ทฤษฎีค่าจ้างตามแนวพฤติกรรมศาสตร์ (Behavioral Sciences Theory of Wages)
ทฤษฎีค่าจ้างตามแนวพฤติกรรมศาสตร์ (Behavioral Sciences Theory of Wages)
ทฤษฎีค่าจ้างนอกจากจะถูกกำหนดโดยนักเศรษฐศาสตร์แล้ว ในแง่ของพฤติกรรมศาสตร์และจิตวิทยา ยังมีหลายทฤษฎีที่อธิบายเกี่ยวกับค่าตอบแทน โดยอาศัยหลักทางจิตวิทยาและพฤติกรรมศาสตร์เช่น ใช้ทฤษฎีการจูงใจ (Motivation Theory) มาเชื่อมโยงการจ่ายค่าตอบแทน Michael Armstrong (1993) ได้อธิบายชนิดของการจูงใจในหนังสือ Managing Reword System ว่า การจูงใจมี 2 ชนิดคือ แรงจูงใจภายใน (Intrinsic motivation) ซึ่งเกิดขึ้นเองภายในตัวบุคคลที่จะผลักดันคนๆนั้นให้ประพฤติไปยังทิศทางใดทิศทางหนึ่ง ซึ่งปัจจัยที่ทำให้เกิดแรงจูงใจภายในนี้เช่น ความรับผิดชอบ ความปรารถนาในความก้าวหน้า และความท้าทายของงาน ในขณะที่มีแรงจูงใจอีกจำพวกหนึ่งคือ แรงจูงใจภายนอก (Extrinsic motivation) เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากภายนอกเพื่อที่จะจูงใจบุคคลให้กระทำ หรือประพฤติ ซึ่งได้แก่ค่าจ้าง ค่าตอบแทน รางวัลการลงโทษ การวิพากย์วิจารณ์ เป็นต้น
Armstrong เชื่อว่า แรงจูงใจภายนอกให้ผลเร็วกว่าแต่ไม่ยั่งยืนต่างกับแรงจูงใจภายในซึ่งเกี่ยวข้องกับคุณภาพชีวิตการทำงานที่จะให้ผลดีในระยะยาวจะเห็นได้ว่าไม่ว่าจะเป็นแรงจูงใจภายนอกหรือภายในทั้ง 2 แบ ต่างเกี่ยวกับค่าตอบแทนทั้งสิ้น
ทฤษฎีค่าจ้างตามแนวพฤติกรรมศาสตร์ที่น่าสนใจ เช่น
1. Instrumental Theory โดย S.V Gellerman (1963)
2. ทฤษฎีความเสมอภาค (Equity Theory) โดย JS Adams (1965)
3. ทฤษฎีความคาดหวัง (Expertancy Theory)
4. ทฤษฎีความคาดหวังของ Vroom
5. ทฤษฎีการจูงใจของ Porter และ Lalwer
รายละเอียดของแต่ละ ทฤษฎีนั้นจะได้กล่าว อีกครั้งตามหัวข้อ ค่ะ