องค์ประกอบสำคัญในการออกแบบโครงสร้างค่าตอบแทน : กำหนดคุณลักษณะของโครงสร้างค่าตอบแทน


996 ผู้ชม


องค์ประกอบสำคัญในการออกแบบโครงสร้างค่าตอบแทน : กำหนดคุณลักษณะของโครงสร้างค่าตอบแทน




องค์ประกอบสำคัญในการออกแบบโครงสร้างค่าตอบแทน

 

 

สำหรับองค์ประกอบสำคัญในการออกแบบโครงสร้างค่าตอบแทน/ค่าจ้าง จะมีอยู่ 5 ส่วนประกอบด้วยกัน คือ

1. กำหนดเส้นนโยบายค่าจ้าง

2. ความต้องการโครงสร้างค่าตอบแทนมากกว่า 1 โครงสร้างหรือมากกว่า

3. การจัดวางข้อมูลเกี่ยวกับงาน

 

ส่วนที่ 4 กำหนดคุณลักษณะของโครงสร้างค่าตอบแทน

การกำหนดคุณลักษณะของโครงสร้างค่าตอบแทน จะพิจารณาถึงสิ่งต่อไปนี้

1. กำหนดอัตราค่าจ้างสูงสุด  - ต่ำสุด

 หลายธุรกิจจะใช้กฎหมายแรงงานเป็นตัวพิจารณาถึง อัตราค่าจ้างต่ำสุด นอกจากนั้นยังใช้เรื่องของที่ตั้งหรือสภาพภูมิศาสตร์มาพิจารณาประกอบด้วย(การว่าจ้าง – ยาก – ง่าย แค่ไหน อัตราค่าจ้างแต่ละท้องที่ สภาพการแข่งขันและความสามารถในการทำกำไร ฯลฯ)

   ถ้าหากค่าจ้างที่ต่ำเกินไปจะได้ผู้สมัครที่ขาดคุณสมบัติที่เหมาะสม

   การสำรวจค่าจ้างจะช่วยในการแก้ไขปัญหาดังที่ได้กล่าวมา

   อัตราค่าจ้างสูงสุด   ผู้กำหนดนโยบายค่าจ้างจะพิจารณาถึง ลักษณะงานที่ให้คุณค่ากับองค์การสูงสุดเป็นสิ่งที่ยอมรับในการวางอัตราค่าจ้างสูงสุด

 

สูตรคำนวณอัตราส่วนค่าจ้างสูงสุด ต่ำสุด

ถ้าค่าความแตกต่างระหว่างจุดกลางชั้น
1)  มีค่าน้อย อัตราค่าจ้างจะถูกกำหนดตามลักษณะเฉพาะของงาน เพราะว่าจำนวนเกรด/ระดับชั้น จะมีเป็นจำนวนมากภายในโครงสร้างค่าจ้าง เช่น ถ้าความแตกต่าง M.D – M.D (Midpoint) มีค่า 3 % จะมีผลทำให้เกรดค่าจ้างถึง 50 เกรด ขณะที่ ค่าความแตกต่าง M.D – M.D มีค่า 20 % จะทำให้มีเกรดค่าจ้างเพียง 6 เกรดเท่านั้น
2) อัตราค่าจ้างมีมาก ก็มีโอกาสกำหนดความแตกต่างของอัตราค่าจ้างของงานแต่ละหน้าที่และความรับผิดชอบ หรือความรู้และทักษะได้ง่ายขึ้น
3) ถ้าความแตกต่างมีความต่างกันมากๆ ก็จะทำให้ง่ายในการกำหนด ผู้ครองงาน/ตำแหน่งที่มีความแตกต่างกัน
4)  ถ้าความแตกต่างของจุดกลางชั้นสูงมากๆ ก็จำเป็นต้องมีโครงสร้างค่าจ้างมากว่า 1 โครงสร้าง
     โดยปกติจะใช้จุดกลางชั้นต่อค่าจุดกลางชั้นถัดไป อยู่ที่ช่วงระหว่าง 10 -15 %
2. จุดกลางชั้น (Midpoint) คือราคาตลาดของค่างาน

3. เกรดค่าจ้างหรือจำนวนชั้น  วิธีการกำหนดจำนวนชั้นหรือเกรดค่าจ้างจะสัมพันธ์กับโครงสร้างตำแหน่ง (Job Classification)   หรือ การประเมินค่างาน (Job Evaluation)
4. ช่วงกว้างของเกรดค่าจ้าง
ปกติคำว่า “Range”  หรือ  “Spread” ในเกรดค่าจ้างแต่ละเกรดจะเป็นตัวบ่งบอกความแตกต่างระหว่างค่าบนสุด กับค่าต่ำสุดของเกรด ซึ่งจะกำหนดให้มากน้อยแค่ไหนขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละบริษัท
                            
5. ช่วงซ้อนกัน (Overlap) ของเกรดค่าจ้าง
Overlap  ที่นิยมเรียกกันในภาษาของโครงสร้างค่าตอบแทนคือ ค่าความสัมพันธ์ระหว่างเกรดค่าจ้างที่อยู่ติดกัน บางครั้งเกรดค่าจ้างอาจจะไม่มี Overlap หรือ อาจจะมีก็ได้ แต่เมื่อใดก็ตามที่ Overlap  มีค่าเกิน 50 %  แสดงถึงความผิดปกติของเกรดค่าจ้าง โดยทฤษฎีจำนวนค่าจ้างที่ Overlap  กันนั้นบอกถึงความรับผิดชอบ ความรู้และทักษะของงานแต่ละเกรดค่าจ้างจะเท่ากับอีกเกรดค่าจ้างหนึ่ง


อัพเดทล่าสุด