ทฤษฎีกาต่อรองค่าจ้าง (Bargaining Theory Of Wages)


1,853 ผู้ชม


ทฤษฎีกาต่อรองค่าจ้าง (Bargaining Theory Of Wages)




ทฤษฎีกาต่อรองค่าจ้าง (Bargaining  Theory Of Wages)

 

ทฤษฎีการต่อรองค่าจ้างนี้เริ่มมีผู้กล่าวถึงหลังจากโลกพ้นภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ใน ค.ศ. 1930 เป็นต้นมา เมื่อเศรษฐกิจโลกดีขึ้นความต้องในในสินคา และบริการเริ่มฟื้นตัว แรงงานก็เป็นที่ต้องการมากขึ้น สหภาพแรงานมีความเข้มแข็งมากขึ้น นายจ้างเองก็มีการรวมตัวในกลุ่มของตนการกำหนดค่าจ้างตามทฤษฎีนี้ซึ่งเสนอโดย John  Davidson  กล่าวไว้ก่อนหน้าในยุคเศรษฐกิจตกต่ำไว้ว่า นายจ้างจะกำหนดอัตราค่าจ้างขึ้นสูงสุด (Upper limit)  ไว้ว่าเขาจะไม่ต้องการให้ค่าจ้างสูงไปกว่านี้และจะพยามทำให้อัตราค่าจ้างต่ำกว่าจุดสูงสุดที่กำหนดไว้ให้มากเท่าที่จะมากได้ ในทำนองเดียวกันกับลูกจ้างก็จะมีอัตราค่าจ้างต่ำสุด (Lower limit)  ของตนไว้ว่าจะไม่ยอมรับค่าจ้างที่ต่ำกว่านี้ และพยายามจะให้ได้ค่าจ้างสูงกว่าจุดนี้เท่าที่จะทำได้ ช่วงค่าจ้างที่ตกลงกันจะอยู่ในช่วงระหว่างจุดสูงสุดของนายจ้าง และต่ำสุดของลูกจ้าง เรียกว่าเขตโต้แย้ง (Disputed Theory) การที่ค่าจ้างจะตกไปใกล้จุดใดนั้นขึ้นอยู่กับอำนาจการต่อรองเป็นสำคัญ กล่าวคือฝ่ายลูกจ้างมีอำนาจต่อรองเหนือกว่าอัตราค่าจ้างก็จะเคลื่อนเข้าใกล้จุดสูงสุด (Upper Limit) ถ้านายจ้างมีอำนาจต่อรองเหนือกว่าอัตราค่าจ้างก็จะใกล้จุดต่ำสุด (Lower Limit) การต่อรองค่าจ้างแบบนี้ถือเป็นยุคแรกๆ และไม่ซับซ้อน ต่อมาเมื่อสังคมอุตสาหกรรมพัฒนามากขึ้น จึงได้มีกฎเกณฑ์ต่างๆในกระบวนการต่อรองมากขึ้นเรื่อยๆ เช่น รัฐบาลอาจจำเป็นเข้ามาเป็นตัวประสานเพื่อความสงบเรียบร้อยในการกำหนดค่าจ้าง การมีการจัดองค์การทั้งฝ่ายนายจ้างและลูกจ้างกำหนดการต่อรองเป็นลักษณะการเจรจาต่อรองร่วม (Collective Bargaining)  ในปัจจุบัน การต่อรองค่าจ้างได้พัฒนาโดยนำเอาวิธีการของคณิตศาสตร์เข้ามาร่วมด้วยเช่น เรื่องของ  Game Theory หรือจากทฤษฎีของพฤติกรรมศาสตร์ และจิตวิทยาเข้ามาใช้ในระหว่างการเจรจาต่อรองเพื่อชิงความได้เปรียบ เป็นต้น


อัพเดทล่าสุด