กรณีศึกษา การพัฒนาวิธีการจ่ายโบนัส (ตอนที่ 1)


665 ผู้ชม


กรณีศึกษา การพัฒนาวิธีการจ่ายโบนัส (ตอนที่ 1)

 

 

แนวคิดพื้นฐานของโบนัส

 

การเลือกตัวชี้บ่งสำหรับวิธีการจ่ายโบนัส

บริษัทนี้ทำการผลิตสินค้าหลากหลายชนิด บางชนิดเป็นผลิตภัณฑ์ทดลองตลาด วงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ยังสั้นด้วย ดังนั้น ผลผลิตจริงจึงไม่ใช่ตัวบ่งชี้ที่ดีสำหรับใช้ในวิธีการจ่ายโบนัส เนื่องจากมีการขึ้นลงมาก ดังนั้น จึงไม่ควรใช้ระบบอัตราตามชิ้นงาน หรือตามปริมาณในบริษัทนี้ เนื่องจากการขึ้นลงของยอดขายและปริมาณการผลิตทั้งหมดของบริษัท วิธีการแบ่งจกยอดขายก็ใช้ไม่ได้เช่นกัน  ผลกำไรจริงของบริษัทในปีงบประมาณ 2527 มีค่าติดลบ เราไม่ขอแนะนำให้เริ่มการจ่ายโบนัสโดยใช้ตัวชี้บ่งที่เป็นลบเพราะลูกจ้างอาจคิดว่านายจ้างไม่จริงใจในการแบ่งกำไรให้ย่างไรก็ตามมูลค่าเพิ่มของบริษัทนั้นกำลังเพิ่มขึ้น ดังนั้น จึงดูจะเป็นกรเลือกที่ดีให้เป็นตัวชี้บ่งของบริษัท

 

การคำนวณมูลค่าเพิ่ม

ก.      การลดค่าเสื่อมราคา

มูลค่าเพิ่มของบริษัทจะถูกกระทบโดยค่าเสื่อมราคา เนื่องจากการเสื่อมราคาเป็นส่วนหนึ่งของมูลค่าเพิ่ม และการเสื่อมราคาในบริษัทมีค่าสูงตามที่ได้ตั้งข้อสังเกตไว้ก่อนแล้ว  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง  คือการเสื่อมราคาของแม่แบบที่ใช้การผลิตสินค้าแม่แบบจะมีการเปลี่ยนแปลงบ่อยเท่าๆ กับการเปลี่ยนแปลงผลิตภัณฑ์

ดังนั้น เพื่อให้คำนวณมูลค่าเพิ่มได้ถูกต้องแน่นอนยิ่งขึ้น จึงต้องไม่คิดค่าเสื่อมราคาแม่แบบจากมูลค่าเพิ่มของบริษัท เพื่อใช้ในการกำหนดโบนัสของบริษัทในปีที่จะมาถึง

ข.      หาจำนวนคนงานให้ถูกต้อง

เพื่อจะคำนวณหามูลค่าเพิ่มต่อคนงานหนึ่งคนจะต้องใช้จำนวนการจ้างงานของบริษัท ถ้าเราใช้ตัวเลขตอนสิ้นปี ขนาดการจ้างงานของบริษัท คือ 613,477 และ 544 ในปีงบประมาณ 2527, 2528 และ 2559 ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม  ไม่ควรใช้ตัวเลขเหล่านี้ในการคำนวณมูลค่าเพิ่มต่อลูกจ้างหนึ่งคน เพราะไม่ได้พิจารณาการเปลี่ยนแปลงการจ้างงานที่เกิดขึ้นต่อเดือน

ดังนั้น ตัวเลขรายเดือนจึงถูกเฉลี่ยเป็นรายปีไป ในบริษัท A ขนาดการจ้างงานจึงกลายเป็น 350 , 490 และ 533 สำหรับปีงบประมาณ  2527, 2528 และ 2559 ตามลำดับ โปรดระลึกไว้ว่า  ตัวเลขที่ปรับใหม่เหล่านี้  รวมถึงผู้ที่ทำงานเพียงสองสามวันเท่านั้น  ถ้าเรารู้จำนวนคน – วัน และ/หรือ คน – ชั่วโมง ที่ทำงานไปก็ควรใช้ตัวเลขเหล่านี้แทน

ค่าจ้างและสวัสดิการยืดหยุ่น

โดยคุณ  : ธัญญา  ผลอนันต์

อัพเดทล่าสุด