การวิเคราะห์งานตามหน้าที่ (Functional Job Analysis)
การวิเคราะห์งานตามหน้าที่ (Functional Job Analysis)
พัฒนาขึ้นโดยหน่วยอบรม และจ้างงานของรัฐบาลแห่งสหรัฐอเมริกา ภายใต้สมมุติฐานที่ว่า งานแต่ละงานจะมีหน้าที่เฉพาะของตน การวิเคราะห์จะเน้น ลักษณะความยากง่ายของงานอยู่ 3 ด้าน คือ 1. ข้อมูล (Data) 2. คน (People) 3. สิ่งของ (Things) ในแต่ละด้านก็จะแยกย่อยลงไปตามลำดับขั้น ข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์จะถูกเปรียบเทียบใน 3 ด้านนี้ทีละด้าน ดังตารางต่อไปนี้
ระดับความยากงายของหน้าที่งานต่างๆ | ||
ด้านเกี่ยวกับข้อมูล (Data) 0 สังเคราะห์ 1 ประสานงาน 2 วิเคราะห์ 3 รวบรวม 4 คำนวณ 5 คัดลอก 6 เปรียบเทียบ | ด้านเกี่ยวกับคน (People) 0 ให้คำปรึกษา 1 ต่อรอง 2 สอน 3 บังคับบัญชา 4 ปรับเปลี่ยน 5 ชักจูง 6 ตัวแทนเจรจา 7 บริการ 8 ต้องให้ความช่วยเหลือ | ด้านเกี่ยวกับสิ่งของ (Things) 0 จัดตั้ง ระบบ 1 ปรับแก้ 2 ปฏิบัติ ควบคุม 3 ขับเคลื่อน ปฏิบัติ 4 จัดการ 5 ดูแล รักษา 6 ลำเลียง 7 ขนส่ง |
วิธีวิเคราะห์ตามหน้าที่ (FJA) จะทำดังนี้ งานแต่ละงานจะถูกพิจารณาทั้ง 3 ด้าน (ข้อมูล , คน , สิ่งของ) โดยให้ทั้ง 3 ด้านรวมกันเป็น 100 เปอร์เซ็นต์ สมมุติว่า งาน A มีลักษณะงานที่ต้องรวบรวมข้อมูล (Data) และต้องทำการชักจูงคน (People) และดูแลรักษาเครื่องมือ (Things) ก็จะพิจารณาทั้ง 3 ด้านนั้นมีน้ำหนักด้านละกี่เปอร์เซ็นต์ เช่น อาจจะเป็น 40 -30 – 30 % ตามลำดับ รวมเป็น 100 % เป็นต้น การวิเคราะห์งานด้วยวิธีนี้จะช่วยในการเขียนเอกสารบรรยายลักษณะงาน และเอกสารระบุคุณสมบัติของงาน โดยสามารถแยกงานในรูปของเชิงปริมาณ