ทฤษฎีความคาดหวัง (Expertancy Theory)


1,087 ผู้ชม


ทฤษฎีความคาดหวัง (Expertancy Theory)




ทฤษฎีความคาดหวัง (Expertancy Theory)

 

 

ทฤษฎีความคาดหวังนี้ ได้มีนักพฤติกรรมศาสตร์หลายท่านได้เสนอแนวคิดไว้ เช่น Kurt  Lewin , Edword Tolman ,Victor H Vroom , Portor และ Lawer เป็นต้น   ดังนั้นทฤษฎีความคาดหวังที่กล่าวนี้จะอยู่ในรูปของกลุ่มทฤษฎี และเพื่อความเข้าใจจะกล่าวถึงทฤษฎีในกลุ่มนี้ตามลำดับดังนี้

ทฤษฎีความคาดหวัง ของอ Kurt Lewin และ Edward Tolman

ในประเด็นของการให้ผลตอบแทนทฤษฎีนี้กล่าวไว้ว่า การที่บุคคลจะทำงานทุ่มเทมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับปัจจัย 2 ประการ คือ ระดับความเข้มข้นของความต้องการผลตอบแทนและความคาดหวังของบุคคลนั้นว่ามีความเป็นไปได้มากน้อยเพียงใดที่จะได้รับการตอบสนองดังกล่าว ยกตัวอย่างเช่น นาย ก. มีความต้องการที่จะได้รับเงินเดือนขั้นพิเศษประจำปีด้วยเห็นว่าการได้รับขั้นพิเศษนั้นมีคุณค่ากับตน และความคาดหวังไว้ถ้าตนเองได้ทุ่มเทในการทำงานอย่างเต็มที่โอกาสในการได้รับขั้นพิเศษก็จะสูง นาย ก. ก็จะพยายามทำงานในลักษณะที่ทุ่มเทมากขึ้น ในทำนองกลับกัน ถ้านาย ก. ทราบว่าปีนี้ไม่มีนโยบายให้ขั้นพิเศษ แม้ว่า นาย ก. จะมีความต้องการเพียงใดก็ไม่มีโอกาส นาย ก. ก็จะไม่พยายามทุ่มเททำงานดังนี้ เป็นต้น

ทฤษฎีความคาดหวังของ Vroom

ทฤษฎีนี้เสนอโดย Victor  H Vroom  (1994) มีความคล้ายคลึงกับแนวคิดของ Lewin และ Tolman  แต่ได้ขยายความโดยเสนอในรูปของตัวแบบ (model )  ของความคาดหวังในการทำงานที่เรียกว่า VIE Model  หรือ VIE Theory

ตัวแบบทฤษฎีความคาดหวัง Vroom

 

 

 

 

 

 

V = Valance  คือ ระดับความรุนแรงของความต้องการของบุคคลในเป้าหมายรางวัลกล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ คุณค่าความสำคัญของรางวัลที่บุคคลให้กับรางวัลนั้น
I =  Instrumentality คือ ความเป็นเครื่องมือของผลลัพธ์ 1 ที่จะนำไปสู่ผลลัพธ์ 2 เช่นการทุ่มเทในการทำงานจะนำไปสู่การพิจารณาขั้นพิเศษเป็นต้น
E = Expectancy  คือ ความคาดหวังถึงความเป็นไปของการได้ซึ่งผลลัพธ์หรือรางวัลที่ต้องการเมื่อแสดงพฤติกรรมบางอย่าง

 


อัพเดทล่าสุด