ประวัติความเป็นมาของการบริหารค่าตอบแทนในประเทศไทย
ประวัติความเป็นมาของการบริหารค่าตอบแทนในประเทศไทย
สำหรับความเป็นมาของการบริหารค่าตอบแทนในประเทศไทย ต้องมองย้อนกลับไปในสมัยอยุธยาและต้นรัตนโกสินทร์ ซึ่งมีการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราช กษัตริย์เป็น พระเจ้าแผ่นดิน หมายถึงเจ้าของแผนดินทั้งสิ้นในอาณาจักร ซึ่งนับรวมถึงข้าแผ่นดิน ที่เป็นราษฎร์ทั้งหลาย ไม่มีการจ้างงานโดยจ่ายค่าตอบแทนเป็นเงิน แต่จะใช้เกณฑ์แรงงานทำงานแทนถือเป็นการตอบแทนคุณแผ่นดิน ข้าราชการจะถูกจ่ายค่าตอบแทนเป็นศักดินา คือ ที่ดิน และแรงงานติดที่ดินนั้น คนไทยทุกคนจะมีสังกัดตามที่ดิน ศักดินา และถูกเกณฑ์เป็นไพร่เลข ไพร่สม มีชาวต่างประเทศเท่านั้นมีถูกเกณฑ์แรงงาน ชาวต่างชาติเหล่านี้ เช่นพวกขมุ จีน ขอม จะทำหน้าที่ค้าขายเร่รอน
แรงงานรับจ้างในประเทศไทยเกิดขึ้นตั้งแต่รัชกาลที่ 3 เป็นแรงงานรับจ้างในไร่อ้อย และโรงงานหั่นอ้อย แรงงานเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นชาวจีน นอกจากนั้นก็เป็นคนงานตามอู่ต่อเรือ ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมในยุคนั้น แรงงานไทยที่อยู่ในภาคบริการ คือเป็นเสมียนตามห้างฝรั่ง แต่ก็จำนวนน้อยอยู่
การจ้างแรงงานครั้งสำคัญที่บันทึกไว้เกิดขึ้นเมื่อไทยเปิดประเทศการค้ากับตะวันตกในสมัยรัชกาลที่ 4 ไทยเป็นผู้ส่งออกข้าวสู่ต่างประเทศ จากการที่ขายข้าวเป็นจำนวนมาก รัฐ (คือพระเจ้าแผ่นดิน) จึงต้องทำนาแปลงใหญ่ เพื่อให้ได้ข้าวพอเพียงสำหรับการส่งออก มีการบุกเบิกทุ่งรังสิต ซึ่งเป็นที่ราบกว้างใหญ่ที่เป็นนาข้าวขนาดใหญ่ และเริ่มมีการจ้างแรงงานต่างชาติในการปลูกข้าว ขนข้าวเปลือกลงเรือซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวจีน ซึ่งแรงงานกุลีจีนเหล่านี้ถือเป็นแรงงานพวกแรกของไทย เมื่อรัฐกาลที่ 5 ทรงประกาศเลิกทาส ทาสส่วนหนึ่งก็เข้าสู่แรงงาน รวมทั้งรัชกาลที่ 5 ทรงปรับปรุงระบบราชการครั้งใหญ่ มีการกำหนดเงินเดือนให้ข้าราชการแทนศักดินา มีธุรกิจเอกชนเกิดขึ้นธุรกิจรายใหญ่จะเป็นของชาวต่างชาติ เช่น อังกฤษ มีการจ้างคนไทยเป็นพนักงานรายเดือน แต่ยังไม่มีกฎหมายที่เกี่ยวกับค่าจ้างเงินเดือน/แรงงาน ออกมาโดยเฉพาะ นายจ้างเป็นผู้กำหนดแต่ฝ่ายเดียว
มีบันทึกเกี่ยวกับการสไตร์ของคนงานในปี 2465-66 จากระบบสมบูรณาญาสิทธิราชมาสู่การปกครองระบบประชาธิปไตย มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงทางการเมืองหลายครั้ง ครั้งสำคัญที่เกี่ยวกับการบริหารค่าตอบแทนคือในเดือนกุมภาพันธ์ 2516 ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง ค่าจ้างขั้นต่ำขึ้นเป็นครั้งแรก มีพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฉบับ 2518 ออกใช้ ในช่วงนั้น ลูกจ้างได้มีบทบาทอย่างมากในการเรียกร้องค่าตอบแทน สหภาพแรงงานหลายสหภาพได้เติบโตในช่วง 2516-2518 เช่นสหภาพแรงงานแห่งประเทศไทย (ในปี 2516 เป็นปีที่หยุดงานมากครั้งที่สุดในประวัติศาสตร์ไทยคือหยุดงานถึง 501 ครั้ง มีคนงานที่ทำงานหยุดงานถึง 177,877 คน)
การดูแลเรื่องค่าจ้าง และแรงงานสัมพันธ์อยู่ในความรับผิดชอบของกรมแรงงาน กระทรวงมหาดไทย จนกระทั่งได้แยกรวมกรมแรงงานออกเป็นกระทรวงแรงงาน และตั้งกรมขึ้นมาดูแลการจ้างงานต่างๆโดยเฉพาะในปัจจุบัน
สำหรับการบริการค่าตอบแทนในธุรกิจ ไทยได้รับอิทธิพลจากแนวคิดการจ่ายค่าตอบแทนจากตะวันตกข้อนข้างมากเช่นเดียวกับแนวคิดด้านการจัดการ บริษัทใหญ่ๆ หลายแห่งใช้วิธีดำเนินกิจกรรมตามขั้นตอนของการบริหารค่าตอบแทน เช่น การประเมินค่างาน เป็นต้น มีการสำรวจโครงสร้างค่าจ้าง โดยสมาคมวิชาชีพต่างๆ เพื่อเป็นบรรทัดฐานในการจ่ายค่าตอบแทน และขณะนี้ธุรกิจไทยก็ถูกกระทบจากกระแสโลกาภิวัตน์ให้ปรับตัวเพื่อความอยู่รอดท่ามกลางสภาวะการแข่งขันในสังคมโลกเช่นเดียวกัน ทำให้การบริหารค่าตอบแทนแหลมคมมีความคิดหลากหลายขึ้น.