กรณีศึกษาของญี่ปุ่น เรื่องระบบอัตราตามชิ้นงาน กรณีที่ 2 : ใช้มูลค่ายอดการผลิตเป็นฐาน


750 ผู้ชม


กรณีศึกษาของญี่ปุ่น เรื่องระบบอัตราตามชิ้นงาน กรณีที่ 2 : ใช้มูลค่ายอดการผลิตเป็นฐาน




    กรณีศึกษาของญี่ปุ่น เรื่องระบบอัตราตามชิ้นงาน 

กรณีที่ 2 :   ใช้มูลค่ายอดการผลิตเป็นฐาน

บริษัท 2 เป็นผู้ผลิตเครื่องจักร และเครื่องมือเครื่องใช้ในการเกษตร  มีพนักงาน 230 คน  เช่นเดียวกับบริษัท 1   (ตัวอย่าง กรณีศึกษาที่ 1) บริษัท 2  ก็ต้องการกระตุ้นพนักงานให้เพิ่มยอดผลิต ระบบอัตราตามชิ้นงานของบริษัท 2  ขึ้นอยู่กับเครื่องจักร และเครื่องมือ เครื่องใช้ที่ผลิตได้ในช่วงเวลาที่กำหนด มูลค่าของเครื่องจักรและเครื่องมือเครื่องใช้หาได้จากผลคูณของปริมาณการผลิต  และราคาเฉลี่ยของผลิตภัณฑ์หนึ่งชิ้น Y % ของมูลค่าการผลิตที่คำนวณได้  จะถูกกันไว้เป็นกองทุนโบนัสทั้งหมดของบริษัท ดังนั้น สูตรของบริษัทจึงมีดังนี้

โบนัสทั้งหมด  =  ปริมาณการผลิต x   ราคาเฉลี่ยต่อชิ้น x Y %

 

 

จำนวน Y %  ได้มาจากการเจรจาต่อรองกับสหภาพแรงงาน และไม่ได้บอกค่าจริงๆไว้

ที่ไม่เหมือนกับบริษัท 1 ก็คือ บริษัท 2 ไม่ได้ให้โบนัสแก่พนักงานจำนวนเท่ากัน  จำนวนโบนัสที่พนักงานแต่ละคนได้ในบริษัท 2 จะขึ้นอยู่กับความรับผิดชอบของหน้าที่งาน ประสบการณ์ผลงาน  และการมาทำงาน คะแนนการประเมินของมาตรการเหล่านั้นจะถูกสรุปไว้เป็นจำนวนคะแนนสำหรับลูกจ้างแต่ละคนแล้วคะแนนเหล่านี้ก็ถูกคูณด้วยราคาต่อหน่วยต่อคะแนนเพื่อหาโบนัสของลูกจ้างแต่ละคน  สูตรในการหาโบนัสของแต่ละคน คือ

โบนัสของแต่ละคน =  จำนวนคะแนนของพนักงาน x  ราคาต่อหน่วยต่อคะแนน

 

 

แม้จะไม่ได้กล่าวไว้ บริษัทก็ต้องรู้จำนวนคะแนนทั้งหมดของพนักงานทุกคนตั้งแต่แรกก่อนที่จะจ่ายโบนัสได้ จำนวนโบนัสทั้งหมดที่คำนวณได้  จะถูกหารด้วยจำนวนคะแนนทั้งหมด เพื่อให้ได้ราคาต่อหน่วยต่อคะแนนคูณกับจำนวนคะแนนของคนงานแต่ละคน  เพื่อหาจำนวนโบนัสที่ควรจะได้สำหรับปีนั้น

ค่าจ้างและสวัสดิการยืดหยุ่น
โดยคุณ  : ธัญญา  ผลอนันต์

อัพเดทล่าสุด