั่วไป


527 ผู้ชม


การประเมินผลงานฝึกอบรม : หลักทั่วไป




การประเมินผลงานฝึกอบรม : หลักทั่วไป

 

            ปัจจุบันการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Development : HRD)  เป็นหัวใจหลักของหลายๆองค์การ เนื่องจากทรัพยากรมนุษย์ถือเป็นทรัพยากรที่สำคัญ ที่ส่งผลต่อความสำเร็จขององค์การ ซึ่งทุกองค์การ มุ่งที่จะให้ทรัพยากรมนุษย์ของตนมี ความรู้ ทักษะ ความสามารถ และความเต็มใจปฏิบัติงานอยู่ตลอดเวลา แต่ใครจะรู้ได้ว่า การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์นั้น เป็นกิจกรรมที่มีค่าใช้จ่ายสูงทั้งทางตรง และทางอ้อม โดยเฉพาะการฝึกอบรม Training  ที่นอกจากผู้จัดการอบรมจะต้องเสียเวลา เสียงบประมาณ รวมถึงผู้เข้าร่วมอบรมต้องต้องเสียเวลาในการปฏิบัติงานประจำ เพื่อเข้าร่วมอบรมแล้ว ยังมีผู้กล่าวว่า ผู้เข้ารับการอบรมนั้นจะนำความรู้และความเข้าใจจากเนื้อหาในการเรียนไปใช้งานได้เพียงร้อยละ 40 ภายหลังจากการฝึกอบรม และจากนั้นก็จะลดลงประมาณร้อยละ25 ในเวลา 6 เดือนและจะลดลงเหลือร้อยละ 15 เมื่อเวลาผ่านไป หนึ่งปี

        นอกจากนี้ยังมีผู้ประมาณว่าเพียงร้อยละ10 ของการฝึกอบรมจะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการทำงาน  สมมุติ หากองค์กร เสียงบประมาณในการอบรม 1 ล้านบาท จะได้ผลตอบแทนเพียง 1 แสนบาท แต่จะสูญเงินไปถึง 9 แสนบาท  ซึ่งถือว่าเป็นการลงทุนที่ไม่คุ้มค่าต่อการลงทุนอย่างยิ่ง

        จึงเป็นบทหนักของ งานฝึกอบรมและพัฒนาฯ ที่ต้องหาแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของโครงการ โดยเฉพาะโครงการฝึกอบรม ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

        ปกติการดำเนินงานโครงการฝึกอบรม จะประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ดังนี้

1. การออกแบบและวางแผนโครงการฯ  (Program Design  and Plan)

หมายถึงการกำหนด การสำรวจฯ รวมรวมข้อมูล  ศึกษาความเป็นไปได้    รวมถึงการออกแบบ วางแผนโครงการฯ รวมถึงการจัดทำแผนฝึกรมและพัฒนาฯ

2. ดำเนินการตามโครงการฯ  (Program Implementation)

หมายถึงการนำแผนงานไปปฏิบัติ โดยจัดสรรทรัพยากร ตามความต้องการ และจังหวะเวลาการดำเนินโครงการให้มีประสิทธิภาพ ตลอดจนแก้ปัญหาเฉพาะหน้าและอุปสรรคที่เกิดขึ้น

3. การประเมินโครงการฯ (Program Evaluation)

หมายถึงการตรวจสอบความสำเร็จของโครงการ เพื่อปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสม ตลอดจนประเมินความคุ้มค่าและผลกระทบที่เกิดขึ้นกับองค์การและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนสรุปปัญหาหรืออุปสรรคที่ทำให้โครงการฯไม่สามารถดำเนินงานอย่างราบรื่น เพื่อทำการแก้ไขปรับปรุงให้เหมาะสมกับความต้องการของปัญหาและสถานการณ์

       การประเมินโครงการฯ เป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งที่สำคัญในการประเมินความสำเร็จของงานฝึกอบรม  ในทางปฏิบัติการประเมินนั้นจะสามารถวัดผลได้ว่าโครงการที่ดำเนินอยู่นั้นประสบปัญหาหรือไม่ นอกจากนี้ กระแสการควบคุมค่าใช้จ่ายของหน่วยงาน กระตุ้นให้การประเมินความสำเร็จของโครงการได้รับความสนใจจากผู้บริหารระดับสูง เนื่องจากองค์การต้องจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด

               

        การประเมิน  หรือการประเมินผล เป็นศัพท์ที่ใช้ในหลายๆสาขาอาชีพ จึงทำให้มีความเข้าใจที่หลากหลาย ดังที่ ศิริชัย  กาญจนวาสี  (2536)  สรุปถึงพัฒนาการ ในความหมายของการประเมินดังต่อไปนี้

            การประเมิน                            =  การวัด  (Measurement)

            การประเมิน                            =  การวิจัยประยุกต์  (Applied  Research)

            การประเมิน                            = การตรวจสอบความสอดคล้อง  (Determining Congruence)

            การประเมิน                            = การช่วยการตัดสินใจ  (Assist Decision Making)

            การประเมิน                            = การบรรยายอย่างลุ่มลึก (Description of Portrayal)

            การประเมิน                            = การตัดสินคุณค่า (Determining of Worth of Value)

            สรุปได้ว่า การประเมิน หมายถึง กระบวนการที่มีการศึกษา วิเคราะห์ กำหนดเกณฑ์ วางแผน และดำเนินการอย่างเป็นระบบ เพื่อที่จะตัดสินคุณสมบัติ คุณค่าหรือคุณภาพของสิ่งที่เราสนใจ จากการวัดผลเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานที่ได้กำหนดว่า ดี-เลว  สูง-ต่ำ และมาก-น้อย อย่างไร   ซึ่งพิจารณาได้จากสมการดังนี้

การประเมิน   =  การวัด + เกณฑ์  + การตัดสินใจ

อัพเดทล่าสุด