การประเมินผลงานฝึกอบรม : ความคาดหวังจากโครงการฝึกอบรม


1,676 ผู้ชม


การประเมินผลงานฝึกอบรม : ความคาดหวังจากโครงการฝึกอบรม




        ผู้ประเมินโครงการฝึกอบรมต้องทราบความต้องการของผู้ที่เกี่ยวข้องกับการประเมิน เช่น ผู้บริหาร หน่วยงานฝึกอบรม และผู้เข้าอบรม ก่อนการกำหนดเกณฑ์การประเมินโครงการฝึกอบรม โดยเฉพาะความต้องการของผู้บริหารระดับสูงที่เริ่มให้ความสนใจและสนับสนุนกิจกรรมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ขององค์กร โดยผู้บริหารส่วนใหญ่มีความความหวังต่อบุคลากรที่ผ่านโครงการฝึกอบรม เป็น 6 ลักษณะ ต่อไปนี้

    1.  ความรู้ (Knowledge) ผู้เข้ารับการอบรมสมควรมีความรู้และความเข้าใจในเรื่องที่เรียน

    2.  ทักษะ (Skill) ผู้เข้ารับการอบรมจะต้องมีและสามารถแสดงทักษะการปฏิบัติงานที่ถูกต้องตามที่ได้รับการสอน

    3.  ความสามารถและศักยภาพ (Capacity and Potential) ผู้เข้ารับการอบรมมีการพัฒนาการในทิศทางที่ส่งเสริมต่อ

        การปฏิบัติงานในปัจจุบันและการดำรงตำแหน่งที่สูงขึ้นในอนาคต

    4.  ทัศนคติ (Attitude) ผู้เข้ารับการอบรมมีทัศนคติที่ดีกับองค์กรมีความซื่อสัตย์ ความจงรักภักดี ความรู้สึกร่วม และ

         ทุ่มเทให้กับองค์กร

    5.  พัฒนากรของระบบงานและองค์กร (Development) การฝึกอบรมช่วยให้การดำเนินงานขององค์กรมีประสิทธิภาพ

         มีความก้าวหน้า และความมั่นคงในอนาคต

    6. ความคาดหวังอื่นๆ (OtherExpectations) เป็นความต้องการในด้านอื่นๆ จากการฝึกอบรม เช่นภาพลักษณ์ของ

        องค์กร ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงาน และการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น เป็นต้น

        เราจะเห็นว่าเกณฑ์ที่ดีในการประเมินโครงการฝึกอบรม นอกจากจะสามารถแสดงข้อมูลสำคัญสำหรับหน่วยงานฝึกอบรมแล้ว จะต้องสามารถประเมินและให้ข้อมูลตามที่ผู้บริหารต้องการ ประการสำคัญต้องสามารถสะท้อนประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ความคุ้มค่า และความเหมาะสมของโครงการอย่างชัดเจน และเป็นรูปธรรม

 

ข้อมูลอ้างอิง : การประเมินผลงานฝึกอบรม

 

โดย  : ดร. ณัฎฐพงษ์ เขจรนันทน์

 

อัพเดทล่าสุด