วัตถุประสงค์หลักในการบริหารค่าตอบแทน


669 ผู้ชม


วัตถุประสงค์หลักในการบริหารค่าตอบแทน




วัตถุประสงค์หลักในการบริหารค่าตอบแทน

 วัตถุประสงค์หลักในการบริหารค่าตอบแทน มักจะมีหลักใหญ่ใจความอยู่ 5 ลักษณะ ที่พอสรุปไว้เป็นแนวทางได้คือ

1.  ให้เกิดความเป็นธรรม ในการบริหารค่าตอบแทน คำว่า ความเป็นธรรม (Equity)  ถือเป็นเรื่องสำคัญและถือเป็นหลักที่สำคัญขององค์การ

       

    คนที่ทำงานเพื่อประกอบอาชีพก็ต้องได้รับค่าตอบแทนการทำงานตามที่กำหนดและความยุติธรรม (Fairness)  จะมีขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีผลตอบแทนที่เป็นธรรมกับสิ่งที่ได้ทำไป

สรุปได้ว่า ความเป็นเป็นธรรมในการบริการค่าตอบแทน จะมีอยู่ดังนี้

1.1 ความเป็นธรรมภายในองค์กร  คือ ค่าตอบแทนที่ได้รับเทียบกับผลงานที่ทำให้บริษัท วิธีวัดว่าจะเป็นธรรมหรือไม่ องค์กรจะมีเครื่องมือที่กำหนดมาตรฐานของตำแหน่งงาน เช่น การจัดกลุ่มงาน การจัดทำคำบรรยายลักษณะงาน (Job Description)  การวิเคราะห์งาน (Job Analysis)  การประเมินค่างาน(Job Evaluation)

1.2 ความเป็นธรรมเทียบกับภายนอกองค์การ เป็นการเปรียบเทียบตำแหน่งงาน หรือลักษณะงานกับธุรกิจ หรือบริษัทอื่นที่ดำเนินธุรกิจในลักษณะคล้ายคลึงกันกับการเทียบเคียงกับแหล่ง/ชุมชนที่องค์กรนั้นตั้งอยู่เป็นเครื่องมือสำคัญที่องค์กรหยิบใช้เพื่อเปรียบเทียบให้เกิดความเป็นธรรมคือการวางโครงสร้างค่าจ้างการสำรวจค่าจ้าง

1.3 ความเป็นธรรมของบุคคล  คือความคิดที่บุคคลหรือพนักงานตีค่าความรู้ ความสามารถและประสบการณ์ในการทำงานหรือผลงานของตนเองว่าควรจะได้รับค่าจ้างหรือค่าตอบแทนในระดับใด ซึ่งสิ่งที่เป็นตัวบอกวัดได้คือ การประเมินผลงานและการประเมินศักยภาพ

2. เพียงพอกับบุคคล  วัตถุประสงค์ที่สองในการบริหารค่าตอบแทน เพื่อให้พนักงานสามารถยังชีพอยู่ได้อย่างเหมาะสมกับสถานะของบุคคล เช่นหากภาวะเงินเฟ้อสูงมากองค์กรอาจพิจารณาปรับเพิ่มอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ค่าครองชีพของพนักงานหรือการปรับอัตราเงินเดือนเบื้องต้นของตำแหน่งให้เพียงพอที่จะมากกว่าหรือเท่ากับอัตราเงินเฟ้อ

3. ความสมดุล ระบบค่าตอบแทนที่ดีมีความจำเป็นต้องเกิดความสมดุลในฐานะของผู้ประกอบการหรือบริษัทที่จะดำเนินธุรกิจอยู่ได้ มิใช่ว่าธุรกิจมีผลกำไรสูงแต่ผลตอบแทนที่พนักงานได้รับอยู่ในอัตราต่ำ หรือพนักงานเรียกร้องค่าตอบแทนที่สูงมากจนบริษัทไม่สามารถรับภาระได้ ดังนั้นจึงต้องมีระบบค่าตอบแทนที่ดีเหมาะสมกับฐานนะของบริษัท

4. ปฏิบัติตนอย่างถูกต้องตามกฎหมาย เนื่องจากรัฐได้กำหนดนิยามของค่าจ้างรวมถึง มีการกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ (สำหรับแรงงานไร้ฝีมือ) ขณะเดียวกันก็พัฒนาไปถึงกับการกำหนดไว้ใน พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน (2541) ในเรื่องของ “คณะกรรมการค่าจ้าง” เพื่อกำหนดนโยบายค่าจ้าง การปรับค่าจ้าง ประจำปี อัตราค่าจ้างขั้นต่ำพื้นฐานและการพัฒนาระบบค่าจ้าง

ซึ่งทำให้มีความจำเป็นสำหรับบางธุรกิจที่จะต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย หากบางธุรกิจทำได้ดีกว่ากฎหมายก็ถือว่า ประพฤติตนเป็นคนดีของสังคม/ชุมชนแล้ว

5. ความได้เปรียบในการแข่งขัน  คงจะเป็นเรื่องที่ทราบกันโดยทั่วไปว่า “คนเป็นปัจจัยสำคัญในการแข่งขันทางธุรกิจ” หากคน หรือพนักงานสร้างความสามารถให้กับธุรกิจจนเหนือการแข่งขัน ธุรกิจหรือบริษัทนั้นควรจะ จูงใจ ให้คนมีกำลังใจและพัฒนาความสามารถจนได้ผลงานที่มีคุณค่าสูงสุด

ดังนั้นการมีนโยบายค่าตอบแทนที่ดีจูงใจให้มีคนที่มีความรู้ความสามารถเข้าสู่ธุรกิจและทำให้คนดังกล่าวสร้างผลงานที่มีคุณค่าสูงสุดจนธุรกิจชนะคู่แข่งและความเป็นโลกาภิวัตน์ จึงถือเป็นความได้เปรียบในการแข่งขัน

อัพเดทล่าสุด