กรณีศึกษาของญี่ปุ่น เรื่องระบบอัตราตามชิ้นงาน กรณีที่1 : ใช้มูลค่ายอดการขายเป็นฐาน


645 ผู้ชม


กรณีศึกษาของญี่ปุ่น เรื่องระบบอัตราตามชิ้นงาน กรณีที่1 : ใช้มูลค่ายอดการขายเป็นฐาน




    กรณีศึกษาของญี่ปุ่น เรื่องระบบอัตราตามชิ้นงาน 

 กรณีที่1 :   ใช้มูลค่ายอดการขายเป็นฐาน

บริษัท 1 ขายสินค้าเครื่องกีฬาและมีพนักงาน 1,300 คน  บริษัทต้องการกระตุ้นให้พนักงานให้มีความอุตสาหะมากขึ้นในการขาย แต่กระนั้นก็ยังต้องมีจิตสำนึกของการร่วมงานในทีมมากกว่าการแข่งขันชนิดตัวใครตัวมัน

ดังนั้น บริษัทจึงต้องตัดสินใจให้โบนัสแก่ทีมของพนักงาน ซึ่งสามารถขายสินค้าได้จำนวนหนึ่ง โดยมีมูลค่าเป็นตัวเงิน จำนวนโบนัสทั้งหมดที่มอบให้พนักงานในทีมนั้นจะเท่ากับ 1  % ของยอดขายที่กลุ่มนั้นทำได้โดยคิดมูลค่าเป็นเหรียญโบนัสที่ให้กับทีมไม่ใช่ทั้งหมด 1 %  บริษัทตระหนักดีว่าทักษะของพนักงานสามารถปรับปรุงได้ ถ้าได้ผ่านการฝึกอบรมด้านการตลาดและเทคนิคการขาย

ดังนั้น จำนวนสองในสามของยอดโบนัสที่คิดออกมาได้เท่านั้นที่จ่ายให้พนักงานจริงๆ ส่วนที่บริษัทสำรองยอดที่เหลือ หนึ่งในสามเก็บไว้เป็นค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมลูกจ้างกลุ่มนั้นๆ สูตรในการคำนวณโบนัสของบริษัทให้พนักงานแต่ละกลุ่มสามารถแสดงได้ดังนี้

โบนัสให้กลุ่มพนักงาน = ยอดขายที่กลุ่มทำได้ (เป็นเหรียญ)  x  1 % x  2/3

อาจจะมีการตั้งคำถามว่า ทำไมจึงแบ่ง 1 %  ของยอดขายทั้งหมด และทำไมจึงไม่มาหรือน้อยกว่านั้น ?   จริงๆ แล้ว นั้นคือ เปอร์เซ็นต์ที่สหภาพแรงงานและฝ่ายจัดการได้เจรจาตกลงกันเอาไว้  เราไม่รู้แน่ชัดว่าทำไมการเจรจาต่อรองจึงได้ตกลงกันไว้ที่ 1 % อย่างไรก็ตาม เราสามารถเดาได้ว่ามูลค่าการขายทั้งหมดต่อเดือนอาจสูงมาก ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้นแล้ว 1 %  ของมูลค่าการขายก็เป็นเงินจำนวนก้อนใหญ่ได้

โบนัสถูกคิดคำนวณและจ่ายให้ทุกเดือน จำนวนโบนัสทั้งหมดที่คำนวณได้ถูกหารออกเท่าๆกัน และแบ่งให้พนักงานในกลุ่มนั้น เนื่องจากทุกคนได้มีส่วนร่วมเท่าๆกัน ในการบรรลุถึงยอดขายนั้น

ค่าจ้างและสวัสดิการยืดหยุ่น
โดยคุณ  : ธัญญา  ผลอนันต์

อัพเดทล่าสุด